วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเซีย-แปซิฟิก: เอเปค

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเซีย-แปซิฟิก: เอเปค
Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC
1.  ภูมิหลัง
Asia-Pacific Economic Cooperation หรือ APEC จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.. 2532 ด้วยความริเริ่มของออสเตรเลีย เนื่องจากเล็งเห็นว่า
1)    ภูมิภาคนี้ประกอบด้วยประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลก
2)    เป็นตลาดใหญ่และมีศักยภาพในการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกัน
3)    ความยืดเยื้อของการเจรจาการค้าในระดับพหุภาคี (การเจรจารอบอุรุกวัย) ทำให้ประเทศมหาอำนาจ โดยเฉพาะสหรัฐฯ และออสเตรเลีย ซึ่งต้องพึ่งพาการค้าระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก ต้องใช้การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการเปิดเสรี เพื่อให้การค้าโลกมีการเปิดเสรีมากยิ่งขึ้น
4)    เอเปคต้องการถ่วงดุลอำนาจทางเศรษฐกิจของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่างๆ โดยเฉพาะสหภาพยุโรป ซึ่งมีแนวโน้มเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่ปิดกั้นการค้าภายนอก 
2. วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเอเปค
   -     พัฒนาและส่งเสริมระบบการค้าในระดับพหุภาคี
   -    สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและของโลก
   -   เพื่อลดอุปสรรคและอำนวยความสะดวกทางการค้า (สินค้าและบริการ) และการลงทุนระหว่างสมาชิก โดยให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของแกตต์/องค์การการค้าโลก
3. สมาชิกภาพ
·       เริ่มแรก (ปี พ.. 2532) เอเปคมีสมาชิก 12 ประเทศ คือ สหรัฐฯ แคนาดา ออสเตรเลีย
นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอาเซียนเดิม (คือ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ และไทย)
                    -    ต่อมาในช่วงปี พ.. 2534-2537  เอเปคมีสมาชิกเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 6 ประเทศ คือ จีน จีนไทเป ฮ่องกง ปาปัวนิวกินี เม็กซิโก และชิลี
     -     ล่าสุดในปี พ.. 2541 เอเปคมีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีก 3 ประเทศ คือ เปรู เวียดนาม และรัสเซีย  รวมทั้งสิ้น 21 ประเทศ
4. นโยบายของเวทีเอเปค
    ไม่ใช่เวทีเจรจาการค้า แต่เป็นเวทีสำหรับปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่ประเทศสมาชิกสนใจ
                    -   เอเปคสนับสนุนแนวทางภูมิภาคนิยมแบบเปิด (open regionalism) ที่ไห้สิทธิประโยชน์กับประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกเอเปคเช่นเดียวกับที่ให้กับสมาชิก (non-discrimination) เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีของการเปิดเสรีและเพื่อกระตุ้นการเปิดเสรีของประเทศนอกกลุ่มด้วย
    -    การดำเนินการใดๆ ยึดหลักฉันทามติ ความสมัครใจ ความเท่าเทียมกัน และการมีผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
    -   เอเปคคำนึงถึงความแตกต่างของระบบเศรษฐกิจ สังคม และระดับการพัฒนาของประเทศสมาชิก
                     -   การรวมกลุ่มของเอเปคจนถึงปัจจุบันไม่ได้มีข้อผูกพันทางกฎหมาย
    -   เน้นความเท่าเทียมกันของการดำเนินงาน 3 ด้าน ดังนี้
1)    การเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Liberalization)
2)    การอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Facilitation)
3)    ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ (Economic and Technical Cooperation: ECOTECH)
5. องค์กรและกลไกการดำเนินงานของเอเปค
   เอเปคได้จัดตั้ง สำนักเลขาธิการเอเปค (APEC Secretariat) ขึ้นที่สิงคโปร์ ตั้งแต่ปี 2536  มีผู้อำนวยการบริหารมาจากประเทศที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีเอเปคประจำปี และรองผู้อำนวยการมาจากประเทศที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งถัดไป โดยสมาชิกส่วนใหญ่ส่งเจ้าหน้าที่มาปฏิบัติงานประจำประเทศละ 1 คน
·       สำนักเลขาธิการเอเปคมีหน้าที่ในการติดตามและประสานกับโครงการความร่วมมือต่างๆ ของเอเปค รวมทั้งจัดการด้านการบริหารและงบประมาณของเอเปค ซึ่งสมาชิกจ่ายสมทบประจำปีตามสัดส่วนที่ตกลงกันไว้ ประเทศไทยจ่ายค่าสมาชิกปีละประมาณ 50,000 เหรียญสหรัฐ

-     สมาชิกเอเปคจะหมุนเวียนกันเป็น เจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค ในแต่ละปี เพื่อติดตามความคืบหน้า เสนอแนะนโยบายและแนวทางการดำเนินงานด้านต่างๆ ของเอเปค  ปัจจุบันมีการหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ โดยประเทศในกลุ่มอาเซียนเป็นเจ้าภาพ 1 ปี สลับกับประเทศนอกกลุ่มอาเซียน 2 ปี  ในปี 2544
สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค  ตามด้วยเม็กซิโกในปี 2545  ไทยในปี 2546 (ไทยเคยเป็นเจ้าภาพมาก่อนในปี 2535)  ชิลีในปี 2547  สาธารณรัฐเกาหลีในปี 2548  เวียดนามในปี 2549  และออสเตรเลียในปี 2550
  -   การประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค จัดขึ้นปีละ 1 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2536  มักจัดในช่วงเดือนตุลาคม/พฤศจิกายน เป็นการประชุมระดับสูงที่สุดของเอเปค โดยมีผู้นำประเทศ/ผู้นำรัฐบาลเป็นผู้เข้าร่วมประชุม สำหรับประเทศไทย มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้เข้าร่วมประชุม
   -   การประชุมรัฐมนตรีเอเปค จัดขึ้นปีละ 1 ครั้ง ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเอเปคในปี 2532  โดยจัดก่อนหน้าการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค และมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้เข้าร่วมประชุม
     - การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค จัดขึ้นปีละ 3-4 ครั้ง โดยมีปลัดกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนเป็นหัวหน้าคณะ และอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์หรือผู้แทนเป็น Plus one  ทำหน้าที่ติดตามและทบทวนการดำเนินงานของคณะกรรมการ คณะทำงาน กลุ่มย่อยต่างๆ  การบริหารงานของสำนักเลขาธิการเอเปค และงบประมาณสำหรับกิจกรรมต่างๆ ของเอเปค เพื่อเสนอให้ที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปคพิจารณาต่อไป
     การประชุมคณะกรรมการ ได้แก่ คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการลงทุน (CTI)  คณะกรรมการด้านเศรษฐกิจ (EC)  คณะกรรมการด้านงบประมาณและการบริหาร (BMC)  และคณะอนุกรรมการเจ้าหน้าที่อาวุโสว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ (ESC)  มีการประชุมปีละ 3 ครั้ง ในช่วงต่อเนื่องกับการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค
                       การประชุมคณะทำงาน เป็นการประชุมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน รวม 13 ด้าน ได้แก่ พลังงาน การประมง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล โทรคมนาคมและสารสนเทศ การส่งเสริมการค้า การขนส่ง การท่องเที่ยว ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีการเกษตร วิสาหกิจขนาดเล็ก-กลาง ข้อสนเทศด้านการค้าและการลงทุน (ยุบไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2541) และโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ  นอกจากนี้ ยังมีการประชุมของกลุ่มสตรี พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และ  e-APEC



   - การประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มย่อยต่างๆ ภายใต้ CTI ได้แก่ คณะอนุกรรมการด้านมาตรฐานและการรับรอง คณะอนุกรรมการด้านพิธีการศุลกากร กลุ่มการเข้าสู่ตลาด กลุ่มบริการ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดซื้อโดยรัฐ กลุ่มไม่เป็นทางการด้านการเคลื่อนย้ายของนักธุรกิจ กลุ่มนโยบายการแข่งขันและการผ่อนคลายกฎระเบียบ และกลุ่ม WTO
   - นอกจากนั้น ยังมีการประชุมระดับรัฐมนตรีในสาขาต่างๆ ที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว (ต่อมาเริ่มจัดเป็นประจำ) เพื่อพิจารณาปัญหาเฉพาะด้านในกรอบเอเปค เช่น ด้านการค้า การคลัง การท่องเที่ยว พลังงาน วิสาหกิจขนาดย่อม-กลาง คมนาคม และสตรี 
6. บทบาทของภาคเอกชน
    -   เอเปคเป็นเวทีที่ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน และมีการจัดตั้ง สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจของเอเปค (ABAC) ขึ้นในปี 2539 ประกอบด้วยผู้แทนจากภาคเอกชนของสมาชิกเอเปค ซึ่งแต่งตั้งโดยผู้นำของแต่ละสมาชิก สมาชิกละ 3 คน และมีประธานจากสมาชิกเอเปคที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคในปีนั้น  ABAC ทำหน้าที่เป็นตัวแทนภาคธุรกิจในการให้คำแนะนำต่อที่ประชุมรัฐมนตรีและผู้นำเศรษฐกิจเอเปคในช่วงปลายปี
7.  บทบาททางเศรษฐกิจของเอเปค
     -   ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของสมาชิก 21 ประเทศ มีมูลค่ามากกว่า 18 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ
      -   มีจำนวนประชากรรวมทั้งสิ้นประมาณ 2,500 ล้านคน
       -   ผลผลิต การค้าและการลงทุนของเอเปคมีสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของโลก แม้สมาชิกหลายประเทศจะประสบปัญหาวิกฤตทางการเงินในช่วงปี 2540-2541  แต่ภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิกโดยรวมยังคงการเจริญเติบโตในอัตราที่สูงที่สุดในโลก
         -  เอเปคมีการค้ากันเองภายในกลุ่มร้อยละ 70  และการค้านอกกลุ่มร้อยละ 30  การที่เอเปคมีสัดส่วนการค้าภายในกลุ่มสูง ทำให้เอเปคเป็นตลาดที่มีศักยภาพและมีส่วนสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มของภูมิภาคนี้
         -   ประเทศผู้ส่งออกสำคัญของเอเปคในตลาดโลก ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน แคนาดา ฮ่องกง เกาหลีใต้ และเม็กซิโก
                          -   สินค้าออกที่สำคัญ ได้แก่ สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า รถยนต์และส่วนประกอบ
           -   โครงสร้างการส่งออก ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรม ร้อยละ 80 และสินค้าเกษตรกรรม ร้อยละ 16
            -       ประเทศที่มีการนำเข้ามากที่สุด ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน แคนาดา และฮ่องกง
 -   สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ขนส่ง เคมีภัณฑ์ น้ำมันดิบ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เหล็กและเหล็กกล้า
   -  โครงสร้างนำเข้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าทุน วัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป และสินค้าอุปโภคและบริโภค
8.  การค้าระหว่างไทยกับเอเปค
    -  เอเปคมีบทบาทสำคัญด้านการค้าและการลงทุนของไทย โดยในปี 2545 การค้าระหว่างไทยกับสมาชิกเอเปคมีสัดส่วนร้อยละ 71. ของมูลค่าการค้ารวมของไทย
     - เอเปคเป็นตลาดส่งออกสำคัญที่สุดของไทย  ในปี 2545 ไทยส่งออกไปเอเปคร้อยละ 72 ของมูลค่าการส่งออกรวมของไทย
      -  สินค้าออกสำคัญของไทยไปเอเปค ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 
แผงวงจรไฟฟ้า  รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป  อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ  และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 
       -  เอเปคเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญที่สุดของไทย  โดยในปี 2545 ไทยนำเข้าจากเอเปคถึงร้อยละ 70 ของการนำเข้ารวมของไทย
        -  สินค้านำเข้าสำคัญจากเอเปค ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ  เครื่องจักรใช้ใน
อุตสาหกรรม น้ำมันดิบ แผงวงจรไฟฟ้า   เคมีภัณฑ์  เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 
และเหล็กและเหล็กกล้า
          -  การลงทุนของสมาชิกเอเปคในไทยมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 87 ของการลงทุนรวมจากต่างประเทศทั้งหมด  โดยสมาชิกเอเปคที่มีการลงทุนในไทยมาก ได้แก่ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ฮ่องกง สหรัฐฯ และ
จีนไทเป  และมีแนวโน้มว่าสมาชิกเอเปคอื่นๆ  เช่น ออสเตรเลีย จะเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น


9.  พัฒนาการสำคัญๆ ในเอเปค
.. 2532 (.. 1989)
การประชุมเพื่อก่อตั้งเอเปคที่กรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย โดยมีสมาชิกแรกเริ่ม 12 ราย (ออสเตรเลีย บรูไนดารุสซาลาม แคนาดา อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และสหรัฐอเมริกา)
.. 2533 (.. 1990)
การประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 2  ที่สิงคโปร์ โดยมีแถลงการณ์ว่าด้วยการเจรจาการค้าหลายฝ่ายรอบ
อุรุกวัย ที่สนับสนุนให้การเจรจาประสบความสำเร็จ
.. 2534 (.. 1991)
การประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 3  ที่กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี โดยมีแถลงการณ์กรุงโซลว่าด้วยเอเปค (Seoul APEC Declaration) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับธรรมนูญของเอเปค โดยได้กำหนดหลักการและเป้าหมายของเอเปค คือ
.  ธำรงไว้ซึ่งการเจริญเติบโตและการพัฒนาในภูมิภาค เพื่อประโยชน์ของปวงชนเอเปค และเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตและการพัฒนาของเศรษฐกิจโลก
.  ส่งเสริมประโยชน์จากการขยายการค้าสินค้าและบริการ รวมทั้งการเพิ่มการไหลเวียนของทุนและเทคโนโลยีที่จะเกิดแก่ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และโลกจากภาวะความพึ่งพาทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น
.  พัฒนาและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของระบบการค้าพหุภาคีแบบเปิด เพื่อประโยชน์ของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และเศรษฐกิจทั้งมวล
.   ลดอุปสรรคทางการค้าสินค้าและบริการระหว่างสมาชิกในลักษณะที่สอดคล้องกับหลักการของความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (แกตต์)  โดยไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อเศรษฐกิจอื่น ๆ
ในปีเดียวกันนี้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ฮ่องกง และจีนไทเป ได้เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 13-15 ของเอเปค




.. 2535 (.. 1992)
การประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 4  ที่กรุงเทพฯ มีแถลงการณ์ว่าด้วยการเจรจาการค้าหลายฝ่ายรอบอุรุกวัยและแถลงการณ์กรุงเทพฯ ว่าด้วยการจัดการด้านสถาบันของเอเปค (Bangkok Declaration on APEC Institutional Arrangements) เพื่อจัดตั้งสำนักเลขาธิการเอเปคที่สิงคโปร์
.. 2536 (.. 1993)
การประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปคครั้งแรกที่ Blake Island  มลรัฐ Seattle  สหรัฐฯ  ตามความริเริ่มของประธานาธิบดี William Jefferson Clinton แห่งสหรัฐฯ  ซึ่งมีแถลงการณ์ว่าด้วยวิสัยทัศน์ทางเศรษฐกิจของผู้นำเอเปค (APEC Leaders Economic Vision Statement) วิสัยทัศน์ดังกล่าว ได้แก่ การมีประชาคมเศรษฐกิจ
เอเชีย-แปซิฟิกที่มีการค้าและการลงทุนเสรี นำไปสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีในลักษณะที่ไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกโดยรวม และการมีระบบการค้าพหุภาคีแบบเปิด  ในปีเดียวกันนี้ เม็กซิโกและปาปัวนิวกีนีเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 16 และ 17 ของเอเปค
.. 2537 (.. 1994)
การประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปคครั้งที่สองที่เมืองโบกอร์ อินโดนีเซีย โดยมีแถลงการณ์โบกอร์ว่าด้วย
เจตนารมย์ร่วมของเอเปค (The Bogor Declaration of Common Resolve) กำหนดเป้าหมายของเอเปคที่จะมีการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนในภูมิภาคภายในปี ค.. 2010 สำหรับสมาชิกที่พัฒนาแล้ว และ
.. 2020 สำหรับสมาชิกกำลังพัฒนา โดยให้การดำเนินการของเอเปคประกอบด้วย 3 เสาหลัก คือ  การเปิดเสรี (liberalization) ทางการค้าและการลงทุน  การอำนวยความสะดวก (facilitation) ด้านการค้าและการลงทุน  และความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและวิชาการ (Economic and Technical Cooperation: ECOTECH)  ในปีนี้ ชิลีเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 18 ของเอเปค
.. 2538 (.. 1995)
การประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปคครั้งที่ 3 ที่นครโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น มีการรับรองแผนปฏิบัติการโอซาก้า (Osaka Action Agenda) เป็นกรอบ/แนวทางในการดำเนินงานของสมาชิก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนตามปฏิญญาโบกอร์ โดยแผนปฏิบัติการโอซาก้าแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่ง ได้แก่ การเปิดเสรีและการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน และส่วนที่สอง ได้แก่ ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและวิชาการ (ECOTECH) ซึ่งประกอบด้วย 13 สาขาความร่วมมือ คือ พลังงาน การประมง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม การอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล โทรคมนาคมและสารสนเทศ การส่งเสริมการค้า การขนส่ง การท่องเที่ยว ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีการเกษตร

วิสาหกิจขนาดเล็ก-กลาง ข้อสนเทศด้านการค้าและการลงทุน (ยุบไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2541) และโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

.. 2539 (.. 1996)
การประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปคครั้งที่ 4 ที่อ่าวซูบิค ประเทศฟิลิปปินส์  รับรองแผนปฏิบัติการมะนิลา (The Manila Action Plan for APEC) ซึ่งเป็นการรวบรวมแผนงานทั้งหมดของเอเปคทางด้านการเปิดเสรีและการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน และ ECOTECH เพื่อให้เป็นแผนปฏิบัติการโอซาก้า  แผนปฏิบัติการมะนิลาประกอบด้วยเอกสาร 4 เล่ม คือ
.  ภาพรวม
.  แผนปฏิบัติการของสมาชิกเอเปคแต่ละราย (Individual Action Plans: IAPs) สำหรับการเปิดเสรีด้านการค้าและการลงทุนใน 14 สาขา คือ ภาษีศุลกากร มาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร บริการ การลงทุน มาตรฐานสินค้าและการรับรอง พิธีการศุลกากร สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายการแข่งขัน การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ การผ่อนคลายกฎระเบียบ กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า การระงับข้อพิพาท การเคลื่อนย้ายของนักธุรกิจ และการปฏิบัติตามผลการเจรจาการค้าหลายฝ่ายรอบอุรุกวัย
.  แผนปฏิบัติการร่วม (Collective Action Plans: CAPs)  ซึ่งเป็นแผนงานที่สมาชิกเอเปคทุกรายจะปฏิบัติร่วมกันเพื่อเปิดเสรีและอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน
.   กิจกรรมร่วม (Joint Activities) ในด้าน ECOTECH ประกอบด้วย โครงการความร่วมมือ ECOTECH กว่า 300 โครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ในกรอบคณะกรรมการ/คณะทำงานต่าง ๆ ของเอเปค  นอกจากนั้น รัฐมนตรีเอเปคได้ให้การรับรองกรอบว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาในเอเปค (Manila Framework for Strengthening Economic Cooperation and Development) เพื่อให้  เอเปคเน้นความร่วมมือ ECOTECH 6 ด้าน คือ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาตลาดทุน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่ออนาคต การเจริญเติบโตที่ยั่งยืน (environmentally sustainable growth) และการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม





.. 2540 (.. 1997)
การประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 5 ที่นครแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา ได้มีมติดังนี้
.  เห็นชอบกับ Manila Framework for Enhanced Asian Regional Cooperation to Promote Financial Stability เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ทางการเงินในภูมิภาคเอเชียและเรียกร้องให้มหาอำนาจทางเศรษฐกิจเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการแก้ไขปัญหาระดับโลกนี้
.  เห็นชอบให้มีการเปิดเสรีล่วงหน้า (ก่อนกำหนดการเปิดเสรีปี ค.. 2010/2020) รายสาขาตามความสมัครใจ (Early Voluntary Sectoral Liberalization: EVSL) ใน 15 สาขา โดยให้ดำเนินการใน 9 สาขาแรกภายในต้นปี 2542 ได้แก่ อุปกรณ์สิ่งแวดล้อม เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ (ไทยร่วมเสนอ) มาตรฐานอุปกรณ์โทรคมนาคม (การยอมรับร่วมการตรวจสอบมาตรฐาน) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไทยร่วมเสนอ) ผลิตภัณฑ์ไม้ ปลาและผลิตภัณฑ์ (ไทยร่วมเสนอ) พลังงาน (ไทยร่วมเสนอ) ของเล่น และเคมีภัณฑ์
.  เห็นชอบให้รับเปรู เวียดนาม และรัสเซีย เข้าเป็นสมาชิกเอเปค ลำดับที่ 19-21 ในปี 2541 และขยายเวลาการงดรับสมาชิกใหม่ออกไปอีก 10 ปี (จนถึงสิ้นปี 2550)
.         เห็นชอบกับ Vancouver Framework for Enhanced Public-Private Partnership for Infrastructure Development เพื่อส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนในโครงการโครงสร้างพื้นฐาน
.. 2541(.. 1998)
การประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 6  ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ได้บรรลุผลดังนี้
.  การยอมรับร่วมกันในมิติระหว่างประเทศ มิติทางด้านสังคม และบทบาทของการไหลเวียนของเงินทุนระยะสั้นในบริบทของการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจ
.  ปฏิบัติตามและปรับปรุงแผนปฏิบัติการรายสมาชิก (IAP) อย่างต่อเนื่อง
.  การเปิดเสรีล่วงหน้ารายสาขาตามความสมัครใจ (EVSL) ใน 8 สาขา เพื่อเป็นพื้นฐานในการขยายผลในกรอบ WTO ภายใต้ชื่อ Accelerated Tariffs Liberalization: ATL
.   APEC Agenda on Science and Technology Industry Cooperation into the 21st Century
.   APEC Blueprint on Electronic Commerce
.  1998 Kuala Lumpur Action Programme on Skills Development
.  APEC Framework for Capacity Building Initiatives on Emergency Preparedness

