ความหมายและความสำคัญของความหลากหลายทางระบบนิเวศ
ความหลากหลายทางชีวภาพ หมายถึง การมีชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดมาอยู่ร่วมกัน ณ สถานที่หนึ่งหรือระบบนิเวศใดระบบนิเวศหนึ่ง ความหลากหลายทางชีวภาพมี 3 ระดับ ดังนี้
1. ความหลากหลายทางพันธุกรรม (genetic diversity) ได้แก่ ความหลากหลายขององค์ประกอบทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต ซึ่งแสดงออกด้วยลักษณะ ทางพันธุกรรมต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นโดยทั่วไปทั้งภายในสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันและระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน ระดับความแตกต่างนี่เองที่ใช้กำหนดความใกล้ชิดหรือความห่างของสิ่งมีชีวิตในสายวิวัฒนาการ สิ่งมีชีวิตที่สืบทอดลูกหลานด้วยการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศหรือ สิ่งมีชีวิตที่เป็นฝาแฝดเหมือน ย่อมมีองค์ประกอบพันธุกรรมเหมือนกันเกือบทั้งหมด เนื่องจากเปรียบเหมือนภาพพิมพ์ของกันและกันสิ่งมีชีวิตที่สืบทอดมาจากต้นตระกูลเดียวกัน ย่อมมีความคล้ายคลึงกันทางพันธุกรรม มากกว่าสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่ญาติกัน ยิ่งห่างก็ยิ่งต่างกันมากยิ่งขึ้น จนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตต่างชนิดต่างกลุ่มหรือต่างอาณาจักรกัน ตามลำดับ นักชีววิทยามีเทคนิคการวัดความหลากหลายทางพันธุกรรมหลายวิธี แต่ทุกวิธีอาศัยความแตกต่างขององค์ประกอบทางพันธุกรรมเป็นดัชนีในการวัด หากสิ่งมีชีวิตชนิดใดมีองค์ประกอบทางพันธุกรรมเป็นแบบเดียวกันทั้งหมด ย่อมแสดงว่าสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นไม่มีความหลากหลายทางพันธุกรรม
2. ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต (species diversity) ความหลากหลายแบบนี้วัดได้จากจำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิต และจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด รวมทั้งโครงสร้างอายุและเพศของประชากรด้วย
3. ความหลากหลายของระบบนิเวศ (ecological diversity) ระบบนิเวศแต่ละระบบเป็นแหล่งของถิ่นที่อยู่อาศัย (habitat) ของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ซึ่งมีปัจจัยทางกายภาพและชีวภาพที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดในระบบนิเวศนั้น สิ่งมีชีวิตบางชนิดมีวิวัฒนาการมาในทิศทางที่สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ในระบบนิเวศที่หลากหลาย แต่บางชนิดก็อยู่ได้เพียงระบบนิเวศที่มีภาวะเฉพาะเจาะจงเท่านั้น ความหลากหลายของระบบนิเวศขึ้นอยู่กับชนิดและจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศนั้นๆ สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดผ่านกระบวนการวิวัฒนาการในอดีต และมีขีดจำกัดที่จะดำรงอยู่ในภาวะความแปรปรวนของสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความหลากหลายทางพันธุกรรมภายในประชากรของมันเองส่วนหนึ่ง และขึ้นอยู่กับความรุนแรงของความแปรปรวนของสิ่งแวดล้อมอีกส่วนหนึ่ง หากไม่มีทั้งความหลากหลายทางพันธุกรรมและความหลากหลายของระบบนิเวศ สิ่งมีชีวิตกลุ่มนั้นย่อมไร้ทางเลือกและหมดหนทางที่จะอยู่รอดเพื่อสืบทอดลูกหลานต่อไป
ประโยชน์ของความหลากหลายทาง มนุษย์สามารถได้รับประโยชน์จากความหลากหลายทางธรรมชาติในหลาย ๆ ด้าน ดังนี้
1.ประโยชน์ด้านการบริโภคใช้สอย หมายถึงประโยชน์ของความหลากหลายทางชีวภาพที่เป็นทรัพยากร ทางธรรมชาติอันเอื้อต่อปัจจัยในการดำรงชีวิตให้แก่มนุษย์ เช่น ด้านอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค เป็นต้น
2. ประโยชน์ด้านการผลิต ด้านการอุตสาหกรรม ผลผลิตของป่าที่นำมาใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะโดยตรง เช่น การป่าไม้ ของป่า หรือโดยอ้อม เช่นการสกัดสารเคมีจากพืชในป่า
3. ประโยชน์อื่น ๆ อันได้แก่คุณค่าในการบำรุงรักษาระบบนิเวศให้สามารถดำรงอยู่ได้ และดูแลระบบนิเวศ ให้คงทน เช่น การรักษาหน้าดินการตรึงไนโตรเจนสู่ดิน การสังเคราะห์พลังงานของพืช การควบคุมความชื้น เป็นต้น ซึ่งจัดเป็นประโยชน์ที่สำคัญ ตลอดทั้งในด้านนันทนาการและการท่องเที่ยวของมนุษย์
การสูญเสียความหลากหลายทางธรรมชาติ
นักชีววิทยาได้เห็นพ้องต้องกันว่า โลกกำลังสูญเสียสัตว์และพืชในป่าเขตร้อน อย่างน้อย 27,000 ชนิดต่อปี นอกจากในป่าเขตร้อนแล้ว ความหลากหลายทางชีวภาพ ในระบบนิเวศอื่นๆ กำลังลดลงเช่นกัน อาทิเช่น ในแนวปะการัง พื้นที่ชุ่ม บนเกาะ และบนภูเขา แม้ว่าจำนวนชนิดพันธุ์ที่สูญหายไปในระบบนิเวศนี้รวมกันแล้วยังเทียบไม่ได้กับจำนวนชนิดพันธุ์ที่สูญหายไปในป่าเขตร้อนก็ตาม แม้ว่าการสูญพันธุ์เป็นวัฏจักรของธรรมชาติ แต่การสูญพันธุ์ด้วยอัตราเร่งอย่างเป็นที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเป็นปรากฏการณ์นอกเหนือธรรมชาติ ซึ่งได้แสดงเห็นว่า โลกกำลังเผชิญหน้ากับความหายนะที่กำลังคืบคลานสู่ทุกชีวิตบนพื้นพิภพนี้ สำหรับมวลมนุษย์ชาติการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพมีความหมายมากกว่าการดำรงรักษาชนิดพันธุ์หนึ่งชนิดใดไว้มากกว่า การดำรงรักษาระบบนิเวศประเภทหนึ่งประเภทใด เพราะนอกเหนือไปจากนั้น มนุษย์ต้องการดำรงรักษาแหล่งอาหาร แหล่งยารักษาโรค แหล่งวัสดุใช้สอย ฯลฯ เพื่อความอยู่รอดของตนเองและอนาคตของชนรุ่นหลัง
สาเหตุของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
การสูญเสียความหลากหลายทางธรรมชาติที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ในพื้นที่ที่กระทบต่อระบบนิเวศสามารถจำแนกได้ประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ
1). การลดพื้นที่ ( reduction)
2). การแบ่งแยกพื้นที่ ( fragmentation)
3) การแทนที่ ( substitution)
4) การทำให้สูญพันธุ์ ( extinction)
5) การทำให้ปนเปื้อน ( contamination)
สาเหตุของความหลากหลายของชนิดของสิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิตที่มีหลากหลายชนิด เกิดจากกระบวนการวิวัฒนาการที่ค่อยๆสะสมองค์ประกอบทางพันธุกรรมทีละน้อยๆ ในเวลาหลายชั่วรุ่น จนกระทั่งสิ่งมีชีวิตมีความสามารถในการปรับตัวได้ดีต่อสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ หรือที่นักชีววิทยาเรียกว่า speciation" เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่สามารถสืบพันธุ์ได้เฉพาะภายในกลุ่มของตนเอง แต่ไม่สามารถ ถ่ายทอดพันธุกรรมให้กับสิ่งมีชีวิตต่างชนิดได้ ดังนั้นการเกิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่จึงเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต แม้จะดำรงชีวิตอยู่ในที่เดียวกัน แต่ละชนิดก็ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของกลุ่มของตนเองเอาไว้ได้ โดยทั่วไปแล้วสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่มักจะมีรูปร่างลักษณะภายนอกแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็อาจจะไม่จำเป็นเสมอไป
ปัจจัยสำคัญของการเกิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ จึงได้แก่การพัฒนาระบบและกลไกการสืบพันธุ์เฉพาะภายในกลุ่มของตนเอง ซึ่งเป็นกระบวนการที่ส่วนใหญ่จะใช้เวลายาวนานหลายชั่วรุ่นโดย ผ่านการคัดเลือกตามธรรมชาติ ซึ่งจะคัดพันธุ์ที่ด้อยกว่าในด้านการสืบทอดลูกหลานออกไปจากกลุ่มในอัตราที่เร็วช้าต่างกันไปตามความเข้มของการคัดเลือกตามธรรมชาติ การที่สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่เกิดขึ้นได้นั้น น่าจะมีสภาวะบางประการที่ทำให้ประชากรซึ่งเคยเป็นพวกเดียวกันมีอันต้องตัดขาดจากกัน สภาวะนี้อาจจะเป็นสภาพภูมิศาสตร์ ซึ่งขวางกั้นมิให้มีการผสมพันธุ์ระหว่างกัน ทำให้ต่างฝ่ายต่างมีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนและองค์ประกอบของหน่วยพันธุกรรมภายในกลุ่มของตนเอง โดยไม่มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนหน่วยพันธุกรรมกับกลุ่มอื่น จนในที่สุดต่างฝ่ายต่างก็มีวิวัฒนาการไปตามทางของตน โดยการคัดเลือกตามธรรมชาติในภาพแวดล้อมที่ต่างกัน แม้ว่าต่อมาจะมีโอกาสพบกันก็ไม่สามารถสืบทอดลูกหลานร่วมกันได้อีกต่อไป นอกจากนี้ มนุษย์ยังอาจทำหน้าที่คัดเลือกพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์พืชและ สัตว์ที่ตนต้องการ วิธีนี้เป็นการเลียนแบบธรรมชาติ ซึ่งสามารถทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ๆ เช่นเดียวกัน ต่างกันแต่เพียงว่าสิ่งมีชีวิตพันธุ์ใหม่ๆ เหล่านี้อาจจะปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่มนุษย์กำหนดขึ้นเท่านั้น อาจจะไม่สามารถดำรงอยู่ตามธรรมชาติได้ จึงไม่น่าจะยั่งยืนและไม่มีประโยชน์มากนักต่อความหลากหลายทางชีวภาพตามธรรมชาติ ยังมีการเกิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่อย่างฉับพลันด้วยระบบและกลไกอื่นอีกบ้าง แต่ปรากฏการณ์นี้เท่าที่พบก็ยังเกิดขึ้นได้น้อยมาก
ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ได้แก่ การสุ่มเสี่ยงของสิ่งมีชีวิตที่มีประชากรขนาดเล็ก การสุ่มเสี่ยงดังกล่าวอาจจะทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่สิ่งมีชีวิตซึ่งมีลักษณะเหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมถูกคัดออกไปโดยบังเอิญ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง สิ่งมีชีวิตซึ่งมีลักษณะด้อยกว่าอาจจะอยู่รอดได้หรือมีจำนวนมากกว่า ทั้งนี้ด้วยความบังเอิญมากกว่าความสามารถในการปรับตัว ไม่ว่าจะเป็นกรณีการคัดเลือกพันธุ์หรือกรณีการสุ่มเสี่ยงโดยบังเอิญ ระบบนิเวศจะเป็นปัจจัยสำคัญเสมอในการกำหนดความยั่งยืนของสิ่งมีชีวิต ดังนั้น แม้จะมีสิ่งมีชีวิตจำนวนมากมายหลายชนิดเพียงใดก็ตาม แต่หากสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นปรับตัวโดยมีความสัมพันธ์ต่อกันและกันอย่างแน่นแฟ้น การสูญไปของสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวย่อมหมายถึงการสูญเสียสิ่งมีชีวิตทั้งหมดเป็นลูกโซ่ตามๆ กันไปแสดงสาเหตุของการเกิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่
สาเหตุของความหลากหลายของระบบนิเวศ
สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศมีความสัมพันธ์ต่อกันไม่โดยทางตรงก็ทางอ้อมในวงจรการถ่ายทอดพลังงาน โดยที่ต่างก็เป็นองค์ประกอบของกันและกันในห่วงโซ่อาหารหรือสายใยอาหาร ระบบนิเวศที่มีสิ่งมีชีวิตสัมพันธ์กันแน่นแฟ้นหรือมีเงื่อนไขหรือข้อจำกัดที่เฉพาะเจาะจงในด้านถิ่นที่อยู่อาศัยมากเพียงใด ระบบนิเวศนั้นย่อมอยู่ในภาวะเสี่ยงมากกว่าระบบนิเวศอื่น เพราะปัจจัยใดที่กระทบต่อสิ่งมีชีวิตเพียงส่วนน้อยย่อมมีผลกระทบต่อระบบนิเวศนั้นทั้งหมด โดยทั่วไปแล้วระบบนิเวศที่ยั่งยืนมักจะผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงแทนที่มาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน จนกระทั่งระบบนั้นมีกลไกทั้งทางชีวภาพและกายภาพที่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ดี ภาพระบบนิเวศเช่นนี้จัดว่าเป็นระบบนิเวศในภาวะสมดุล คำว่า “สมดุล” ในที่นี้มิได้หมายความว่าทุกอย่างคงที่ แต่หมายถึง ภาวะที่ระบบนิเวศสามารถปรับตัวเข้าภาวะเดิมได้เมื่อประสบกับการเปลี่ยนแปลง ระบบนิเวศในลักษณะเช่นนี้มีอยู่แล้วในธรรมชาติ ได้แก่ ป่าไม้ประเภทต่างๆ และ แหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น ทะเล ทะเลสาบ เป็นต้น
ระบบนิเวศเหล่านี้จึงเป็นแหล่งของความหลากหลายทางชีวภาพที่เป็นที่พึ่งที่มั่นคงและ ยั่งยืนของมนุษย์ พืช สัตว์ และจุลินทรีย์ ภายในระบบนิเวศเหล่านี้ได้มีการสะสมแหล่งพันธุกรรมไว้เป็นจำนวนมหาศาล โดยผ่านขั้นตอนของวิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์มาเป็นระยะเวลายาวนานกว่ากำเนิดของมนุษย์นับร้อยล้านเท่า แม้มนุษย์จะพยายามจำลองระบบเหล่านี้เพียงใดก็ทำได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งไม่อาจเทียบกับธรรมชาติได้ เรายังคงต้องรักษาระบบนิเวศเหล่านี้เอาไว้ให้ดีเพื่อให้เป็นแหล่งพันธุกรรมที่อุดมสมบูรณ์ แสดงถึงสาเหตุของความหลากหลายของระบบนิเวศ
ลักษณะและชนิดของปลาทะเลน้ำเค็ม
ปลาผีเสื้อเทวรูป Moorish idol (วงศ์ Zanclidae)
ปลาในวงศ์นี้มีชนิดเดียว มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Zanclus cornutus โดยชื่อ Z canescens เป็นชื่อพ้อง (synonym) เป็นปลาที่ใกล้เคียงกับปลาขี้ตังเบ็ดแต่มีรูปร่างคล้ายปลาผีเสื้อหรือโนรีโดยปากยื่นเป็นรูปท่อ ก้านครีบแข็งบริเวณหลังยื่นยาวเป็นเส้น พบได้ตามแนวปะการังทั้งบริเวณน้ำค่อนข้างขุ่นถึงน้ำใสตามเกาะห่างฝั่ง มักพบรวมกลุ่มขนาดเล็ก แต่บางครั้งพบรวมเป็นฝูงใหญ่ถึง 100 ตัว กินฟองน้ำ รวมทั้งสัตว์เล็กๆ และสาหร่ายตามพื้น
ปลาผีเสื้อแปดขีด
Eightbanded butterflyfish
มีลายขีดตามตัว 8 ขีดพบได้ทั่วไป
Eightbanded butterflyfish
มีลายขีดตามตัว 8 ขีดพบได้ทั่วไป
ปลาผีเสื้อลายทแยง
butterflyfish
butterflyfish
มีลายเหมือนลายไขว้แต่ไม่มีวงกลมสีดำที่หลัง และครีบยาวเล็ก
ปลาเดมเซลหรือปลาสลิดหิน
หากวันที่เราได้ดำลงไปในใต้ท้องทะเล ในแนวปะการัง โดยเฉพาะบริเวณแนวปะการังเสื่อมโทรม เราจะพบปลาจำนวนมากอยู่ 2 กลุ่ม เดมเซล ก็เป็นหนึ่งในกลุ่มที่เราพบมาก ตามปกติปลาเดมเซลจะหากินตามบริเวณพื้นหิน และอาศัยปะการังเป็นที่หลบซ่อนตัวหรือบางที
ก็ขุดอุโมงค์เข้าไปอาศัย ดังนั้นเราจึงพบเห็นว่า ปลาตระกูลเดมเซลจะชอบอยู่บริเวณใกล้กับกองหิน
ใต้น้ำและไม่ว่ายห่างไปจากกองหินบริเวณนั้นมากนัก ขณะที่เดมเซลอีกกลุ่มหนึ่ง มักชอบรวมกันเป็นฝูงและว่ายบริเวณผิวน้ำ ก็คือ ปลาตะกรับ ( Chromis sp.) เดมเซลส่วนใหญ่จึงมีนิสัยหวงถิ่นมาก
และหากมีผู้บุกรุก ก็จะตรงรี่เข้าไปทำร้ายทันที จึงเป็นปัญหาของผู้ที่มีตู้เลี้ยงแคบ ๆ ที่พบว่าปลาชอบกัดกัน และบางทีก็กัดจนตายได้เลย ปลาตระกูลเดมเซลจริง ๆ แบ่งได้หลายกลุ่ม แม้แต่ปลาการ์ตูนเอง ก็เป็นหนึ่งในกลุ่มปลาเดมเซลเช่นกัน แต่ในกลุ่มนักเลี้ยง เราชอบที่จะใช้คำว่า ปลาเดมเซลสำหรับ เรียกปลาเดมเซล ที่มีรูปทรงหรือนิสัยเฉพาะตามภาษาไทยที่เรียกว่าปลาสลิดหินทะเล
ก็ขุดอุโมงค์เข้าไปอาศัย ดังนั้นเราจึงพบเห็นว่า ปลาตระกูลเดมเซลจะชอบอยู่บริเวณใกล้กับกองหิน
ใต้น้ำและไม่ว่ายห่างไปจากกองหินบริเวณนั้นมากนัก ขณะที่เดมเซลอีกกลุ่มหนึ่ง มักชอบรวมกันเป็นฝูงและว่ายบริเวณผิวน้ำ ก็คือ ปลาตะกรับ ( Chromis sp.) เดมเซลส่วนใหญ่จึงมีนิสัยหวงถิ่นมาก
และหากมีผู้บุกรุก ก็จะตรงรี่เข้าไปทำร้ายทันที จึงเป็นปัญหาของผู้ที่มีตู้เลี้ยงแคบ ๆ ที่พบว่าปลาชอบกัดกัน และบางทีก็กัดจนตายได้เลย ปลาตระกูลเดมเซลจริง ๆ แบ่งได้หลายกลุ่ม แม้แต่ปลาการ์ตูนเอง ก็เป็นหนึ่งในกลุ่มปลาเดมเซลเช่นกัน แต่ในกลุ่มนักเลี้ยง เราชอบที่จะใช้คำว่า ปลาเดมเซลสำหรับ เรียกปลาเดมเซล ที่มีรูปทรงหรือนิสัยเฉพาะตามภาษาไทยที่เรียกว่าปลาสลิดหินทะเล
อาหาร
ปลาเดมเซลสามารถกินอาหารได้หลากหลายมากมาย ทั้งอาหารสดอย่างไรทะเลพอด้ามตู้ ( ตัวใหญ่ )เนื้อกุ้ง เนื้อไก่ ก็กิน สามารถปรับตัวเข้ากับอาหารเม็ดได้อย่างรวดเร็ว
อุปนิสัย
เมื่อแรกเริ่มชอบซ่อนตัวตามซอกหิน บริเวณพื้นตู้ มักเอาหางพัดทรายหรือกรวดให้เป็นโพรงแล้วเข้าไปอยู่ ทำให้บางครั้งทรายฟุ้งไปบดบังทัศนียภาพหรือกระแสน้ำกับหินเป็นหรือปะการังบ้าง เมื่อปรับตัวได้ซัก 1-3 วันจะเริ่ม ออกหาอาหาร และเมื่อผ่านไปเกิน 1 สัปดาห์จะเริ่มแสดงนิสัยหวงถิ่น กัดปลาตัวที่เล็กกว่าหรือพันธุ์เดียวกันให้ออกไปห่างจากบริเวณที่อาศัยอยู่ ถึงเวลาให้อาหารจะออกมากินบริเวณผิวน้ำได้สะดวก สามารถเลี้ยงให้เชื่องให้อาหารกับมือได้ ปลาเดมเซลที่ดุค่อนข้างมากได้แก่พวก โดมิโน่ ขณะที่เดมเซลที่ดุน้อยจะเป็นพวก ตะกรับ และ บลูเดมเซล
ซึ่งบางทีเราสามารถเลี้ยงบลูเดมเซลเป็นฝูงให้ความสวยงามไปอีกแบบก็ได้
ซึ่งบางทีเราสามารถเลี้ยงบลูเดมเซลเป็นฝูงให้ความสวยงามไปอีกแบบก็ได้
การสืบพันธุ์
เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ปลาจะว่ายออกจากถิ่นตัวเองเข้ามาผสมพันธุ์กัน บางชนิดจะจับคู่ กัน บางชนิดจะทำตัวเป็น ฮาเร็ม หรือ ตัวเมียหลายตัวต่อตัวผู้ 1 ตัว วางไข่กับก้อนหิน พ่อแม่ปลาดูแลไข่จนฟักเป็นตัว ตัวอ่อนแรกเกิดจะมีไข่แดงติด ทำให้ไม่ต้องกินอาหารในช่วง 1- 3 วันแรก ต่อมาต้องป้อนให้กินด้วยแพลงตอนสัตว์ เช่น โรติเฟอร์ หรือพวก ตัวอ่อนไรทะเล
ชนิดของปลาเดมเซลที่นิยมเลี้ยง
การ์ลิบัลดี้ เดมเซล Galibaldi Damsel เป็นเดมเซลที่หาตัวจับยากและแพงมาก เนื่องจากมันไม่ได้อยู่ในไทย และอยู่ในบริเวณเฉพาะของ แคริบเบียน เป็นที่นิยมของนักเลี้ยงระดับสูง ตัวใหญ่จึงต้องใช้ตู้ขนาดใหญ่ในการเลี้ยง ราคาปกติ 10,000 บาท ต่อตัว มีสีส้มสวยงามกว่าเดมเซลตัวอื่น ๆ หากจัดตู้ให้เข้ากับธรรมชาติ จะเป็นตู้ที่มีลักษณะเขตแดนสาหร่าย
บลูเดมเซล Chrysipera cyanea ชนิดของ บลูเดมเซลแตกแยกออกได้หลายชนิด พบทั้งในประเทศไทย ( สีและรูปร่างไม่สวย ) และต่างประเทศ
- บลูเดมเซลหางใส
- บลูเดมเซลหางเหลือง
- บลูเดมเซลหางส้ม ( ออเรนจ์เดวิล บลูเดมเซล )
- บลูเดมเซลหางฟ้า ( เดวิลบลูเดมเซล หรือ เดมเซลฟิจิ )
นอกจากนี้ยังมีบลูเดมเซลที่มีลายสีเหลืองพาดต่างกัน จึงมีชื่อเรียกต่างกันดัวย เช่น
- สตาร์คกี้ บลูเดมเซล ( Chrysipera starckii ) มีสีเหลืองพาดที่หัวยาวไปตลอดครีบหลัง สวยงามมาก
- บลูเดมเซลท้องเหลือง แนวเฉียง
- บลูเดมเซลท้องเหลือง ( ชอบเรียกกันว่า บลูเดมเซลฮาวาย )
- บลูเดมเซลหางเหลือง
ปลาตะกรับฟ้า หรือ ปลาตะกรับเขียว จริง ๆ มันคือตัวเดียวกัน แต่แสงที่ส่องทำให้ดูฟ้าและเขียวไม่เหมือนกันปลาตะกรับฟ้าเป็นปลาที่ไม่ค่อยดุ สามารถเลี้ยงรวมกันเป็นฝูงดูสวยงามดีปลาตะกรับเหลือง รูปร่างลักษณะคือปลาเดมเซลดี ๆ นี่แหละ แต่ความดุของมันจะน้อยกว่าปลาเดมเซลชนิดอื่น ๆ พอสมควร ใกล้เคียงกับ บลูเดมเซล ปลามุกประดิษฐ์ ก็เป็นปลาเดมเซลชนิดหนึ่งที่มีความน่ารักอยู่ในตัว แต่ความดุนั้น มากเกินตัวจริง ๆ สามารถ เลี้ยงเป็นฝูงได้ถ้าขนาดไล่เลี่ยกัน และ ลงตู้พร้อมกันปลาม้าลาย มี 2 ชนิด ชนิดแรกเป็นม้าลายไทย และอีกชนิด เป็นม้าลายอินโด ต่างกันตรงที่หน้าของม้าลายจะมีสีดำหรือสีขาว มีความดุ หวงถิ่นมาก ปลาโดมิโน เท่าที่เห็นในท้องตลาดจะมี 2 ชนิด ชนิดแรก อยู่ในแถบเอเซีย เป็นโดมิโน่ตัวดำ มีจุดขาว 2 จุด และจุดจะสีจางลงเมื่อโตขึ้น มีความดุและหวงถิ่นมากกว่าปลาม้าลาย ขณะที่ โดมิโน่อีกชนิดจะนำเข้าจากฮาวายเป็นปลาโดมิโนที่มี 2 จุดขาวคล้ายกัน แต่ท้องเหลือง ครีบจะยาวกว่าเล็กน้อย ความดุจะน้อยกว่าชนิดแรก
นอกจากนี้มีปลาเดมเซลที่ขายกันอยู่อีกหลายชนิด เช่น
เดมเซลฟ้าคราม เปลี่ยนสีแวว สมัยยังเล็กสีน้ำเงินสด พอโตขึ้นเปลี่ยนเป็นสีดำ ถ้าทำให้น้ำมีคุณภาพดี ๆ มีสารอินทรีย์น้อย จะคงสีน้ำเงินสดได้นานกว่า น้ำเก่า ๆ
ยูนิคอร์น
ชื่อวิทยาศาสตร์ Naso annulatus
ชื่อสามัญ White-margin unicornfish
ขนาด 60 เซนติเมตร
แพร่กระจาย ทะเลอันดามัน น้อยมากในอ่าวไทย
บริเวณที่พบ ปลากลางน้ำ พบในเขตน้ำใส
ความลึก 5-50 เมตร
อาหาร แพลงก์ตอนสัตว์กลางน้ำ ฯลฯ
สถานการณ์ มีสิทธิเจอ แต่ไม่มากนัก มักเจอ 1-3 ตัว ไม่ค่อยเจอเป็นฝูงแล้ว
อนุรักษ์ ไม่มีใครกิน ไม่มีใครเลี้ยง แต่ปริมาณลดลงเพราะผลทางอ้อมจากการประมง
Fish Tip ปลาประหลาดสำหรับมือใหม่ ใครไม่เคยเจอปลามีเขา...ย่อมตกใจเป็นธรรมดา
สำหรับเจ้าปลายูนิคอร์นเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องมีเขาทุกตัว บางชนิดก็ไม่มีเขา บางชนิดมีหัวโหนกแทนที่จะมีเขา ชนิดที่มีเขาก็สั้นยาวไม่เท่ากัน สำหรับภาพวาดของนายตี๋ครั้งนี้ เป็นตัวที่มีเขายาวพอประมาณ ยังมีชนิดที่เขายาวกว่านี้อีกนะครับ
ปลายูนิคอร์นพบในเมืองไทยประมาณ 6 ชนิด (เท่าที่ผมเคยเห็น อาจมีมากกว่านี้) ไม่ได้เป็นปลาพบง่ายๆ แต่จะว่าไปก็ไม่ยากนัก เอาเป็นว่า ถ้าไปดำน้ำที่เกาะสุรินทร์หรือสิมิลันสัก 3 วัน ดำน้ำตื้นหรือลึกก็ได้ ขอให้มองออกไปทางด้านนอก ดูในมวลน้ำสีคราม จะพบปลาพวกนี้ว่ายอยู่เดี่ยวๆ บางทีก็มาเป็นฝูงเล็กๆ 2-3 ตัว ไม่ค่อยเจอฝูงใหญ่ เพราะมีจำนวนไม่พอ ในเมืองนอกผมเคยเจอหลายสิบตัวว่ายเรียงกัน น่ากลัวโดนทิ่มมาก
ปลายูนิคอร์นหากินกลางวัน กลางคืนแยกย้ายกันนอนหลับ บางชนิดมุดเข้าใต้ปะการังก้อน บางชนิดว่ายอยู่ช้าๆตามพื้นในที่ลึก เขาที่หัวไม่ได้มีไว้ต่อสู้ศัตรู พวกเขาใช้เงี่ยงที่โคนหางต่างหาก อีกอย่างคือปลาพวกนี้ตัวใหญ่พอควร ว่ายน้ำเร็ว ไม่ค่อยมีปลาอื่นลุยยามกลางวัน แต่ตอนกลางคืนอาจโดนสากหรือฉลามหม่ำบ้างเป็นธรรมดา
ม้าน้ำ
ลักษณะพิเศษคือลำตัวไม่มีเกล็ด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hippocampus kuda Bleeker
ชื่ออังกฤษ : Sea Horse
วงศ์ : SYNGNATHIDAE
ไฟลั่ม : CHORDATA
ลักษณะโดยทั่วไป : ม้าน้ำเป็นสัตว์ที่มีฉายาว่า"นักอำพรางตัวยง" เพราะสามารถอำพรางตัวให้กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่ได้ ม้าน้ำเป็นสัตว์เลือดเย็น มีกระดูกสันหลัง หายใจทางเหงือก จัดอยู่ในกลุ่มปลาทะเลแต่มีรูปร่างแตกต่างไปจากปลาชนิดอื่น ๆ มากและมีวงจรชีวิตที่ต่างกัน ส่วนหัวจะมีลักษณะเหมือนม้าที่มีปากยาวยื่นออกไปเป็นท่อ ลำตัวปกคลุมด้วยเปลือกแข็งเป็นข้อ ๆ ขณะว่ายน้ำหรือเกาะกับที่จะตั้งลำตัวขึ้นและเอาส่วนท้องยื่นไปทางด้านหน้า ครีบหูบางใสอยู่ทางด้านหลังของแก้มและมีครีบหลัง 1 อัน ครีบหางไม่มีแต่ได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นหาง ม้วนงอสำหรับเกี่ยวจับวัตถุในน้ำหรือเกาะกันขณะผสมพันธุ์ ความยาวของหางเมื่อเหยียดตรงจะยาวประมาณ25 เซนติเมตร พื้นผิวลำตัวมีสีดำหรือสีเหลืองหรือม่วงและสามารถเปลี่ยนสีได้ ตัวผู้จะมีลักษณะที่ต่างจากตัวเมียคือมีถุงหน้าท้อง (brood pouch) สำหรับฟักไข่เป็นตัวและทำหน้าที่คลอดลูกแทนตัวเมีย
แหล่งที่อยู่อาศัย:ม้าน้ำอาศัยอยู่ตามเสาโป๊ะหลักหอยแมลงภู่หรือตามดงสาหร่ายบริเวณชายฝั่งม้าน้ำที่พบบริเวณชายฝั่งทะเล
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hippocampus kuda Bleeker
ชื่ออังกฤษ : Sea Horse
วงศ์ : SYNGNATHIDAE
ไฟลั่ม : CHORDATA
ลักษณะโดยทั่วไป : ม้าน้ำเป็นสัตว์ที่มีฉายาว่า"นักอำพรางตัวยง" เพราะสามารถอำพรางตัวให้กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่ได้ ม้าน้ำเป็นสัตว์เลือดเย็น มีกระดูกสันหลัง หายใจทางเหงือก จัดอยู่ในกลุ่มปลาทะเลแต่มีรูปร่างแตกต่างไปจากปลาชนิดอื่น ๆ มากและมีวงจรชีวิตที่ต่างกัน ส่วนหัวจะมีลักษณะเหมือนม้าที่มีปากยาวยื่นออกไปเป็นท่อ ลำตัวปกคลุมด้วยเปลือกแข็งเป็นข้อ ๆ ขณะว่ายน้ำหรือเกาะกับที่จะตั้งลำตัวขึ้นและเอาส่วนท้องยื่นไปทางด้านหน้า ครีบหูบางใสอยู่ทางด้านหลังของแก้มและมีครีบหลัง 1 อัน ครีบหางไม่มีแต่ได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นหาง ม้วนงอสำหรับเกี่ยวจับวัตถุในน้ำหรือเกาะกันขณะผสมพันธุ์ ความยาวของหางเมื่อเหยียดตรงจะยาวประมาณ
แหล่งที่อยู่อาศัย:ม้าน้ำอาศัยอยู่ตามเสาโป๊ะหลักหอยแมลงภู่หรือตามดงสาหร่ายบริเวณชายฝั่งม้าน้ำที่พบบริเวณชายฝั่งทะเล
ม้าน้ำดำ ( Hippocampus kuda )
จัดเป็นพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ปัจจุบันรพบตัวใหญ่ที่สุด ยาวเท่าฝ่ามือเท่านั้น ลำตัวสีดำสนิท ผิวค่อนข้างเรียบไม่มีหนามยาวแหลม อาศัยตามชายฝั่งบริเวณที่มีน้ำค่อนข้างขุ่น เมื่อนำมาเลี้ยงสามารถเปลี่ยนสีได้ ส่วนใหญ่มักเปลี่ยนเป็นสีครีม สีเหลือง และน้ำตาลแดง ได้รับความชื่นชอบจากนักนิยมยาบำรุง
การสืบพันธุ์ : จากการสังเกตพฤติกรรมของม้าน้ำหนาม พบว่ามันจะผสมพันธุ์ในช่วงเช้าจนถึงประมาณก่อนเที่ยง โดยตัวผู้จะว่ายน้ำไปหาตัวเมีย แล้วใช้หางกวาดเพื่อจับตัวเมียเอาไว้ หลังจากนั้นจะเริ่มแอ่นอก งอหัวลงจนปากแนบชิดหน้าอกแล้วบีบถุงหน้าท้องจนเห็นช่องเปิดเพื่อแสดงให้ตัวเมียเห็นว่าพร้อมจะผสมพันธุ์ ถ้าตัวเมียพร้อมก็จะเปลี่ยนสีลำตัว แล้วว่ายหันข้างลำตัวคุ่กันไป แต่ถ้าไม่พร้อมจะสลัดให้หลุด
