คนไร้สัญชาติหมายความว่าอย่างไร
คนไร้สัญชาติ(Statelessperson) หมายถึง บุคคลที่ไม่สามารถระบุได้ว่า เป็นผู้มีสถานะที่เป็นสมาชิกของประเทศใด หรือไม่มีประเทศใดรับว่าเป็นสมาชิกหรือเคยเป็นสมาชิกของประเทศ ซึ่งอาจจะมีทั้งคนต่างด้าวจริงๆ และผู้ที่มีฐานะทางกฎหมายที่เป็นผู้มีสัญชาติไทย เพียงแต่ยังไม่มีการพิสูจน์ หรือไม่มีโอกาสพิสูจน์ หรือไม่มีพยานหลักฐานในการพิสูจน์ ซึ่งถือว่าเป็นการริดรอนสิทธิความเป็นผู้มีสัญชาติไทย ทำให้เสียสิทธิต่างๆ อย่างมาก
สัญชาติ หมายถึง ความสัมพันธ์ในทางกฎหมายระหว่างปัจเจกชนคนหนึ่งกับรัฐรัฐหนึ่งในลักษณะที่ปัจเจกชนตกอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยในทางบุคคลของรัฐนั้น สัญชาติจึงเป็นนิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐและเอกชนที่ก่อให้เกิดสถานภาพ “คนชาติ” แก่บุคคลที่เป็นคู่กรณีในนิติสัมพันธ์
การจัดกลุ่มสถานภาพบุคคลของสมาชิกในสังคมไม่ว่าจะเป็นของประเทศไทยหรือประเทศอื่นๆ ต่างมีหลักการของกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยแผนกคดีบุคคลเป็นหลัก คนไร้สัญชาติ ก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งที่ต้องได้รับสิทธิ ตามหลักการสิทธิมนุษยชน การแบ่งสมาชิกในสังคมตามสถานะของบุคคล แบ่งได้เป็น
1. คนชาติ(National) หมายถึง พลเมืองที่ประเทศนั้นให้การรับรองว่าเป็นผู้อยู่ในการควบคุมของประเทศนั้นๆ ได้แก่ ผู้มีสัญชาติของประเทศนั้น คนต่างด้าวผู้ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศนั้นอย่างถาวร
2. คนต่างด้าว(Aliens) หมายถึง บุคคลที่ยังไม่มีสัญชาติของประเทศนั้นหรือคนต่างด้าวผู้ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศนั้นแบบชั่วคราว
3. คนไร้สัญชาติ(Statelessperson) หมายถึง บุคคลที่ไม่สามารถระบุได้ว่า เป็นผู้มีสถานะที่เป็นสมาชิกของประเทศใด หรือไม่มีประเทศใดรับว่าเป็นสมาชิกหรือเคยเป็นสมาชิกของประเทศ ซึ่งอาจจะมีทั้งคนต่างด้าวจริงๆ และผู้ที่มีฐานะทางกฎหมายที่เป็นผู้มีสัญชาติไทย เพียงแต่ยังไม่มีการพิสูจน์ หรือไม่มีโอกาสพิสูจน์ หรือไม่มีพยานหลักฐานในการพิสูจน์ ซึ่งถือว่าเป็นการริดรอนสิทธิความเป็นผู้มีสัญชาติไทย ทำให้เสียโอกาสใช้สิทธิต่างๆ อย่างมาก
นักวิชาการด้านกฎหมายสัญชาติ จำแนกสาเหตุความไร้สัญชาติในประเทศไทยไว้ 2 ลักษณะคือ 1) ความไร้สัญชาติเพียงด้านข้อเท็จจริง (De facto Stateless) และ 2) ความไร้สัญชาติทั้งด้านข้อกฎหมาย (De Jure Stateless) และ ความไร้สัญชาติโดยข้อเท็จจริง
ความไร้สัญชาติด้านข้อกฎหมายนั้น พอเข้าใจ หมายถึงความจำกัด ว่า “ไม่มีกฎหมายใดเลย กำหนดกระบวนการ หรือวิธีให้สัญชาติแก่บุคคล” แต่ ความไร้สัญชาติด้านข้อเท็จจริง ซึ่งมีสาเหตุ 2 รูปแบบ ที่เป็นข้อบกพร่องทั้งผู้ปกครอง คือ พ่อแม่และในระบบราชการไทย ผลักให้เด็กไทยที่มีสิทธิอยู่แล้วตามกฎหมาย กลายเป็นคนชายขอบ โดยเฉพาะเด็กๆที่เกิดและเติบโตในประเทศไทย ซึ่งเห็นได้ว่ากลไกราชการนี้เองที่มีส่วนร่วมในการละเมิดสิทธิประชาชนและสิทธิมนุษยชน สาเหตุ 2 รูปแบบในที่นี้ คือ 1) ไร้สัญชาติเกิดจากความไม่รู้ ไม่สามารถพิสูจน์ตนเองว่า ตนเองกำเนิดและเกี่ยวพันกับรัฐได้อย่างไร ซึ่งมีอยู่หลายครอบครัว และ 2) รู้และบุคคลนั้นเชื่อ พร้อมทั้ง อ้างได้ว่า มีข้อเท็จจริงและพิสูจน์ตนเองได้ แต่เจ้าหน้าที่รัฐไม่เชื่อ (โดยเฉพาะฝ่ายปกครองและฝ่ายความมั่นคง) เช่น กรณีชาวบ้านแม่อาย ที่ถูกนายอำเภอถอนสัญชาติ นับว่ารุนแรงที่สุด ละเมิดสิทธิประชาชนมากที่สุด ซึ่งกระทำการในนามของรัฐ
ปัจจุบันนี้ บทบาทของรัฐและกฎหมายการให้สัญชาติ กลายเป็นกระบวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนพอๆ กับคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เพราะประชาชนคนไทยที่ซึ่งยังไม่ถูกรับรองสิทธิความเป็นพลเมืองนั้น ง่ายมากต่อการถูกกระทำ หรือละเว้นไม่กระทำการ อย่างใดหนึ่ง เพื่อให้เกิดการคุ้มครอง เนื่องจากโดยสถานภาพแล้วไม่สามารถอ้างสิทธิใดๆ ได้เลย ยิ่งกว่านั้นไม่ได้รับแม้กระทั่ง ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาตนเองพื้นฐาน อาทิ การศึกษา สาธารณสุข เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น