.  Integrated Plan of Action for Small and Medium Enterprises Development
.. 2542 (.. 1999)
การประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 7 ที่นครโอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ได้บรรลุผลดังนี้
.  มอบหมายให้รัฐมนตรีคลังเอเปคร่วมกับองค์กรที่เกี่ยวข้องพิจารณาความเป็นไปได้ในการยกร่างมาตรฐานระหว่างประเทศด้านการธนาคาร
.  มีแถลงการณ์สนับสนุนการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบใหม่ภายใต้กรอบ WTO  ที่มีระเบียบวาระครอบคลุมกว้างขวางและสมดุล  โดยใช้เวลาเจรจาไม่เกิน 3 ปี  นอกจากนั้น เอเปคสนับสนุนให้มีการยกเลิกการอุดหนุนการห้ามส่งออกสินค้าเกษตรทั้งปวง
.  มีการรับรองหลักการเอเปคว่าด้วยการเสริมสร้างการแข่งขันและการปฏิรูปกฎระเบียบ (APEC Principles to Enhance Competition and Regulatory Reform)
.   ข้อเสนอของไทยเกี่ยวกับความจำเป็นในการดำเนินการเพื่อรองรับผลกระทบทางสังคม (APEC Social Infrastructure Facility: ASIF) ได้รับการยอมรับ และออสเตรเลียจัดตั้งกองทุนจำนวน 5 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย เพื่อดำเนินโครงการลดผลกระทบทางสังคมจากวิกฤตเศรษฐกิจ  นอกจากนั้น ญี่ปุ่นมีข้อเสนอด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในบริบทของวิกฤตเศรษฐกิจ
.   รับรองข้อเสนอ APEC Food System ของ ABAC  ซึ่งมุ่งสร้างความมั่นคงด้านอาหารผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในชนบท การส่งเสริมการค้าอาหาร และการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการแปรรูปอาหาร
.  รศ.ดร.เมธี ครองแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาเอเปคของไทย ได้รับฉันทามติจากที่ประชุม
รัฐมนตรีเอเปค ให้ดำรงตำแหน่งประธาน APEC SOM Sub-Committee on ECOTECH มีวาระ 2 ปี คือ ปี 2543-2544
.  ในที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปค ประเทศไทยได้รับความไว้วางใจจากสมาชิกให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค ในปี ค.. 2003 (.. 2546)
.. 2543 (.. 2000)
การประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 8 ที่กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน ประเทศบรูไนดารุสซาลาม ได้บรรลุผลดังนี้
.  มอบหมายให้รัฐมนตรีซึ่งรับผิดชอบด้านพลังงานเอเปค ดำเนินมาตรการที่เหมาะสมเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานและเพิ่มพูนความร่วมมือภายใต้กรอบเอเปค เพื่อลดความต้องการในการใช้น้ำมันโดยเน้นการอนุรักษ์พลังงาน และเพื่อหาพลังงานใหม่และพลังงานทดแทน
.  ระบุเป้าหมายให้มีการกำหนดระเบียบวาระ (agenda) ของการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบใหม่ภายในปี ค.. 2001  และให้มีการเจรจาการค้ารอบใหม่ภายในปี ค.. 2001
.  กำหนดเป้าหมายให้จำนวนประชากรในภูมิภาคที่สามารถเข้าถึงระบบ internet ได้ เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 3 เท่า ภายในปี ค.. 2005  และให้ประชาคมทั้งหมดเข้าถึง internet ได้ภายในปี ค.. 2010
.   รับรองแผนงานที่เป็นรูปธรรมในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการพัฒนาความรู้ (Knowledge-based Economy: KBE) เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับเอเปคในยุคภาคเศรษฐกิจใหม่
.   รับรองข้อเสนอเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเน้นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษา
.  รับรองและสนับสนุนแนวความคิดในการพัฒนาความเป็นพันธมิตรทางธุรกิจระหว่างวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)  เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของ SMEs ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
.  รับรองข้อริเริ่มด้านโครงข่ายรองรับทางสังคม (social safety nets) เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมของเอเปค เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของโครงข่ายรองรับทางสังคม และเพื่อลดผลกระทบทางลบจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอันเกิดจากกระบวนการโลกาภิวัตน์และการเปิดเสรี
.. 2544 (.. 2001)
การประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 9 ที่นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้บรรลุผลดังนี้
.    ประกาศข้อตกลงเซี่ยงไฮ้ (Shanghai Accord) เป็นแผนกลยุทธ์ที่มองไปข้างหน้าสำหรับการพัฒนาของเอเปค และกำหนดขั้นตอนหลักๆ (key steps) ที่จะดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของเอเปค รวมทั้งสะท้อนความหลากหลายของสมาชิก โดยรวมองค์ประกอบด้านการค้าและการลงทุนเข้ากับความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการที่เสริมซึ่งกันและกัน โดยสมาชิกมีพันธกรณีสรุปได้ดังนี้
-       ปรับวิสัยทัศน์ให้กว้างไกลสำหรับอนาคต โดยคำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงจากโลกาภิวัตน์และภาคเศรษฐกิจใหม่
-       ปรับแผนงาน (Roadmap) ของเอเปคในการบรรลุเป้าหมายโบกอร์ตามกำหนดให้ชัดเจน รวมถึงการขยายและปรับแผนปฏิบัติการโอซาก้าให้ทันสมัย  รับแนวทาง pathfinder มาปฏิบัติ  ส่งเสริมการรับนโยบายการค้าที่เหมาะสมกับภาคเศรษฐกิจใหม่มาใช้ปฏิบัติ  จัดทำแผนงานและมาตรการเพื่อให้บรรลุผลการปฏิบัติตามหลักการอำนวยความสะดวกทางการค้าในปี 2006  ดำเนินการให้มีความโปร่งใสในด้านการบริหารจัดการเศรษฐกิจและการปฏิบัติตามหลักการความโปร่งใสที่ได้มีการตกลงกันไว้แล้ว
-       เสริมสร้างกลไกการปฏิบัติของเอเปค โดยเฉพาะกระบวนการทบทวน IAP ตามวิธีการใหม่  การทบทวนความก้าวหน้าครึ่งทาง (mid-term stocktake) ของการบรรลุเป้าหมายโบกอร์ ในปี ค.. 2005  และการเสริมสร้าง ECOTECH และ Capacity Building ให้แข็งแกร่งขึ้น
.    สนับสนุนอย่างมากให้มีการเปิดเจรจาการค้ารอบใหม่ในการประชุมระดับรัฐมนตรีขององค์การการค้าโลก ครั้งที่ 4 ในเดือนพฤศจิกายน 2544 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์
.    เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์ อี-เอเปค (e-APEC Strategy) ซึ่งเป็นแผนระยะยาวที่มีเป้าประสงค์ให้เอเปคก้าวสู่สังคมดิจิทัลด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจมากขึ้น มีโอกาสการเรียนรู้ มีการมีงานทำที่เพิ่มขึ้น และมีการปรับปรุงการให้บริการสาธารณะและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยอาศัยประโยชน์จาก ICT และเครือข่ายที่ก้าวหน้า เชื่อถือได้ และแน่นอน
.     ขอให้มีการดำเนินงานอย่างเร่งด่วนในโครงการริเริ่มว่าด้วยระบบอาหารของเอเปค (APEC Food System Initiative) และย้ำถึงความสำคัญของการแนะนำเรื่องความปลอดภัยและการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพบนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ที่ก้าวหน้า
..2545 (..2002)
การประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 10 ที่ ณ เมืองลอส คาบอส ประเทศเม็กซิโก ได้บรรลุผลดังนี้
                . ผู้นำเอเปคได้ออกแถลงการณ์ว่าด้วยการก่อการร้ายในเศรษฐกิจสมาชิกเอเปค (APEC Leaders' Statement on Recent Acts of Terrorism in APEC Member Economies )
โดยประณามการก่อการร้ายในบาหลี ฟิลิปปินส์ และรัสเชีย
                . ผู้นำเอเปคได้รับรองแถลงการณ์การก่อการร้ายและการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ (APEC Leaders' Statement on Fighting Terrorism and Promoting Growth) เพื่อสร้างความมั่งคงของการค้าในภูมิภาคเอเปค (Secure Trade in APEC Region - STAR) มาตรการยุติการสนับสนุนด้านการเงินต่อผู้ก่อการร้าย และการส่งเสริมความมั่งคงทางอินเทอร์เน็ต (Cyber Security)
                . ในส่วนที่เกี่ยวกับการเจรจาการค้ารอบใหม่ หลายสมาชิกเห็นว่าต้องผลักดันให้มีผลตามเป้าหมายเวลา คือ 1 มกราคม 2548 โดยรวมถึงการลดการอุดหนุดการส่งออกสินค้าเกษตร
                . ผู้นำเอเปคยังคงได้ออกแถลงการณ์เพื่ออนุวัติตามมาตรฐานความโปร่งใสเอเปคและแถลงการณ์ว่าด้วยการอนุวุติตามนโยบายของเอเปคด้านการค้าและเศรษฐกิจดิจิทัล
                . นายกรัฐมนตรีได้แถลงความพร้องของไทยในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคประมาณ 23 ครั้ง ในปี 2546  ร่วมถึงการประชุมผู้นำเอเปค และได้กล่าวและนำหัวข้อหลักที่เป็นแนวทางสำหรับการประชุมเอเปคปีหน้าคือ "โลกแห่งความแตกต่าง : หุ้นส่วนเพื่ออนาคต" (A World of Differences : Partnership for the Future) ไทยจะให้ความสำคัญกับการสร้างสังคมความรู้ ส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์ ปฏิรูประบบการเงิน เน้นการเติบโตด้วยการสร้างความเข้มแข็งให้วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม วิสาหกิจขนาดจิ๋ว ตลอดจนผลักดันข้อริเริ่มต่าง ๆ ที่ผ่านมาให้ได้รับการปฏิบัติ
10.  แผนงานที่สำคัญของเอเปคทางด้านการค้าและการลงทุน
ในปี 2537 ผู้นำเอเปคได้ประกาศเป้าหมายโบกอร์เพื่อเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนของสมาชิก
เอเปค ภายในปี 2553 (.. 2010) สำหรับสมาชิกที่พัฒนาแล้ว และภายในปี 2563 (.. 2020) สำหรับสมาชิกที่กำลังพัฒนา  การกำหนดเป้าหมายในการเปิดเสรีของเอเปคเป็นการประกาศเจตนารมย์ทางการเมืองที่แสดงถึงความตั้งใจ และเป็นการชี้นำการจัดทำนโยบายของรัฐบาลในประเด็นที่เกี่ยวข้อง ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงแก้ไขขั้นตอนและกฎหมายภายในของสมาชิก
ถัดมาในปี 2538 ที่ประชุมผู้นำเอเปคได้ให้การรับรองแผนปฏิบัติการโอซาก้า (OSAKA Action Agenda) เพื่อเป็นกรอบสำหรับแนวทางการดำเนินงานของสมาชิกเพื่อบรรลุเป้าหมายโบกอร์ ซึ่งต่อมาเอเปคได้จัดทำแผนงานต่างๆ ขึ้นเพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการโอซาก้าส่วนที่ 1 ด้านการเปิดเสรีและการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน โดยมีแผนงานที่สำคัญ ได้แก่
Individual Action Plans: IAPs
เอเปคได้กำหนดให้สมาชิกจัดทำแผนงานที่ตนจะดำเนินการเพื่อบรรลุการเปิดเสรีทางด้านการค้าและการลงทุน โดยเรียกแผนงานนี้ว่า IAPs  เป็นแผนงานที่แต่ละสมาชิกกำหนดและปฏิบัติโดยความสมัครใจและความพร้อมของตน ทั้งนี้ สมาชิกมีกำหนดปฏิบัติตามแผนงานดังกล่าวตั้งแต่ปี 2540 จนถึงปี 2553/ 2563 (.. 2010/ 2020) ใน 14 สาขา ได้แก่ ภาษีศุลกากร มาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร บริการ การลงทุน มาตรฐานและการรับรอง พิธีการศุลกากร สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายการแข่งขัน การจัดซื้อโดยรัฐ การผ่อนคลายกฎระเบียบ กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า การปรองดองข้อพิพาท การเคลื่อนย้ายของนักธุรกิจ และการปฏิบัติตามผลการเจรจารอบอุรุกวัย โดยแบ่งเป็นแผนงานระยะสั้น กลาง และยาว   เอเปคได้สร้างกลไกในการติดตามผลการปฏิบัติตามและการปรับปรุง IAPs ของสมาชิกอย่างสม่ำเสมอ โดยสมาชิกจะต้องเสนอ IAP ที่ปรับปรุงใหม่ทุกปี และรายงานผลการปฏิบัติตาม IAP ในปีที่ผ่านมาด้วย  ในปี 2543 เอเปคได้ให้ความสำคัญกับการปรับปรุง IAPs  โดยมีการดำเนินโครงการเพื่อปรับปรุงกลไกการนำเสนอ IAPs ที่เรียกว่า โครงการ Electronic Prototype IAP: e-IAP  เพื่อเพิ่มความโปร่งใส ทำให้การใช้งานง่ายและสะดวกขึ้น (user-friendly) และเป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจ ซึ่งโครงการนี้เป็นผลงานที่เป็นรูปธรรมสำคัญชิ้นหนึ่งของการ