โดยธรรมชาติแล้ว ม้าน้ำตัวผู้จะต้องเป็นฝ่ายอุ้มท้องแทนตัวเมีย ดังนั้นจึงมีถุงหน้าท้องเหมือนจิงโจ้ และจะอุ้มท้องนานประมาณ 2 สัปดาห์ แต่ตัวเมียก็จะคอยวนเวียนอยู่ใกล้ๆ จนกว่าตัวผู้จะฝักลูกออกมาเป็นตัว และก็จะอยู่ด้วยกันตลอด จนกว่าตัวใดตัวหนึ่งจะตาย ตัวที่เหลือถึงไปจับคู่ใหม่แต่ใช้เวลานานพอสมควร ช่างรักกันจริงๆ เลย ด้วยเหตุนี้ม้าน้ำจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความซื่อสัตย์ จึงมีคนนิยมนำไปเป็นของขวัญในวันสำคัญ เช่น วันแต่งงาน
เห็ดทะเล สัตว์ทะเลแสนสวยประดับตู้ปลา
เห็ดทะเลเป็นสัตว์ทะเลสวยงามชนิดหนึ่งที่ผู้นิยมเลี้ยงปลาทะเลทั้งหลายนิยมเลี้ยงกันอย่างมาก เห็ดทะเลจึงเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ของผู้เลี้ยงสัตว์ทะเลสวยงาม แต่สำหรับคนทั่วไปแล้ว เห็ดทะเลนับว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่แปลกตาและไม่คุ้นเคย และในบางครั้งหลายคนอาจเกิดความสับสนว่าเห็ดทะเลเป็นดอกไม้ทะเลชนิดหนึ่ง
นักชีววิทยาทางทะเล ได้จัดเห็ดทะเลไว้ในไฟลัมไนดาเรีย (Cnidaria) ซึ่งเป็นพวกเดียวกับ ปะการัง กัลปังหา ดอกไม้ทะเล และแมงกะพรุน ในครั้งแรกนักชีววิทยาทางทะเลเชื่อว่าเห็ดทะเลเป็นดอกไม้ทะเลชนิดหนึ่งจึงตั้งชื่อสามัญว่า Mushroom anemone เห็ดทะเลมีความสัมพันธ์ทางสรีระวิทยาของร่างกายคล้ายกับปะการังมากกว่าดอกไม้ทะเล แต่เห็ดทะเลไม่สามารถสร้างโครงสร้างหินปูนได้เหมือนปะการังจึงถูกจำแนกออกมาไว้คนละอันดับกับปะการังและดอกไม้ทะเล เห็ดทะเลมีการจัดลำดับทางอนุกรมวิธานดังนี้
Phylum : Cnidaria
Class : Anthozoa
Suborder : Zoantharia
Order : Corallimorpharia
แต่อย่างไรก็ตามเห็ดทะเลยังมีโครงสร้างร่างกายภายนอกคล้ายกับดอกไม้ทะเลมาก คือ มีแผ่นปาก (Oral dish) ที่เปิดออกทางด้านบน และด้านล่างเป็นฐาน (Pedal dish) ทำหน้าที่ยึดเกาะกับวัสดุใต้น้ำ แผ่นปากจะมีช่องปากอยู่ตรงกลาง มีหนวดสั้นรอบปากหรือบางชนิดหนวดเล็กมากจนไม่สามารถสังเกตเห็นหนวดได้
ถิ่นที่อยู่อาศัยของเห็ดทะเล
เห็ดทะเลดำรงชีวิตอยู่ตามแนวปะการังทั่วไป มักพบอาศัยอยู่ในแนวปะการังน้ำตื้น (Fringing reef) ของเขตร้อนทั่วโลก เห็ดทะเลอาศัยและเจริญเติบโตบนก้อนหินหรือซากปะการังที่ตายแล้ว เป็นการดำรงชีวิตอยู่กับที่ไม่มีการเคลื่อนย้าย หรืออาจมีการเคลื่อนที่เล็กน้อยเพื่อความ อยู่รอดและการขยายพันธุ์
การกินอาหารของเห็ดทะเล
ในเนื้อเยื่อตามร่างกายของเห็ดทะเลจะมีสาหร่ายเซลล์เดียวที่ชื่อว่า ซูแซนทาลี่ (Zooxanthallae) อาศัยอยู่และเป็นความสัมพันธ์แบบพึ่งพา (Symbiosis) เห็ดทะเลจะได้รับสารอาหารจากการสังเคราะห์แสงของซูแซนทาลี่เป็นหลัก บางครั้งพบว่าซูแซนทาลี่ที่เจริญเติบโตมีจำนวนมากเกินไปเห็ดทะเลก็สามารถกรองกิน ซูแซนทาลี่นั้นได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในขณะนั้น นอกจากนี้เห็ดทะเลบางชนิดยังสามารถจับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กกินเป็นอาหารเช่น ลูกกุ้ง ลูกปลา เป็นต้น ซึ่งเป็นการกินอาหารอาหารของเห็ดทะเลอีกวิธีหนึ่ง
การสืบพันธุ์ของเห็ดทะเล
เห็ดทะเลมีความสามารถในการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศได้ดีมาก ส่วนมากที่พบคือการแตกหน่อ เห็ดทะเลจะใช้ฐานเคลื่อนย้ายตัวเองออกจากตำแหน่งเดิมแต่จะทิ้งเนื้อเยื้อส่วนหนึ่งไว้เล็กน้อย เนื้อเยื่อเหล่านี้จะสามารถพัฒนาขึ้นเป็นเห็ดทะเลตัวใหม่ได้ พบว่าเห็ดทะเลบางชนิดที่มีความสมบูรณ์สามารถแตกหน่อได้ถึง 5-6 หน่อในระยะเวลา 1 ปี อีกวิธีหนึ่งที่พบเห็นทั่วไป คือ เห็ดทะเลจะปล่อยตัวเองออกจากวัสดุยึดเกาะ และล่องลอยไปกับกระแสน้ำเมื่อไปตกในสถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เห็ดทะเลเหล่านั้นจะสามารถเจริญเติบโตต่อไป
การเลี้ยงเห็ดทะเล
เนื่องจากเห็ดทะเลมีสีสันที่หลากหลาย และรูปร่างที่แปลกตา เห็ดทะเลจึงถูกนำมาเลี้ยงในตู้ทะเลกันเป็นจำนวนมาก การเลี้ยงเห็ดทะเลควรให้เห็ดทะเลได้รับแสงอย่างเหมาะสม ควรใช้หลอดเมทัลเฮไลท์ หากความเข้มแสงน้อยเห็ดทะเลจะได้รับอาหารไม่เพียงพอ จะเกิดอาการ ฟอกขาวขึ้น จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เห็ดทะเลตายในขณะเลี้ยง
อุณหภูมิเป็นสิ่งที่สำคัญในการเลี้ยงเห็ดทะเลเป็นอย่างมาก แม้ว่าเห็ดทะเลจะสามารถทนต่ออุณหภูมิที่สูงกว่าสัตว์ทะเลสวยงามชนิดอื่น แต่ก็ควรจะควบคุมอุณหภูมิในการเลี้ยงอย่าให้เกิน 28 องศาเซลเซียส โดยใช้เครื่องทำความเย็นที่ทนทานต่อการกัดกร่อนของน้ำทะเล มักใช้โลหะ ไททาเนียมเป็นสื่อในการปรับอุณหภูมิของเครื่องทำความเย็น
ปะการังถ้วยส้ม
ชื่ออังกฤษ Orange Tube Coral
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tubastraea coccinea (Ehrenberg)
วงศ์ DENDROPHYLLIDAE
แหล่งที่พบ ปะการังชนิดนี้พบเจริญอยู่ใต้น้ำระดับลึกประมาณ 2-8 เมตร ทั้งในอ่าวไทยและฝั่งมหาสมุทรอินเดีย
ในปะการังที่สวยและเลี้ยงดูได้ไม่ยากสำหรับผู้เลี้ยงปะการังที่ขยัน และไม่ใช้งบประมาณมาก ก็คือ ปะการังถ้วยส้ม ชื่อวิทยาศาสตร์ Tubastraea coccinea (Ehrenberg)
วงศ์ DENDROPHYLLIDAE
แหล่งที่พบ ปะการังชนิดนี้พบเจริญอยู่ใต้น้ำระดับลึกประมาณ 2-
ซึ่งเป็นปะการังกลุ่มที่สามารถกินอาหารเป็นชิ้น ๆ ได้ ทำให้สามารถเลี้ยง
ได้ในตู้ที่มีแสงสว่างจำกัด จึงไม่จำเป็นต้องเสียค่าไฟ มากมายได้
ปะการังถ้วยส้มมีหลายชนิดหลายพันธุ์
เดิมเรารู้จักว่า ปะการังถ้วยส้มจะถูกจัดกลุ่มให้อยู่ในจำพวก Tubastrea sp. แต่ระยะหลัง เราพบว่ามีการนำปะการังถ้วยส้มที่มีรูปร่างหน้าตาแปลกตามากขึ้น
มาขายตามร้าน ปะการังเหล่านี้อยู่นอกจำพวก Tubastrea อย่างเช่น Dendrophyllia
และอีกหลายพันธุ์ ในความเป็นจริงเราไม่สามารถแยกปะการัง Dendrophyllia ออกจาก Tubastrea ได้ นอกจากใช้กล้องจุลทรรศน์ตรวจสอบ กับการใช้ DNA Probe
สำหรับระดับนักเลี้ยงจึงไม่ค่อยมีความจำเป็นในการแยกมากนัก และมักจะเรียกกัน
ตามความสวยงามที่พบเห็นมากกว่า มีเพียงนักวิชาการท่านที่สนใจในการแยกแยะ
ท่านผู้อ่านที่สนใจชนิดพันธุ์ของปะการังถ้วยส้ม สามารถเข้าไปดูได้ที่ ชนิดของปะการังตระกูลถ้วยส้ม
ปะการังถ้วยส้มต้องป้อนอาหาร
ในการเลี้ยงสัตว์ทุกชนิดต้องมีการให้อาหารเป็นธรรมดา ในการเลี้ยงปะการังที่สังเคราะห์แสงได้ ซึ่งมีสาหร่าย zooxanthellae เป็นองค์ประกอบจะได้รับอาหารจากการสังเคราะห์แสงด้วยการจับอาหาร แพลงตอนในน้ำเพิ่มเติม แต่ปะการังถ้วยส้ม เป็นปะการังที่ไม่ได้สังเคราะห์แสง ได้พลังงานจากการจับกินอาหารในน้ำเพียงอย่างเดียว ปะการังกลุ่มประเภทถ้วยส้มจึงต้องการ การให้อาหารบ่อย ๆ
ทำให้นักเลี้ยงที่ไม่ค่อยสนใจดูแลตู้และอาหารของปะการัง หรือนักเลี้ยง ที่ไม่มีเวลาในการดูแลมักไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการดูแลปะการัง ตระกูลถ้วยส้มนี้
ใหม่ ๆ แรก ๆ เมื่อนำปะการังถ้วยส้มมาใส่ตู้ ยิ่งถ้าเป็นปะการังที่ขาดอาหารมานาน หรือ ปะการังที่ตกใจ จะไม่ยื่นหนวดหาอาหารออกมาหากิน เป็นระยะเวลานาน อาจถึง 1 - 2 สัปดาห์ทีเดียว เนื่องจากว่า เวลาที่มันบานจะกินพลังงานในการดำรงชีวิตเพื่ออยู่รอด
หากบานออกมาหาอาหารจะทำให้สูญเสียพลังชีวิตไปมากและตายเร็ว
ปะการังถ้วยส้มที่แข็งแรง จะสามารถบานออกมาหาอาหารได้ทันที เช่นเดียวกับปะการังถ้วยส้มที่ผ่านการปรับเปลี่ยนตัวเองโดยการหดตัวเล็กลง หลังขาดอาหาร หรือ ใกล้จะตายเต็มที ก็จะยื่นหนวดจับอาหารออกมา เราจะนำอาหาร ใส่ลงไปบริเวณที่ตรงกลาง หรือ ตรงปากมัน หรือจะเป็นตรงหนวดมันก็ได้ มันจะจับแล้วหยิบชิ้นอาหารลงไปที่ปากแทน
ปะการังถ้วยส้มที่ไม่ยอมบาน เราสามารถกระตุ้นการบาน โดยการพ่นน้ำ ที่มีกลิ่นคาวของอาหารโดยรอบ วิธีนี้มีอัตราสำเร็จ คือทำให้มันบานได้ประมาณ 60 % ขณะที่เมื่อผ่านการป้อนอาหารไปได้ที่ระยะเวลาเหมาะสม ปะการังจะเกิดการเรียนรู้ และบานตามเวลาที่เราให้อาหารเป็นประจำทุกวัน
ตามธรรมชาติ ปะการังถ้วยส้มจะได้รับอาหารมากในช่วงกลางคืน
เพราะเป็นช่วงเวลาที่แพลงตอนออกจากที่ซ่อนเพื่อหากิน ปะการัง.ถ้วยส้มส่วนใหญ๋จึงบานเวลากลางคืน
แต่เนื่องจากปะการังถ้วยส้มมีจำนวนโพลิปมาก การให้อาหารปะการังถ้วยส้มเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ผู้เลี้ยงหลาย.