ประชุมผู้นำเอเปคในปี 2543  โดยเอเปคได้สนับสนุนให้สมาชิกรายงาน IAP ของตนตามรูปแบบใหม่ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในปี 2543  และให้จัดทำ IAP ตามระบบใหม่อย่างเต็มที่ตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นไป
Collective Action Plans: CAPs
เป็นแผนการดำเนินงานร่วมกันของสมาชิกเอเปค ซึ่งส่วนใหญ่เน้นแผนงานด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน โดยมีคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ภายใต้
เอเปคดูแลรับผิดชอบ จัดทำขึ้นรวม 15 สาขา ได้แก่ 14 สาขาของ IAP ข้างต้น และเพิ่มสาขาการรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์อีกสาขาหนึ่ง
กิจกรรมภายใต้ CAPs มักเกี่ยวข้องกับการรวบรวม จัดทำฐานข้อมูลด้านต่างๆ  การปรับประสานกฎระเบียบ การปรับมาตรฐานสินค้า การจัดทำเอกสารคู่มือเผยแพร่ (เช่น คู่มือการลงทุนในเอเปค คู่มือการเดินทางของนักธุรกิจในเอเปค) และการจัดสัมมนา/ฝึกอบรมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างสมาชิกเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนในสาขาต่างๆ  การจัดทำหลักการแบบไม่ผูกพันในสาขาต่างๆ เช่น การลงทุน นโยบายการแข่งขัน การจัดซื้อโดยรัฐ และการอำนวยความสะดวกทางการค้า เป็นต้น
Early Voluntary Sectoral Liberalization: EVSL
เป็นแผนการเปิดเสรีให้เร็วขึ้นรายสาขาตามความสมัครใจภายใต้กรอบเอเปค เอเปคริเริ่มแผนงานนี้ในช่วงปลายปี 2539  และได้คัดเลือกสาขาเพื่อเปิดเสรีให้เร็วขึ้น 15 สาขา ได้แก่ ปลาและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ป่าไม้ สินค้าและบริการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม อุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ พลังงาน ของเล่น เคมีภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ การจัดทำข้อตกลงการยอมรับร่วมในสินค้าโทรคมนาคม เมล็ดพืชน้ำมันและผลิตภัณฑ์ อาหาร เครื่องบินพลเรือน ปุ๋ย ยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ และรถยนต์ โดยให้ดำเนินการ 9 สาขาแรกก่อน อัตราภาษีของสินค้า 9 สาขาแรกส่วนใหญ่จะลดลงเหลือร้อยละ 0 (ยกเว้น สาขาอัญมณี ลดเหลือร้อยละ 0-5 และสาขาเคมีภัณฑ์ ลดเหลือร้อยละ 0-6.5) กำหนดเวลาที่จะลดอัตราภาษีให้ถึงขั้นสุดท้าย ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงปี ค.. 2003-2005
ต่อมา ที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปค เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2541 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ได้เห็นชอบให้นำเรื่องการเปิดเสรีให้เร็วขึ้นรายสาขา (เฉพาะเรื่องการลด/เลิกภาษีศุลกากร) เข้าสู่กรอบ WTO  ส่วนเรื่องมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร การอำนวยความสะดวก ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ และอื่นๆ  ให้เอเปคดำเนินการตามแผนงานที่กำหนดไว้ต่อไป  อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีความคืบหน้าเกี่ยวกับข้อเสนอการเปิดเสรีให้เร็วขึ้นรายสาขาที่เอเปคนำเข้าสู่กรอบ WTO


พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)
ที่ประชุมผู้นำเอเปค ครั้งที่ 6 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2541 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย  ได้เห็นชอบแผนแม่บทด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในกรอบเอเปค (APEC Blueprint for Action on Electronic Commerce) ซึ่งเน้นบทบาทนำของภาคเอกชนในการพัฒนาเทคโนโลยีการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ บทบาทของภาครัฐในการอำนวยความสะดวก และการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมและกฎระเบียบที่เอื้ออำนวยต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
 ต่อมาในปี 2542  มีการจัดตั้งคณะทำงาน (Steering Group) ซึ่งมีวาระการทำงาน 2 ปี โดยมีไทยและสหรัฐฯ เป็นประธานร่วม เพื่อพิจารณาดำเนินงานกิจกรรมความร่วมมือด้านนี้ให้สอดคล้องกับแผนแม่บทและหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนกับงานที่กลุ่มย่อยอื่นๆ ในกรอบเอเปคได้ดำเนินการแล้ว ครอบคลุมประเด็นสำคัญ เช่น การจัดทำ Readiness Indicator เพื่อวัดความพร้อมของแต่ละสมาชิกในเรื่องการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  การพัฒนาระบบการค้าไร้เอกสาร (Paperless Trading) โดยกำหนดให้สมาชิกเอเปคบรรลุเป้าหมายการค้าแบบไม่ใช้เอกสาร ภายในปี ค.. 2005 สำหรับสมาชิกที่พัฒนาแล้ว  และภายในปี ค.. 2010 สำหรับสมาชิกที่กำลังพัฒนา  การสร้างเครือข่าย Virtual Electronic Commerce Resource Network  และกิจกรรมความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาค
ต่อมาในปี 2544 ได้มีการต่ออายุคณะทำงานออกไปอีก 2 ปี โดยคณะทำงานฯ มีมติให้แคนาดาและสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประธานร่วม
APEC Food System
โครงการ APEC Food System เป็นข้อเสนอจากภาคเอกชน คือ สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจของเอเปค (APEC Business Advisory Council: ABAC) โดย APEC Food System มีลักษณะเป็นโครงการระยะยาวที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารในภูมิภาค และได้กำหนดแผนงานความร่วมมือของสมาชิก
เอเปคใน 3 ประเด็นหลัก ดังนี้
1)      การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในชนบท ได้แก่ การให้การศึกษาแก่ประชาชนในชนบท เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตอาหาร และส่งเสริมภาคเอกชนให้เข้าไปมีบทบาทในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในชนบท
2)      การส่งเสริมการค้าสินค้าอาหาร ได้แก่ การดำเนินงานเกี่ยวกับมาตรการอำนวยความสะดวก เพื่อลดต้นทุนการค้าอาหาร ความช่วยเหลือทางเทคนิควิชาการเพื่อยกระดับมาตรการสุขอนามัย และการเปิดเสรีการค้าอาหารให้เร็วกว่าเป้าหมายโบกอร์
3)      การกระจายเทคโนโลยีการผลิตและการแปรรูปอาหาร โดยส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีในภูมิภาค ปรับประสานกฎระเบียบความปลอดภัยด้านอาหาร และดำเนินงานวิจัยพัฒนาและการตลาดของอาหารที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยี เป็นต้น
เอเปคยังได้จัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่ผลงานด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า ผลการศึกษาวิจัยทางเศรษฐกิจ และเอกสารประชาสัมพันธ์ต่างๆ  รวมทั้งเผยแพร่ผลการประชุม เอกสารประกอบการประชุม และข้อมูลที่น่าสนใจอื่นๆ ทางเว็บไซต์ http://www.apecsec.org.sg
11.  สถานะปัจจุบัน
        ปีนี้ไทยรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค โดยมีการประชุมระดับต่างๆ ทั้งระดับผู้นำรัฐมนตรี    เจ้าหน้าที่อาวุโส  คณะกรรมการ  คณะทำงาน  กลุ่มผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มย่อยต่างๆ รวมประมาณ 25 การประชุม  โดยในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค 2003 ระหว่างวันที่ 1-3 มิถุนายน 2546 ที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีในกรอบเอเปครายการแรกของปีนี้ กำหนดการเริ่มจากเย็นวันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน เป็นงานต้อนรับที่จังหวัดขอนแก่นจัดขึ้นที่เขื่อนอุบลรัตน์ เกี่ยวกับวิถีชีวิตไทย เพื่อให้รัฐมนตรีการค้าเอเปคสัมผัสวัฒนธรรมพื้นบ้านของไทย รวมทั้งมีโอกาสสร้างความคุ้นเคยกันอย่างใกล้ชิด  และหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในบรรยากาศอย่างไม่เป็นทางการ หลังจากนั้นจะเป็นงานเลี้ยงอาหารค่ำ ณ เรือนพานคำ เขื่อนอุบลรัตน์ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นเป็นเจ้าภาพ  รุ่งขึ้นวันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน กระทรวงพาณิชย์ได้เชิญ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีให้เกียรติทำพิธีเปิดและกล่าว 
          สุนทรพจน์ (
Keynote Address) เพื่อให้แนวทางชี้นำการประชุมเอเปคที่ไทยเป็นเจ้าภาพในปีนี้ หลังจากนั้นจะเริ่มการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคอย่างไม่เป็นทางการ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน ซึ่งจะมีการหารือทั้งวัน และในตอนค่ำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำ ณ ศูนย์ประชุมเอนกประสงค์ฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  สุดท้ายในวันอังคารที่ 3  มิถุนายน จะเป็นการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคอย่างเป็นทางการ โดยจะใช้เวลาครึ่งวันและเสร็จสิ้นการประชุมในช่วงเที่ยง ส่วนช่วงบ่ายจะเป็นการแถลงข่าวร่วมกันของรัฐมนตรีการค้าเอเปคต่อสื่อมวลชน ทั้งในและต่างประเทศ 
       -  Theme ของการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค (APEC MRT) 2003 จะใช้ Theme เดียวกับประเด็นหลักของการประชุมเอเปค 2003  คือ  โลกแห่งความแตกต่าง: หุ้นส่วนเพื่ออนาคต  (A World of Differences : Partnership for the Future)  โดยจะอธิบายในเรื่องการค้าให้สอดคล้องกันว่า การประชุมจะเน้นการเสริมสร้างการค้าและความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระหว่างสมาชิกเอเปคที่มีความหลากหลายทั้งด้านวัฒนธรรมและระดับการพัฒนา (Strengthening Trade and Economic Partnership among Diverse Economies)
      



 เรื่องสำคัญที่จะหารือในการประชุม ได้แก่
1)      การขยายการค้าและการลงทุนในภูมิภาค (Expansion of Trade and Investment)
                        -    เน้นความร่วมมือและการปฏิบัติของสมาชิกในเรื่อง Trade Facilitation เพื่อบรรลุเป้าหมายลดต้นทุนการนำเข้า-ส่งออก (transaction cost) ลงร้อยละ 5 ภายในปี 2006
                          -  สำหรับมาตรการรักษาความปลอดภัยตามข้อริเริ่ม STAR (Secure Trade in the APEC Region) ของสหรัฐฯ ปีที่แล้ว ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่มั่นคงและปลอดภัยสำหรับการค้าและการลงทุนในภูมิภาค เช่น เพิ่มความเข้มงวดด้านพิธีการศุลกากรและตรวจคนเข้าเมือง ปรับปรุงแผนการรักษาความปลอดภัยที่ท่าเรือและท่าอากาศยาน ขณะเดียวกันยังคงไว้ซึ่งความสะดวกในการเดินทางและการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศนั้น ทางสหรัฐฯ ได้ร่วมกับไทยจัดการสัมมนาที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 24-25 กุมภาพันธ์ 2546 เพื่อให้ความรู้แก่สมาชิกเอเปคในการดำเนินโครงการ STAR และในการประชุม MRT ครั้งนี้จะพิจารณาเรื่องนี้ต่อ เพื่อหาวิธีดำเนินการเรื่อง STAR ให้เป็นที่ยอมรับของทุกประเทศ และเกิดผลกระทบน้อยที่สุดต่อการค้า ไม่เป็นภาระค่าใช้จ่ายที่สูงสำหรับประเทศสมาชิกกำลังพัฒนา มีความช่วยเหลือ Capacity Building และความช่วยเหลือด้านการเงิน โดยเฉพาะจากสหรัฐฯ ในการจัดซื้ออุปกรณ์รักษาความปลอดภัย และการอบรมบุคลากร
                         -   ผลักดันมาตรการด้านการค้าไร้กระดาษ (paperless trading) ที่ใช้ระบบการส่งผ่านข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ในการผ่านพิธีการศุลกากร และขั้นตอน/พิธีการทางการค้าอื่นๆ แทนเอกสารกระดาษ ให้เป็นแผนปฏิบัติการร่วมกันที่ทุกประเทศสมาชิกรับไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                          -  เรื่องต่อเนื่อง ที่สมาชิกเอเปคต้องปฏิบัติตามผลการประชุมรัฐมนตรี/ผู้นำที่ผ่านมา เช่น การปฏิบัติตามมาตรฐานความโปร่งใสของเอเปค  Pathfinder เป็นโครงการนำร่องโดยสมาชิกที่มีความพร้อมดำเนินการไปก่อน แผนปฏิบัติการรายสมาชิกและแผนปฏิบัติการร่วมกันของสมาชิก (IAP & CAP) รวมถึงโครงการบัตรเดินทางธุรกิจของเอเปคที่คาดว่าไทยจะพร้อมเข้าร่วมโครงการเต็มรูปแบบกลางปีนี้ และความร่วมมือด้านความคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
                          -   เรื่องอื่นๆ เช่น Life-science innovation Forum เป็นการจัดตั้งเวทีหารือร่วมภาครัฐ เอกชน และวิชาการ เพื่อพัฒนานโยบายในการสร้างนวัตกรรมด้าน life-science ซึ่งก่อให้เกิดการลงทุนที่เห็นผลในทุกขั้นตอนของการดูแลสุขภาพ ตั้งแต่การตรวจพบและป้องกันดูแลรักษา โรคติดต่อและโรคที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต รวมถึงทุกขั้นตอนของมูลค่าเพิ่มในวงจรการพัฒนาผลิตภัณฑ์ Life Sciences ที่เริ่มตั้งแต่การวิจัย การพัฒนา การผลิตเชิงอุตสาหกรรม และการตลาดสู่ผู้บริโภครวมถึงผู้ป่วย
    

  2)   บทบาทของ APECในการเสริมสร้างระบบการค้าพหุภาคี (WTO)
                   -    การประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค (APEC MRT) ระหว่างวันที่ 1-3 มิถุนายน ศกนี้ จะเป็นกประชุมครั้งสำคัญ เนื่องจากเป็นการประชุมก่อนหน้าการประชุมรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 5 ในเดือนกันยายน 2546 ที่เมืองแคนคูน ประเทศเม็กซิโก จึงเป็นโอกาสอันดีที่เอเปคจะแสดงบทบาทนำในการส่งสัญญาณทางการเมืองที่ชัดเจน และผลักดันเรื่องสำคัญที่คั่งค้างอยู่เพื่อให้การเจรจาการค้ารอบใหม่ตาม DDA ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย เน้นประเด็นด้านการพัฒนาที่ให้ผลประโยชน์เป็นรูปธรรมแก่ประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะการเจรจาสินค้าเกษตร ซึ่งนำไปสู่การลดการอุดหนุนการผลิต ยกเลิกการอุดหนุนการส่งออก และเปิดตลาดสินค้าเกษตร โดยเฉพาะสินค้าจากประเทศกำลังพัฒนา และการให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุดอย่างเป็นรูปธรรม
                    -  ในการประชุม SOM1 ที่จังหวัดเชียงราย สมาชิกเอเปคได้เห็นชอบข้อเสนอของไทยในการรื้อฟื้นกลุ่มสมาชิกเอเปคที่เจนีวา (APEC Geneva Caucus) ให้เป็นประโยชน์อีก เพื่อให้เวที APEC และ WTO มีการประสานงานที่ใกล้ชิดขึ้น โดยอาจนำเรื่องที่มีความเห็นใกล้เคียงกันในเอเปคไปหารือต่อที่เจนีวา หารือความเป็นไปได้และแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการผลักดันกระบวนการเจรจาการค้าภายใต้ WTO ให้มีความคืบหน้าทันตามกำหนดเวลาในเดือนมกราคม 2548 ซึ่งไทยในฐานะประธานเอเปคปี 2546 จะรับหน้าที่ประสานงานดังกล่าวในปีนี้  อย่างไรก็ดี เนื่องจากปัญหาสงครามในอีรัก ไทยจึงต้องเลื่อนกำหนดจัดประชุม Caucus ครั้งแรกในวันที่ 25 มีนาคม ศกนี้ ออกไปก่อน
                   -    ด้าน FTA/RTA ที่ปัจจุบันหลายประเทศหันมาให้ความสำคัญ จับคู่/รวมกลุ่มตั้งเขตการค้าเสรี จะเสริมระบบการค้าพหุภาคีได้ โดยเน้นหลักการความโปร่งใส ความสอดคล้องกับกฎระเบียบ WTO และการบรรลุเป้าหมายโบกอร์ของเอเปค ซึ่งหลายประเทศจะได้ประโยชน์ร่วมกันจากการค้าโลกที่เปิดเสรีมากขึ้น ช่วยลดความยากจนและยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น
3)      การปฏิสัมพันธ์กับภาคเอกชน
           -   เปิดโอกาสให้สภาที่ปรึกษาทางธุรกิจของเอเปค (APEC Business Advisory Council: ABAC) นำเสนอข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปพิจารณาปรับปรุงแผนงานต่างๆ ของเอเปค ให้ตอบสนองความต้องการของภาคเอกชนมากขึ้น ทั้งนี้จะมีการประชุม ABAC ครั้งที่ 2 ที่กรุงโตเกียว ในเดือนพฤษภาคมก่อนหน้าการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคครั้งที่ 2 (SOM 2) และการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ที่จังหวัดขอนแก่น




12. บทบาทของไทยในเอเปค
กลยุทธ์ของไทยในเอเปค คือ มุ่งผลักดันเรื่องการลด/เลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีของสมาชิก และผลักดันความร่วมมือของเอเปคเรื่องการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ มากกว่าการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน โดยไทยมีบทบาทสำคัญในกรอบเอเปค เช่น
-       ในช่วงปี 2540-2541 ที่เอเปคมีการหารือเรื่องการเปิดเสรีรายสาขาให้เร็วขึ้นตามความสมัครใจ หรือ EVSL นั้น ไทยได้มีบทบาทในการเสนอสาขาเพื่อเปิดเสรีให้เร็วขึ้นรวม 7 สาขา ซึ่งได้รับการคัดเลือกให้จัดทำข้อเสนอร่วมกับสมาชิกอื่น 5 สาขา ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ ปลาและผลิตภัณฑ์ ยางธรรมชาติและยางสังเคราะห์ เครื่องมือแพทย์ และพลังงาน (อีก 2 สาขาที่ไม่ได้รับคัดเลือก คือ ข้าวและผลิตภัณฑ์ และ ผักและผลไม้กระป๋องและแปรรูป)
-       เนื่องจากความไม่พร้อมของสมาชิก โดยเฉพาะเรื่องการเปิดเสรีสินค้าเกษตร ทำให้แผนงาน EVSL ล้มเหลวลง และในปลายปี 2541 เอเปคได้ตัดสินใจโอนงานด้านภาษีศุลกากรภายใต้ EVSL ไปเจรจาในกรอบ WTO  หลังจากนั้น จึงเป็นโอกาสที่ไทยและอีกหลายสมาชิกได้ผลักดันให้เอเปคหันมาให้ความสำคัญมากขึ้นกับความร่วมมือด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า จนถึงขณะนี้ เอเปคได้มีการจัดทำหลักการด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า ซึ่งได้รับการรับรองโดยที่ประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคเมื่อเดือนมิถุนายน 2544  รวมทั้งจะมีการให้ความร่วมมือและความช่วยเหลือด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถ (Capacity Building) แก่สมาชิกกำลังพัฒนา เพื่อแปลงหลักการดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติ
-       ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สมาชิกส่วนใหญ่ รวมทั้งไทย ได้ผลักดันให้มีการปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอแผนปฏิบัติการรายสมาชิก (Individual Action Plan: IAP) ให้มีความโปร่งใส และสามารถใช้ประโยชน์ได้ง่ายขึ้น  ซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนาระบบ e-IAP (การนำเสนอ IAP ของสมาชิกทางอินเตอร์เน็ต) โดยการนำของออสเตรเลีย  นอกจากนั้น ไทยได้เสนอ IAP ของไทยเพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกอื่นตรวจสอบตามกระบวนการ IAP Peer Review ของเอเปค ในช่วงการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 2/2543 ณ กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน ประเทศบรูไน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงคมนาคม และกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ร่วมเดินทางไปชี้แจงข้อมูลและตอบข้อซักถามของสมาชิกอื่นเกี่ยวกับ IAP ของไทย
-       ไทยมีบทบาทในการผลักดันให้สมาชิกที่พัฒนาแล้วให้ความช่วยเหลือสมาชิกที่กำลังพัฒนาในการปฏิบัติตามพันธกรณีของ WTO  ซึ่งญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือแก่ไทยเป็นประเทศแรก ระหว่างปี 2544-2545 ในโครงการจัดทำฐานข้อมูลการปฏิบัติตามพันธกรณีของ WTO และโครงการจัดสัมมนา/ฝึกอบรมเรื่อง GATS, Antidumping, Negotiation Skills, IPR, Financial Services และ Telecommunication Services  นอกจากนี้ แคนาดาได้ประกาศในที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปคปี 2544 ว่าจะให้ความช่วยเหลือสมาชิกที่กำลังพัฒนาในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งไทย โดยเป็นโครงการ 5 ปี มีมูลค่า 9 ล้านเหรียญแคนาดา
-       ไทยได้แต่งตั้งผู้แทนระดับรองอธิบดี จากกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ไปทำหน้าที่ประธานร่วม (Co-Chair) คู่กับผู้แทนจากสหรัฐฯ ในคณะทำงานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce Steering Group: ECSG) เป็นเวลา 2 ปี ตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2542 ถึงกุมภาพันธ์ 2544  ซึ่งครอบคลุมกิจกรรม เช่น การวางรากฐานทางกฎหมายเพื่อรองรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน การกำหนดเป้าหมายการดำเนินการไปสู่การค้าไร้กระดาษภายในปี ค.. 2010  การจัดทำสถิติการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การจัดทำดัชนีความพร้อมด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แผนปฏิบัติการด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็ก-กลาง และการจัดทำแนวทางคุ้มครองผู้บริโภคออนไลน์ เป็นต้น
-       ไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค เมื่อปี 2535 และจะเป็นเจ้าภาพอีกครั้งหนึ่งในปี 2546
-       นอกจากนี้ ในปี 2546  ไทยจะทำหน้าที่ประธานคณะอนุกรรมการด้านมาตรฐานและการรับรอง (Sub-Committee on Standard and Conformance: SCSC) และคณะอนุกรรมการด้านพิธีการศุลกากร (Sub-Committee on Customs Procedure: SCCP)
13.  นโยบายของไทยและประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากเอเปค
ประเทศไทยมีนโยบายสนับสนุนการค้าเสรีมาตลอด โดยดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป และคำนึงถึงความพร้อมของภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  การประกาศปฏิญญาโบกอร์ของผู้นำเอเปค ที่กำหนดเป้าหมายการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก ภายในปี ค.. 2020  ไม่ได้มีผลผูกพันทางกฎหมาย หากเป็นการประกาศเจตนารมย์ทางการเมือง ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนเพราะประเทศสมาชิกจะต้องมีการดำเนินการปรับนโยบายภายในให้สอดคล้องกับเจตนารมย์ดังกล่าว  ทั้งนี้ แผนปฏิบัติการรายประเทศ (IAP) จะเป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงานในเรื่องนี้ต่อไป
ตลาดของสมาชิกเอเปคที่เปิดเสรีมากขึ้น จะช่วยเพิ่มโอกาสในการขยายตัวทางการค้าและการลงทุนของไทย เนื่องจากเอเปคประกอบด้วยสมาชิกที่มีอำนาจและศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง เช่น สหรัฐฯ  ญี่ปุ่น อาเซียน จีน แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศอุตสาหกรรมใหม่ เช่น เกาหลีใต้ จีนไทเป และฮ่องกง รวมถึงประเทศที่จะเป็นตลาดใหม่สำหรับสินค้าไทย เช่น เม็กซิโก ชิลี เปรู และรัสเซีย
การรวมกลุ่มของเอเปค สามารถเพิ่มอำนาจต่อรองกับกลุ่มเศรษฐกิจอื่น และสามารถกดดันให้สมาชิกในกลุ่มลดอุปสรรค/ข้อกีดกันทางการค้า เช่น มาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร และมาตรการสุขอนามัยที่มีข้อกำหนดสูงกว่ามาตรฐานระหว่างประเทศ