ต่อหลายคนเสียเวลา และล้มเลิกการป้อนอาหารเสีย ทำให้ปะการัง
ถ้วยส้มอันสวยงามต้องล้มหายตายจากไปจากตู้ของผู้เลี้ยง
จึงมีคนหลายต่อหลายคนคิดวิธีการให้อาหารให้ง่ายขึ้น ลองตามไปดูกันนะครับ
อาหารสำหรับปะการังถ้วยส้ม
ปะการังถ้วยส้ม สามารถรับอาหารได้หลายทางเช่นเดียวกับปะการังโพลิปใหญ่ ยกเว้นเรื่องของการใช้
สาหร่าย zooxanthellae เพื่อสังเคราะห์แสงให้ได้อาหารจากภายในตัวเอง ดังนั้น ปะการังถ้วยส้มจึงต้อง
กิน อาหารที่มาจากภายนอก อาหารที่ปะการังถ้วยส้มกินส่วนใหญ่ จะเป็น แพลงตอนสัตว์ เศษซากอาหาร
จากการกินเหลือของปลา หรือ แม้แต่ Marine Snow
ปะการังถ้วยส้มในธรรมชาติ จึงสามารถรับอาหารขนาดเล็กได้เป็นปริมาณต่อเนื่องเกือบทั้งวัน แต่ปะการังถ้วยส้ม
เองก็มีความสามารถปรับตัวสำหรับการ อดอาหารด้วย เนื่องจากอาหารในธรรมชาติ ไม่ได้มีตลอด ปะการังถ้วยส้มเอง
สามารถอดอาหารได้ สบาย ๆ ถึง 2 อาทิตย์ และหากอดอาหารเป็นเดือน ปะการังจะทำการปรับตัวโดยการลดขนาดเซล
ลงไป ทำให้ตัวเล็กลง และโครงหินปูนที่เคยสร้างไว้จะถูกปกคลุมด้วยตะไคร่ ทำให้ปะการังถ้วยส้มโตยากขึ้นกว่าเดิม
ในที่เลี้ยง สภาวะการให้อาหารของนักเลี้ยง มีผลต่อปะการังถ้วยส้มเป็นอย่างมาก หากปราศจากการให้อาหารเพิ่มเติม
ปะการังถ้วยส้มส่วนมากจะไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เนื่องจากสารอาหารในน้ำจะต้องถูกจำกัดเพื่อไม่ให้เกิดน้ำเสีย
และการให้อาหารน้ำที่ร้านขายนิยมบอกนักเลี้ยงกัน เป็นการให้อาหารที่ค่อนข้างสิ้นเปลืองและทำให้น้ำเสียง่าย
เนื่องจากปริมาณอาหารที่ถ้วยส้มต้องการจะเป็นปริมาณมาก และมากเกินกว่านักเลี้ยงจะให้เป็นอาหารน้ำได้โดยไม่ทำให้น้ำเสีย
ดังนั้น นักเลี้ยงต้องให้อาหารที่เป็นชิ้นใหญ่ ๆ มากกว่าอาหารที่เป็นของเหลว
เศษอาหารที่เหลือจากที่ปลากิน ก็สามารถให้ได้เช่นกัน เพียงแต่ว่า โดยมาก กระแสน้ำที่ไหลเวียนในตู้ มักจะทำให้
เศษอาหารเหล่านี้ตกไปไม่ถึงตัวปะการังถ้วยส้ม หรือ อาจพัดผ่านไปโดยที่ปะการังถ้วยส้มไม่สามารถจับได้ ดังนั้น
หากจะให้ดี ต้องมีการปรับกระแสน้ำที่เหมาะสมด้วย
จากประสบการณ์ จึงทำให้สรุปได้ว่า การเลี้ยงถ้วยส้ม จะต้องป้อนเป็นอาหารชิ้นใหญ่ และควบคุมกระแสน้ำให้มีจังหวะ และทิศทาง
ที่เหมาะสมกับการกินของปะการัง โดยมาก หากจะให้มีการให้อาหารแบบอัตโนมัติ การจัดกระแสน้ำให้เป็นคลื่น มีช่วงหยุด ช่วงไปกลับ
แยกกันเป็นพัก ๆ ประมาณ 5 วินาที จะเหมาะสมสุด แต่หากมีการป้อนอาหารด้วยมือ กระแสน้ำดังกล่าวไม่จำเป็นนัก
นักเลี้ยงเพียงแค่ปิดปั๊มน้ำช่วงให้อาหาร เพื่อให้อาหารส่วนใหญ่ตกบริเวณถ้วยส้ม จนถ้วยส้มกินเสร็จ จึงเปิดปั๊มเพื่อให้กระแสน้ำ
ทำความสะอาดต่อไป
อาหารที่ถ้วยส้มสามารถกินได้ จะเป็นพวกเนื้อสัตว์ ( คาดว่าปะการังถ้วยส้มจะมีตัวรับสารเคมีทางระบบประสาทเพื่อช่วยแยกแยะ
ว่าอาหารชนิดนั้น เป็นเนื้อสัตว์หรือเป็นอย่างอื่น ) ขณะที่พวกเศษตะกอนที่มีแบคทีเรีย และ เศษสาหร่าย จะถูกหนวดปล่อยทิ้งออกไป
ดังนั้น พวกแพลงตอนสัตว์ หรือ พวกเศษชิ้นอาหารจากเนื้อปลา กุ้ง จะถูกถ้วยส้มจับไว้ เราสามารถหาอาหารได้จากหลายรูปแบบ
และอาหารที่ชิ้นไม่ใหญ่เกินไป จะทำให้ถ้วยส้มกินสะดวก รวมทั้งสะดวกแก่การป้อนอาหารด้วย
ชนิดของอาหาร ที่นักเลี้ยงสามารถหาได้นั้น จะเป็นพวก เนื้อกุ้ง เนื้อปลา เนื้อหมู เนื้อไก่ อาหารปลาแบบแผ่น แบบเม็ด หรือพวกไรทะเลก็ได้
อาหารจะมีชีวิตหรือไม่มีก็ได้ แต่ต้องเป็นเนื้อสัตว์ และควรระวังเนื้อสัตว์ชนิดที่มีสารกันเสีย หรือ ยาต่าง ๆ ปนเปื้อนอยู่ เพราะมีผู้เลี้ยงที่ซื้อกุ้ง
จากห้างค้าปลีกต่างชาติมาให้กิน ผลปรากฏว่า ถ้วยส้มราคาแพง ตัวที่กินกุ้ง ตายในวันต่อมา ยาบางชนิดมนุษย์ใช้อาจไม่มีปัญหา แต่เป็นอันตราย
ถึงชีวิตกับปะการังถ้วยส้มตัวน้อย ๆ
ถ้วยส้มที่ได้รับการดูแลอย่างดี มีอาหารให้ จะเติบโตอย่างรวดเร็วและทำการสืบพันธุ์
การสืบพันธุ์ของปะการังถ้วยส้มส่วนมากจะเป็นแบบ
ไม่อาศัยเพศเสียมากกว่า นั่นก็คือ หากสืบพันธุ์แบบขยายขนาดโคโลนี จะทำการแบ่งตัวออกเป็นหน่อข้าง ๆ และหากสืบพันธุ์เพื่อ
สร้างถิ่นฐานในที่ไกล ๆ จะปลดปล่อย ตัวอ่อนโดยไม่ต้องผสมเซลสืบพันธุ์ หรือ Asexual Planulae
ได้อย่างมากมาย
และหากนักเลี้ยงที่สามารถเลี้ยงถ้วยส้มจนชินกับตู้พอสมควร ถ้วยส้มจะทำการสร้างเซลสืบพันธุ์ชนิดที่ใช้เพศออกมา ทำให้เราสามารถพบเห็นการปล่อยน้ำเชื้อและไข่ของปะการังถ้วยส้มในที่เลี้ยงได้ โดยเฉพาะเวลาที่เซลสืบพันธุ์สมบูรณ์เต็มที่
และมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่อยู่
ปะการังอ่อน
หากปะการังคือจุดกำเนิดระบบนิเวศปะการังอ่อนก็คือสิ่งที่ช่วยเติมสีสันและความหลากหลาย ให้โลกสีคราม หลายคนเข้าใจผิดว่าปะการังอ่อน พบเฉพาะที่ลึกเท่านั้น แท้ที่จริงแล้วที่ตื้นเราก็สามารถพบปะการังอ่อนได้ เพียงแต่ปะการังอ่อนในที่ตื้น จะมีสีสันที่ไม่สวยงามบาดตาเหมือนชนิดที่อยู่น้ำลึก เมื่อเราอยากเห็นปะการังอ่อนต้องเข้าใจว่าไม่ใช่ทุกเกาะในเมืองไทยมีปะการังอ่อน ตามปกติ ปะการังอ่อนสีสวยมักจะพบบริเวณน้ำใส และมีกระแสน้ำแรง ประโยชน์ของปะการังอ่อนมีมากมายอย่างที่หลายคนคงคาดไม่ถึง จุดดำน้าของไทยที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก ก็เนื่องมาจากสีสันที่สวยงามของปะการังอ่อน กล่าวได้ว่าปะการังอ่อน เป็นทรัพยากรมีชีวิตที่ทำรายได้มหาศาลให้แก่ประเทศไทย บริษัทท่องเที่ยวกว่าร้อยแห่ง เงินทุนหลายพันล้านบาทเกิดขึ้น เพราะได้เพราะสัตว์เหล่านี้
เมื่อเทียบข้อมูลที่เรามีกับความสำคัญของสัตว์กลุ่มนี้ก็พบว่าข้อมูลที่เรามีนั้นน้อยเกินไป เรามีข้อมูล เฉพาะการแพร่กระจายและความหลากหลาย เป็นบางพื้นที่เท่านั้นจากความพยายามกว่า 5 ปี ประสบการณ์ดำน้ำกว่า 1,000 ไดร์ฟของทีมงาน กับจุดดำน้ำเกือบทุกเกาะในประเทศไทย เราพบว่า ในประเทศไทยมีปะการังอ่อนไม่น้อยกว่า 12 สกุล
ดอกไม้ทะเล (Sea Anemone - ซีแอนนีโมนี)
ในทะเลไทยมีดอกไม้ แต่ดอกไม้ที่ว่าไม่ใช่พืช...แต่เป็นสัตว์ พวกเขาเป็นสัตว์กลุ่มเดียวกับแมงกะพรุน ปะการัง ปะการังอ่อน กัลปังหา ฯลฯ อยู่ในไหล่ Cnidaria (ไน-ดา-เรีย) จุดเด่นของสัตว์กลุ่มนี้มีเยอะ แต่ที่เด่นจริงเด่นจังคือ การแบ่งชั้นของเนื้อเยื่อ และเข็มพิษ สัตว์ทุกตัวในไฟลั่มนี้จะมีเข็มพิษเรียกว่า Nemotocyst (นี-มา-โต-ซิส) ใช้เพื่อป้องกันตัวและหาอาหาร
หากคุณหลับตาและวาดภาพในอากาศว่า เจ้าดอกไม้นี่หน้าตาเหมือนดอกบัวตองที่แม่ฮ่องสอน หรือดอกทานตะวันที่ลพบุรี บอกได้เลยว่าคิดผิด จริงๆแล้วหน้าตาเขาไม่เหมือนดอกไม้ แต่เหมือนอะไรนุ่มๆกลมๆ แปะอยู่กับพื้นท้องทะเล มีหนวดอยู่ด้านบนยุ่บยั่บ แต่ไม่ยาวเหมือนแมงกะพรุน ปลายหนวดเหล่านั้นแหละครับ คือที่อยู่ของเข็มพิษ ที่จะทำงานในระบบสัมผัส เมื่อไปโดนอะไร เข็มพิษของดอกไม้ทะเลจะยิงใส่ทันที ไม่สามารถบังคับได้ ดอกไม้ทะเลจึงมีเมือกหุ้มตัวเองไว้ เมือกนี้จะคอยหยุดยั้งการทำงานของเข็มพิษ ดอกไม้ทะเลเลยไม่ยิงตัวเองจนตายแหงแก๋