ในระยะสั้น อาจมีบางกลุ่มที่ได้รับผลกระทบทางลบจากการเปิดเสรี ซึ่งจะต้องมีการปรับตัว  แต่ในระยะยาว การแข่งขันจากการเปิดเสรีจะนำไปสู่การจัดสรรและการใช้ทรัพยากรของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ  ในที่สุด ผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์เพราะมีสินค้าและบริการที่หลากหลายให้เลือกใช้ได้ในราคาที่ถูกลง ในขณะที่ผู้ผลิตสามารถเข้าถึงแหล่งทรัพยากร วัตถุดิบ และปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพในราคาถูกลง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย
ไทยสามารถใช้ประโยชน์จากการประชุมกลุ่มย่อย การประชุมคณะทำงานสาขาต่างๆ และโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ (ECOTECH) ภายใต้กรอบเอเปค เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับสมาชิกอื่น รวมทั้งอาศัยความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และอื่นๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเตรียมความพร้อมของไทยเพื่อรองรับการเปิดเสรีในระดับโลกต่อไป  ทั้งนี้ ไทยได้ให้ความสำคัญกับกิจกรรมความร่วมมือของเอเปค และมีบทบาทในการส่งเสริมความก้าวหน้าของความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการค่อนข้างมาก โดย ดร. เมธี ครองแก้ว ได้ทำหน้าที่ประธานของคณะอนุกรรมการด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการของเอเปค (APEC SOM Sub-Committee on ECOTECH) ในปี 2543-2544
การปรับประสานข้อมูล กฎระเบียบ และวิธีการปฏิบัติในเรื่องต่างๆ ตามแผนปฏิบัติการร่วมกันของสมาชิก เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในภูมิภาค เช่น เรื่องพิธีการศุลกากร มาตรฐานและการรับรองสินค้าอุตสาหกรรม การเคลื่อนย้ายของนักธุรกิจ สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น จะช่วยยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนของไทยให้เป็นมาตรฐานสากล อำนวยความสะดวกให้การไหลเวียนทางการค้าและการลงทุนในภูมิภาคเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วขึ้น และช่วยลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ประกอบการขนาดเล็ก-กลาง (SMEs)
ไทยซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารที่สำคัญประเทศหนึ่ง น่าจะได้ประโยชน์จากแผนงาน APEC Food System ที่มุ่งสร้างความมั่นคงด้านอาหารในภูมิภาค เนื่องจากความต้องการด้านอาหารจะเพิ่มมากขึ้นตามการเพิ่มของประชากรในภูมิภาค หากไม่มีการวางแผนหรือการบริหารจัดการที่ดีแล้ว ย่อมก่อให้เกิดการขาดแคลนหรือเกิดปัญหาการขาดประสิทธิภาพการผลิต ฯลฯ ที่รุนแรงได้
นอกจากนี้ ไทยสามารถเสนอโครงการขอความช่วยเหลือจากญี่ปุ่นในด้านการจัดทำฐานข้อมูลการปฏิบัติตามพันธกรณี WTO ระหว่างปี 2544-2545  ภายใต้แผนกลยุทธ์ของเอเปคในการให้ความช่วยเหลือด้าน Capacity Building แก่สมาชิกกำลังพัฒนา  ญี่ปุ่นยังได้ให้ความช่วยเหลือในการจัดสัมมนา/ฝึกอบรมเรื่อง GATS, Antidumping, Negotiation Skills, IPR, Financial Services และ Telecommunication Services 

และแคนาดาได้ประกาศในที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปคปี 2544  ว่าจะให้ความช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งไทย ในรูปแบบโครงการ 5 ปี มูลค่า 9 ล้านเหรียญแคนาดา
ในช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจเอเซีย ที่เริ่มจากไทยในปี 2540  เอเปคได้ร่วมกันผลักดันให้สมาชิกคงนโยบายการค้าเสรีเพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ไม่ให้ถดถอยลง  เพราะหากประเทศต่างๆ หันไปดำเนินนโยบายปกป้องอุตสาหกรรมภายใน จะทำให้การค้าและเศรษฐกิจยิ่งหดตัว ซ้ำเติมปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจให้เลวร้ายลงอีก
โดยสรุปแล้วจะเห็นว่า การดำเนินงานในเอเปคเป็นไปตามความพร้อมและความสมัครใจของแต่ละสมาชิก  สมาชิกที่สามารถปรับตัวและเข้าร่วมในการเปิดเสรีได้เร็วเท่าใดก็ยิ่งจะได้ประโยชน์เร็วขึ้นเท่านั้น เนื่องจากสาขาการผลิตที่สามารถเปิดเสรีได้แสดงถึงความมีประสิทธิภาพทางการผลิตและขีดความสามารถด้านการแข่งขันในสาขานั้น และการหลีกเลี่ยงการเปิดเสรีในยุคโลกาภิวัตน์และการสื่อสารไร้พรมแดนของศตวรรษใหม่นี้คงกระทำได้ยาก  ดังนั้น ประเทศกำลังพัฒนาอย่างไทยควรใช้ประโยชน์จากกลไกและกระบวนการในเอเปคเพื่อติดตาม เรียนรู้ และปรับตัวเพื่อก้าวให้ทันการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในโลกให้มากที่สุด

1 ความคิดเห็น:

  1. Heya¡­my very first comment on your site. ,I have been reading your blog for a while and thought I would

    completely pop in and drop a friendly note. . It is great stuff indeed. I also wanted to ask..is there a

    way to subscribe to your site via email?


    Australiano de Inmigración

    ตอบลบ