ดอกไม้ทะเลกินสัตว์เป็นอาหาร เขาอาศัยหนวดที่มีเข็มพิษอยู่ข้างใน ยิงใส่สัตว์เคราะห์ร้ายที่เข้ามาใกล้ๆ แต่เข็มพิษของดอกไม้ทะเลไม่รุนแรงเหมือน แมงกะพรุนบางชนิด โอกาสที่เขาจะจับปลาใหญ่กินทำได้ยากมาก บอกกันตามตรง ผมยังไม่เคยเห็นดอกไม้ทะเลจับปลาได้สักตัวเดียว ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า เขากินปลาอย่างไร แต่ที่ดอกไม้ทะเลอยู่ได้ เชื่อว่าพลังงานบางส่วนมาจากสาหร่ายเซลล์เดียว ที่อาศัยอยู่ในดอกไม้ทะเล ช่วยสังเคราะห์แสง ให้พลังงานแก่พวกเขา เป็นกระบวนการเหมือนกับที่เกิดในปะการัง นอกจากนี้ ดอกไม้ทะเลยังโตช้า ใช้พลังงานน้อย หากสิ่งแวดล้อมเหมาะสม โอกาสดอกไม้ทะเลตายยากมาก ในโลกนี้มีสัตว์หลายชนิดที่อยู่ร่วมกับดอกไม้ทะเลได้ โดยอาศัยหนวดของดอกไม้ทะเลเป็นเครื่องป้องกันศัตรู พวกเขาวิวัฒนาการมาโดยเฉพาะ เลยขาดเทคนิคเอาตัวรอดแบบอื่น ว่ายน้ำก็ไม่เร็ว สีก็ไม่สวย อาวุธอื่นเพื่อป้องกันตัวก็ไม่มี หากไม่มีดอกไม้ทะเล สัตว์พวกนี้ไม่รอดแน่ แต่ในทางกลับกัน ดอกไม้ทะเลอยู่ได้ แม้ไม่มีสัตว์พวกนี้ ความสัมพันธ์ลักษณะนี้ เราเรียกว่า ความสำพันธ์แบบเกื้อกูล
หลายคนรู้จักปลาการ์ตูน พวกเขาเป็นตัวอย่างที่ดีในการอยู่ร่วมกับดอกไม้ทะเลแบบเกื้อกูล เราจึงไม่พบปลาการ์ตูน อยู่ลำพังโดยปราศจากดอกไม้ทะเล แต่เราพบดอกไม้ทะเลเยอะแยะ ที่ไม่มีปลาการ์ตูนอยู่ โดยเฉพาะแนวปะการังบางแห่ง ที่ปลาการ์ตูนโดนจับไปเลี้ยงหมดแล้ว
บางคนเคยได้ยินเรื่องเล่าทำให้เข้าใจผิด ว่าปลาการ์ตูนจะล่อปลาอื่นให้เข้ามา เพื่อให้ดอกไม้ทะเลจับกิน แต่เรื่องจริงกลับเป็นตรงกันข้าม เพราะปลาการ์ตูนจะไม่ล่อปลาอื่นเข้ามา แต่จะไล่ปลาอื่นออกไปต่างหาก ปลาหลายชนิดมีปากยาว เช่น ปลาผีเสื้อ พวกนี้สามารถสอดปากผ่านหนวดพิษ เข้ามาตอดกินเนื้อเยื่อของดอกไม้ทะเลได้ แม้ดอกไม้ทะเลจะไม่โดนกินจนตาย แต่ก็บาดเจ็บ หากมีปลาการ์ตูนอยู่ด้วย พวกเขาจะไล่ปลาผีเสื้อออกไป เนื่องจากปลาการ์ตูนเป็นปลาที่หวงถิ่น มิใช่เพราะปลาการ์ตูนสำนึกบุญคุณของดอกไม้ทะเล จนต้องช่วยทำงานตอบแทน ในโลกของธรรมชาติ ไม่มีการสำนึกบุญคุณ ทุกอย่างวิวัฒนาการอย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้เก่งสุดอยู่รอด
นอกจากปลาการ์ตูน ยังมีสัตว์อื่นอีกหลายชนิด ที่อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลตลอดเวลา เช่น ปูดอกไม้ทะเล กุ้งดอกไม้ทะเล ฯลฯ แต่คนไทยไม่ค่อยรู้จัก ปัจจุบัน ทีมงาน Sea Papa คณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ กำลังทำการศึกษาเรื่องนี้เพิ่มเติม
สำหรับคุณที่อยากเห็นดอกไม้ทะเล ไม่ต้องเป็นห่วง เพราะสัตว์กลุ่มนี้อาศัยอยู่ได้ตั้งแต่ที่ตื้นแค่เข่า ลงไปจนถึงที่ลึกหลายสิบเมตร ดอกไม้ทะเลทั้งโลกมีมากกว่า 1,000 ชนิด บางชนิดหนวดสั้น บางชนิดหนวดยาว บางชนิดเกาะอยู่บนหินอย่างเดียว บางชนิดอยู่ตามพื้นทราย สับสนวุ่นวายดีมาก โอกาสที่คุณจะได้เห็นดอกไม้ทะเลบางชนิด มีได้ตลอดเวลา แม้คุณดำน้ำไม่เป็น แต่ถ้าไปเดินเที่ยวในแนวปะการังยามน้ำลง ก็มีโอกาสเห็นแล้ว
เท่าที่สำรวจพบ ดอกไม้ทะเลพบมากที่สุดแถวเกาะง่าม (ชุมพร) เกาะง่าม (ตราด) กองหินใต้น้ำหลายแห่ง เช่น ริเชลิว กองชุมพร ฯลฯ ตั้งแต่ดำน้ำมา ผมยังไม่พบแนวปะการังแห่งไหน ที่ไม่มีดอกไม้ทะเลเลยแม้แต่กอเดียว
โอกาสที่คุณจะโดนเข็มพิษของดอกไม้ทะเล มีอยู่น้อยมาก ยกเว้นคุณไปโดนดอกไม้ทะเลก่อน เทคนิคหลีกเลี่ยง ทำได้ง่ายมาก เพียงแค่อย่าไปจับไปกอดดอกไม้ทะเล แค่นี้ก็ปลอดภัยแล้ว แต่ถ้าคุณบังเอิญไปโดน อาจลองใช้น้ำส้มสายชู ราดที่แผลเพื่อล้างพิษ ปฐมพยาบาลในลักษณะเดียวกับแมงกะพรุน
ปะการังและการอนุรักษ์
ปะการัง มีประมาณ 400 ชนิดแบ่งตามลักษณะที่เห็นภายนอกได้ 7 กลุ่มดังนี้
1. ปะการังเขากวาง มีลักษณะคล้ายเขากวาง บริเวณกิ่งมีตุ่ม รอบ ๆ ตุ่มเป็นที่อยู่ของตัวปะการัง
2. ปะการังแผ่น มีลักษณะการขยายตัวออกเป็นแผ่นในแนวราบคล้ายโต๊ะ บางแห่งอาจซ้อนกันเป็นชั้น ๆ
3. ปะการังเคลือบ มีลักษณะการขยายตัวหุ้มฐานพื้นที่ที่ปะการังติดอยู่
4. ปะการังก้อน มีลักษณะเป็นก้อนตันคล้ายก้อนหิน
5. ปะการังกึ่งก้อน มีลักษณะการเติบโตรวมกันเป็นกระจุกค่อนข้างแน่นแต่ไม่ติดเป็นก้อนเดียวกัน
6. ปะการังเห็ด มีลักษณะการเติบโตแผ่ออกคล้ายดอกเห็ด
7. ปะการังกิ่งก้าน มีลักษณะการเติบโตเป็นกิ่งก้านแตกแขนง
การสืบพันธ์
ปะการังการสืบพันธุ์ 2 แบบ ดังนี้
แบบที่ 1 การสืบพันธ์แบบอาศัยเพศ ซึ่งตัวอ่อนที่เกิดจากไข่เมื่อถูกผสมแล้วจะล่องลอยไปในน้ำเพื่อหาที่เกาะในแหล่งใหม่
แบบที่ 2 การสืบพันธ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยวิธีการแตกหน่อขยายออกไปจากตัวเดิมทำให้ก้อนปะการังมีขนาดใหญ่ขึ้น และลงเกาะทับถมกันเป็นเวลานานนับร้อย ๆ ปี เป็นแนวหินปูนใต้น้ำเรียกว่า "แนวปะการัง"
แนวปะการัง เป็นที่อยู่อาศัยหลบภัยและเป็นแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิตนานาชนิด ได้แก่ สาหร่ายเซลล์เดียว หญ้าทะเลฟองน้ำ ปะการัง กัลปังหา ดอกไม้ทะเล หนอนทะเล หอย หมึกทะเล กุ้ง ปู ปลา ฯลฯ แนวปะการังจึงเป็นระบบนิเวศน์ที่มีความสำคัญและมีความสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรสัตว์น้ำอีกระบบหนึ่งของระบบนิเวศชายฝั่งทะเล
สาหร่ายเซลล์เดียวเป็นผู้ช่วยสร้างอาหารและโครงสร้างหินปูนให้แก้ตัวปะการัง โดยกระบวนการทางสังเคราะห์แสง โดยใช้หนวดจับสัตว์เล็ก ๆ
การเจริญเติบโต
ปะการังบางชนิดมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยประมาณ 10 เซนติเมตรต่อปี ส่วนปะการังก้นมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 1-2 เซนติเมตรต่อปี ปะการังจะเติบโตได้ดีในน้ำทะเลที่ใสสะอาด ความเค็มคงที่ มีแสงสว่างส่องถึง ระดับอุณหภูมิที่ 18-32 องศาเซลเซียส หากระบบนิเวศน์เสื่อมโทรม แนวปะการังจะถูกทำลายกว่าจะฟื้นตัวได้ต้องใช้เวลานานหลายสิบปี
ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลยาว 2, 6696 กิโลเมตรอยู่ในพื้นที่ 22 จังหวัดซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับทะเล และมีแนวปะการังตามชายฝั่งเกาะต่าง ๆ ที่มีความงดงามติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก
ประโยชน์ของปะการังมีดังนี้
1. เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำเศรษฐกิจหลายชนิด สัตว์น้ำที่หายากและใกล้สูญพันธุ์
2. เป็นกำแพงป้องกันชายฝั่งพังทลายจากคลื่นลม กระแสน้ำและพายุ
3. เป็นแหล่งท่องเที่ยวและนันทนาการเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจโดยดำน้ำและถ่ายภาพธรรมชาติใต้น้ำ
4. เป็นแหล่งกำเนิดทรายให้ชายหาดโดยการสึกกร่อนของแนวโครงสร้างหินปูน
5. เป็นแหล่งอาหารของมนุษย์ โดยจะมีสัตว์น้ำเศรษฐกิจหลายชนิดมาอาศัยและแพร่ขยายพันธุ์
6. เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าวิจัยด้านระบบนิเวศวิทยาชายฝั่งและด้านการแพทย์ เช่น การสกัดสารทำยาต่อต้านมะเร็ง จุลชีพน้ำยาป้องกันการตกผลึก
ปะการังถูกทำลายและเสื่อมสลายโดยธรรมชาติ และฝีมือมนุษย์
โดยธรรมชาติ
1. พายุ กระแสน้ำ และคลื่นลม
2. สิ่งมีชีวิตอื่น ได้แก่ หอยบางชนิด เพรียง หอยเม่น ปลานกแก้ว ปลานกแก้ว ปลาผีเสื้อ ฯลฯ
3. สัตว์ที่กินปะการัง ได้แก่ ปลาดาวหนาม หรือดาวมงกุฎหนาม หอยสังข์หนาม
โดยมนุษย์ ซึ่งมีผลต่อการทำลายปะการังทันที
1. การจับสัตว์น้ำในแนวปะการังเป็นการจับสัตว์น้ำด้วยวิธีที่ผิดกฎหมายว่าด้วยการประมง อาทิ การใช้ระเบิดสารเคมี ใช้ลอบ ฉมวก ยิงปลา จับกุ้ง หอย และปลา ฯลฯ ทำให้ระบบนิเวศน์บริเวณแนวปะการังขาดสมดุล
2. ผลกระทบจากการท่องเที่ยวอันเนื่องมาจากการเดิน ยืน เก็บ ทิ้ง และถอนสมอเรือ ทำให้ปะการังหักพัง
3. การขุดร่องน้ำ และก่อสร้างอาคารยื่นล้ำชายหาด ทำให้ทรายถูกพัดพาไปทับถมปะการัง
4. การทิ้งของเสีย และสิ่งปฏิกูลในบริเวณแนวปะการังทำให้ระบบนิเวศน์ขาดสมดุล
5. การขุดทำเหมืองแร่และน้ำล้างแร่ ซึ่งมีกากตะกอนมากเกินกว่าการปรับตัวตามธรรมชาติและน้ำขาดออกซิเจนทำให้ปะการังต้องตาย
การอนุรักษ์ปะการัง
ปะการังเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เปราะบาง และต้องใช้เวลายาวนานในการเติบโตที่เรียกว่า แนวปะการัง เป็นโครงสร้างหินปูน (โพลิป) ซึ่งเปรียบเสมือนกำแพงธรรมชาติ บรรเทาคลื่นลมกระแสน้ำ โครงสร้างปะการังถูกกัดกร่อนด้วยกระแสคลื่นพัดเข้าสู่ฝั่งเป็นเม็ดทรายที่ขาวสะอาดให้กับชายหาด ในปริมาณ 1 ตัน/ไร่ 1 ปี นอกจากนี้บริเวณดังกล่าวยังเป็นที่อาศัยของสัตว์ทะเลนานชนิดดังนั้นการอนุรักษ์ปะการัง เพื่อธำรงรักษาสภาพแวดล้อม โดยความร่วมมือร่วมใจของประชาชน ภาครัฐบาล เอกชนและองค์การต่าง ๆ ดังนี้
1. สงวนคุ้มครองแนวปะการังที่ยังไม่ถูกทำลาย โดยประกาศเขตคุ้มครอง
2. ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจให้มีความตระหนักถึงคุณประโยชน์ปะการัง
3. มาตรการการจัดการที่เหมาะสม เช่นการออกกฎหมายเพิ่มโทษแก่ผู้ทำลายปะการัง การจัดฝึกอบรมและสัมมนาการจัดแทรก หลักสูตรการศึกษา
4. การติดตั้งทุ่นผูกเรือ เพื่อมิให้มีการทอดสมอเรือในแนวปะการัง
5. ลดการใช้ประโยชน์แนวปะการังให้น้อยที่สุดเช่น การจับสัตว์น้ำเศรษฐกิจ ปลาสวยงาม การเก็บปะการัง การยืนและเดินบนปะการังของนักดำน้ำ ฯลฯ
6.รักษาสมดุลและระบบนิเวศน์ชายฝั่งทะเลให้เอื้ออำนวยต่อการอาศัยและเติบโตแพร่พันธุ์ของปะการัง
7. สร้างความตระหนักและจิตสำนึกให้เห็นความสำคัญ คุณค่าและคุณประโยชน์ปะการังที่มีต่อมวลมนุษย์ โดยงดการทิ้งของเสียและสิ่งปฏิกูลลงสู่ทะเลโดยตรง
8. กระตุ้นการประสานความร่วมมือของทุกคนทุกฝ่ายอย่างใกล้ชิดเพื่อฟื้นฟูและรักษาแนวปะการัง ให้มีความงดงามตามธรรมชาติ
จะเห็นได้ว่า ปะการังมีคุณประโยชน์แก่มนุษย์พืชและสัตว์ทะเลอย่างมหาศาล ก่อให้เกิดสีสัน ความสวยงามซึ่งธรรมชาติสร้างสรรค์ให้อย่างวิจิตรงดงามเป็นแหล่งที่ให้ความเพลิดเพลิน และเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำทะเลที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจนานาชนิดนับเป็นแหล่งธรรมชาติที่ทุกๆ คนจักต้องตระหนักถึงความสำคัญ และให้ความร่วมมือร่วมใจกันอย่างจริงจัง เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ ให้เป็นชลสมบัติ ที่สามารถให้ผลผลิตที่ยั่งยืนต่อเนื่องตลอดไป
มาตรการอนุรักษ์
กรมประมงได้กำหนดมาตรการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำดังต่อไปนี้
ผู้ฝ่าฝืนทำการประมงปะการัง หรือหินปะการังทุกชนิด ทุกขนาดไม่ว่าวิธีใด ๆ ในทะเล หรืออ่าวในท้องที่จังหวัดชายทะเลทุกจังหวัด มีความผิดต้องโทษปรับตั้งแต่ 5,000-10,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
ผู้ฝ่าฝืนทำการประมงดำน้ำโดยใช้อวนล้อมทุกชนิดทุกขนาด หรือลักษณะคล้ายกัน โดยวางบนพื้นทะเลแล้วดำน้ำ เดินเหยียบย่ำบนแนว ปะการังเพื่อไล่ต้อนปลาเข้าอวน มีความผิดต้องโทษปรับตั้งแต่ 5,000-10,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
ผู้ฝ่าฝืนทำการประมงโดยใช้กระแสไฟฟ้า วัตถุระเบิด สารเคมี ยาเบื่อเมามีความผิดต้องโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน - 5 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท และริบของกลางทั้งสิ้น
ผู้ฝ่าฝืนส่งปะการัง ซากส่วนหนึ่งส่วนใด ผลิตภัณฑ์จากปะการังและปลาสวนงามออกนอกประเทศ มีความผิดต้องโทษปรับเป็นเงิน 5 เท่าของสินค้า จำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำและริบของกลางรวมทั้งสิ่งที่บรรจุและพาหนะใด ๆ ที่ใช้ในการบรรทุกสินค้าซึ่งเกี่ยวเนื่องด้วยความผิด
ผู้ฝ่าฝืนมีหินปะการัง กัลปังหา เต่าทะเล กระและผลิตภัณฑ์ไว้ในครอบครองเพื่อการค้า มีความผิดต้องโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำ
ผู้ฝ่าฝืนทำการประมงใจเขตรักษาพืชพันธ์ มีความผิดต้องโทษปรับ 10,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ
เทคนิคการเลี้ยงปลาทะเลสวยงาม
ปลาทะเลนอกจากจะบริโภคได้แล้ว บางคนยังนำปลาทะเลบางชนิดมาเลี้ยงในตู้กระจกได้อีกด้วย เพราะปลาทะเลส่วนมากจะมีสีสันสดใสสวยงาม รูปร่างลักษณะตลอดจนการดำรงชีวิต น่าสนใจ ปลาทะเลที่นิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ส่วนใหญ่จะเป็นปลาตัวเล็ก รูปร่างและสีสันแปลกๆ ที่อาศัยอยู่ในเขตชายฝั่งบริเวณแนวปะการัง แต่อย่างไรก็ตามการเลี้ยงปลาทะเลในตู้กระจก โอกาสรอดชีวิตมีน้อย ด้วยเหตุผลหลายประการเช่น ปลาที่จับมามีสุขภาพไม่แข็งแรง คุณภาพน้ำไม่เหมาะสม และประการสำคัญคือ เรายังไม่สามารถที่จะสร้างสภาพแวดล้อมภายในตู้ปลาให้เหมือนกับในทะเลได้ แต่ถ้ามีความจำเป็นที่จะต้องเลี้ยงปลาทะเลในตู้ สิ่งที่ต้องทำให้ดีคือ รักษาสภาพภายในตู้ให้เหมาะสม และสิ่งที่ควรคำนึงถึงมีดังนี้ การเลือกซื้อปลา
ปลาทะเลสวยงามมีหลายชนิด เช่น ชนิดที่มีสีอ่อน หรือสีฉูดฉาด ตัวเล็กชอบว่ายกันเป็นฝูง หรือตัวโตที่ชอบอยู่เดี่ยวๆ ซึ่งชนิดของปลาที่จะเลี้ยงขึ้นอยู่กับความชอบของบุคคล แต่สำหรับผู้เริ่มเลี้ยงควรเลือกเลี้ยงปลาที่เลี้ยงง่าย ตายยาก ราคาไม่แพงและควรเลือกปลาขนาดกลาง หรือตัวเล็กซึ่งจะบอบช้ำระหว่างการเดินทางน้อยกว่าปลาตัวใหญ่ ทั้งในเรื่องอาหารและการทำความสะอาดตู้ ต่อมาเมื่อมีประสบการณ์และความพร้อมในด้านสถานที่ เงินทุน หรือความพร้อมในด้านอื่นๆที่สำคัญแล้ว จึงค่อยเปลี่ยนมาเลี้ยงปลาที่มีขนาดใหญ่ หรือปลาที่เลี้ยงยากต่อไป และเมื่อเลือกชนิดของปลาได้แล้วในการเลือกซื้อปลาที่ร้านขายปลา ควรซื้อจากร้านที่การคัดเลือกปลาคุณภาพดี มีการดูแลรักษาคุณภาพปลา เลือกจากร้านที่ยินดีให้ความรู้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องการเลี้ยงปลาได้อย่างปลอดภัย เลือกซื้อจากร้านที่เต็มใจให้บริการช่วยแก้ปัญหาในการเลี้ยง และควรเลือกซื้อปลาที่ราคาสมเหตุสมผลคุ้มกับคุณภาพ คำแนะนำ และบริการต่างๆ
ตู้ปลา ที่นิยมใช้เลี้ยงปลาในปัจจุบันเป็นตู้ปลาที่ประกอบด้วยกระจกล้วนชนิดที่ไม่ใช้กรอบโดยใช้ซิลิโคนเชื่อมต่อ ตู้ปลาประเภทนี้มีความโปร่งใสสวยงาม และมีความแข็งแรงดี ตู้ปลาที่เป็นกรอบโลหะไม่เป็นที่นิยมและไม่ควรใช้ เนื่องจากกรอบโลหะเกิดสนิมจากน้ำทะเลได้ง่าย อายุการใช้งานไม่นานและไม่สวยงาม ตู้ปลาที่จะใช้เลี้ยงปลาทะเลไม่ควรมีขนาดเล็ก ควรมีขนาดใหญ่ปริมาณของน้ำยิ่งมากเท่าใดยิ่งดีลักษณะตู้กระจกที่ใช้เลี้ยงปลานั้นสำหรับมือใหม่ควรเลือกใช้ขนาด 50-75 แกลลอน เพราะหากตู้เล็กกว่านี้การควบคุมคุณภาพน้ำจะทำได้ยากเมื่อมีสารพิษเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยก็สามารถทำให้ปลาตายได้ และตู้ปลาที่ดีควรมีฝาปิดเพื่อป้องกันปลากระโดดออกจากตู้
ตู้ปลา ที่นิยมใช้เลี้ยงปลาในปัจจุบันเป็นตู้ปลาที่ประกอบด้วยกระจกล้วนชนิดที่ไม่ใช้กรอบโดยใช้ซิลิโคนเชื่อมต่อ ตู้ปลาประเภทนี้มีความโปร่งใสสวยงาม และมีความแข็งแรงดี ตู้ปลาที่เป็นกรอบโลหะไม่เป็นที่นิยมและไม่ควรใช้ เนื่องจากกรอบโลหะเกิดสนิมจากน้ำทะเลได้ง่าย อายุการใช้งานไม่นานและไม่สวยงาม ตู้ปลาที่จะใช้เลี้ยงปลาทะเลไม่ควรมีขนาดเล็ก ควรมีขนาดใหญ่ปริมาณของน้ำยิ่งมากเท่าใดยิ่งดีลักษณะตู้กระจกที่ใช้เลี้ยงปลานั้นสำหรับมือใหม่ควรเลือกใช้ขนาด 50-
รูปแบบของการจัดตู้ปลา
การจัดตู้ปลาทะเลที่นิยมกันในปัจจุบัน มี 2 แบบคือ
- ตู้ปลาธรรมดา เป็นตู้ปลาที่ตกแต่งด้วยวัสดุธรรมดาส่วนมากจะไม่มีชีวิต เช่น ซากปะการัง เศษหิน ดิน ทราย เปลือกหอยและจะมีสิ่งมีชีวิตอยู่ชนิดเดียวคือปลา ตู้ปลาชนิดนี้การดูแลรักษาจะง่าย โอกาสการเกิดโรคจะน้อยตู้ปะการัง และเป็นตู้ปลาที่มีความสวยงามธรรมดา ต้นทุนการจัดตู้ปลาไม่สูงมากนัก
- ตู้ปะการัง จะมีสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นอาศัยอยู่ด้วย เช่น ปะการังที่ยังมีชีวิต ก้อนหินที่มีสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นอาศัยอยู่ หรือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นได้แก่ กุ้ง หอย ปู ปลาดาว ฟองน้ำ เพรียง เป็นต้น ตู้ปลาชนิดนี้เหมาะสำหรับบุคคลที่มีทุนทรัพย์ และชอบความตื่นเต้น แปลกใหม่ชอบความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพราะตู้ชนิดนี้จะมีสิ่งมีชีวิตหลายชนิดจึงทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่ตู้ปลาชนิดนี้จะเกิดโรคและสิ่งรบกวนได้ง่ายและต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูงต้องการความดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด
น้ำและคุณภาพน้ำ การเลี้ยงปลาทะเลจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้น้ำเค็ม โดยเฉพาะน้ำทะเลจากธรรมชาติจะดีที่สุด แต่หากไม่สามารถหาน้ำทะเลจากธรรมชาติได้ก็จำเป็นต้องสร้างน้ำทะเลเองโดยการเติมเกลือทะเลลงในน้ำเปล่าหรือถ้าจะให้ดีควรใช้น้ำกลั่นเพราะน้ำประปาจะมีปริมาณฟอฟเฟตสูงเกินไปซึ่งจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชน้ำได้แล้วจากนั้นคนให้เกลือละลาย ซึ่งเกลือชนิดนี้สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายสัตว์น้ำทั่วไปหรือสวนจตุจักร ในกรณีที่สามารถหาน้ำทะเลธรรมชาติได้ ควรเป็นน้ำทะเลที่ใสสะอาด ปราศจากสารเคมีและสารพิษต่างๆ ก่อนนำมาใช้ต้องกรองด้วยวัสดุต่างๆ เช่น กรวด ทรายหยาบ ทรายละเอียด แล้วกรองด้วยถุงกรองที่มีความละเอียดของตาอวนอยู่ในช่วง 10-20 ไมครอน ส่วนความเค็มของน้ำทะเลที่ใช้เลี้ยงปลาทะเลโดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 30-35 พีพีที ( ส่วนในพัน ) อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับชนิดของปลาด้วย หากปลาอาศัยอยู่บริเวณปากแม่น้ำความเค็มอาจต่ำกว่านี้ก็ได้ ส่วนระดับอุณหภูมิที่เหมาะสมนั้นควรอยู่ในช่วง 24-28 องศาเซลเซียส และระดับความเป็นกรดเป็นด่าง(pH) ของน้ำทะเลควรอยู่ระหว่าง 7.8-8.2 และสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการเลี้ยงปลาทะเลในตู้กระจกคือปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำซึ่งปริมาณที่เหมาะสมไม่ควรน้อยกว่า 5 พีพีเอ็ม
ขาตั้ง สำหรับรองรับตู้ปลา ซึ่งจำเป็นจะต้องคำนึงถึงน้ำหนักของตู้ปลา น้ำ ทราย และหินประดับเป็นสำคัญตู้ปลาแต่ละขนาดเราสามารถคำนวณน้ำหนักโดยประมาณได้โดยเอา ความกว้าง ด ความยาว ด ความสูงของตู้ปลา หารด้วย 1,000 ใช้หน่วยวัดเป็นเซนติเมตร จะได้เท่าน้ำหนักของตู้ปลานั้นเป็นกิโลกรัม ขาตั้งควรประกอบด้วยวัสดุที่แข็งแรงทนทาน และถ้าประกอบด้วยโลหะก็ควรจะทาสีกันสนิมอย่างดีด้วย ขาตั้งนอกจากจะแข็งแรงทนทานแล้วควรต้องสวยงามด้วย เพื่อให้ตู้ปลาดูมีค่า
การจัดตู้ปลาทะเลที่นิยมกันในปัจจุบัน มี 2 แบบคือ
- ตู้ปลาธรรมดา เป็นตู้ปลาที่ตกแต่งด้วยวัสดุธรรมดาส่วนมากจะไม่มีชีวิต เช่น ซากปะการัง เศษหิน ดิน ทราย เปลือกหอยและจะมีสิ่งมีชีวิตอยู่ชนิดเดียวคือปลา ตู้ปลาชนิดนี้การดูแลรักษาจะง่าย โอกาสการเกิดโรคจะน้อยตู้ปะการัง และเป็นตู้ปลาที่มีความสวยงามธรรมดา ต้นทุนการจัดตู้ปลาไม่สูงมากนัก
- ตู้ปะการัง จะมีสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นอาศัยอยู่ด้วย เช่น ปะการังที่ยังมีชีวิต ก้อนหินที่มีสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นอาศัยอยู่ หรือสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นได้แก่ กุ้ง หอย ปู ปลาดาว ฟองน้ำ เพรียง เป็นต้น ตู้ปลาชนิดนี้เหมาะสำหรับบุคคลที่มีทุนทรัพย์ และชอบความตื่นเต้น แปลกใหม่ชอบความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เพราะตู้ชนิดนี้จะมีสิ่งมีชีวิตหลายชนิดจึงทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่ตู้ปลาชนิดนี้จะเกิดโรคและสิ่งรบกวนได้ง่ายและต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูงต้องการความดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด
น้ำและคุณภาพน้ำ การเลี้ยงปลาทะเลจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้น้ำเค็ม โดยเฉพาะน้ำทะเลจากธรรมชาติจะดีที่สุด แต่หากไม่สามารถหาน้ำทะเลจากธรรมชาติได้ก็จำเป็นต้องสร้างน้ำทะเลเองโดยการเติมเกลือทะเลลงในน้ำเปล่าหรือถ้าจะให้ดีควรใช้น้ำกลั่นเพราะน้ำประปาจะมีปริมาณฟอฟเฟตสูงเกินไปซึ่งจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชน้ำได้แล้วจากนั้นคนให้เกลือละลาย ซึ่งเกลือชนิดนี้สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายสัตว์น้ำทั่วไปหรือสวนจตุจักร ในกรณีที่สามารถหาน้ำทะเลธรรมชาติได้ ควรเป็นน้ำทะเลที่ใสสะอาด ปราศจากสารเคมีและสารพิษต่างๆ ก่อนนำมาใช้ต้องกรองด้วยวัสดุต่างๆ เช่น กรวด ทรายหยาบ ทรายละเอียด แล้วกรองด้วยถุงกรองที่มีความละเอียดของตาอวนอยู่ในช่วง 10-20 ไมครอน ส่วนความเค็มของน้ำทะเลที่ใช้เลี้ยงปลาทะเลโดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 30-35 พีพีที ( ส่วนในพัน ) อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับชนิดของปลาด้วย หากปลาอาศัยอยู่บริเวณปากแม่น้ำความเค็มอาจต่ำกว่านี้ก็ได้ ส่วนระดับอุณหภูมิที่เหมาะสมนั้นควรอยู่ในช่วง 24-
ขาตั้ง สำหรับรองรับตู้ปลา ซึ่งจำเป็นจะต้องคำนึงถึงน้ำหนักของตู้ปลา น้ำ ทราย และหินประดับเป็นสำคัญตู้ปลาแต่ละขนาดเราสามารถคำนวณน้ำหนักโดยประมาณได้โดยเอา ความกว้าง ด ความยาว ด ความสูงของตู้ปลา หารด้วย 1,000 ใช้หน่วยวัดเป็นเซนติเมตร จะได้เท่าน้ำหนักของตู้ปลานั้นเป็นกิโลกรัม ขาตั้งควรประกอบด้วยวัสดุที่แข็งแรงทนทาน และถ้าประกอบด้วยโลหะก็ควรจะทาสีกันสนิมอย่างดีด้วย ขาตั้งนอกจากจะแข็งแรงทนทานแล้วควรต้องสวยงามด้วย เพื่อให้ตู้ปลาดูมีค่า
ระบบกรองน้ำ ระบบกรองน้ำสำหรับตู้ปลาเท่าที่ทราบมีมานานกว่า 50 ปีแล้วในอดีตกรองน้ำตู้ปลาที่รู้จักกันมากที่สุดคือ กล่องกรอง ที่ทำด้วยพลาสติกใสทั้งใบ มีตะแกรง และท่อภายในประกอบด้วยท่อลมเข้าและท่อลมออก ซึ่งท่อลมออกเป็นท่อที่ใหญ่กว่าท่อลมเข้า ซึ่งมีขนาดเท่ากับสายลมส่วนท่อลมออกจะมีขนาดใหญ่กว่ากล่องกรองที่ฝรั่งเรียกว่า " อคัวเรี่ยมฟิวเตอร์ " ชนิดนี้ คือการดันน้ำออกจากกล่องกรองด้วยแรงลมที่ฟองอากาศจะไหลดันนำเอาน้ำขึ้นจากท่อ ที่เชื่อมติดกับตะแกรงอยู่ด้านหลังสุดของตัวกล่องกรอง และส่วนบนของตะแกรงที่เชื่อมติดกับท่อดำน้ำนี้จะใส่ใยแก้ว และกรวดหยาบ เพื่อเป็นวัสดุจับตะกอน ในน้ำที่เคลื่อนผ่านระบบกรอง ทำให้น้ำที่ถูกดันผ่านทางท่อเป็นน้ำที่ได้รับการบำบัดด้วยการกรองผ่านวัสดุดังกล่าว วัสดุกรองนี้จะเป็นที่เกาะของจุลินทรีย์บางชนิด ซึ่งจะมีมากขึ้นเป็นทวีคูณ ส่วนใหญ่จะเป็นจุลินทรีย์ที่สามารถย่อยสลายตะกอนและมูลสัตว์น้ำ ที่ถูกดึงเข้ามาสู่ระบบกรองดังกล่าว ทำให้น้ำที่ผ่านกระบวนการกรองได้รับการบำบัดให้เป็นน้ำที่ดีขึ้นอีกระดับหนึ่ง และบางยี่ห้อยังได้มีการนำกระบอกขนาดเล็กบรรจุถ่านคาร์บอนใส่ไว้ปลายท่อดันน้ำออก โดยอ้างว่าช่วยกำจัดแอมโมเนีย ซึ่งในความเป็นจริงคงไม่ได้ผลเท่าไรนักเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณน้ำในตู้ปลา ในเวลาต่อมาจึงได้มีการทำกรองน้ำตู้ปลาที่มีรูปร่างเป็นกล่องรูปยาวด้านตั้งเป็นรูปเข้ามุมตู้ปลาเรียกว่า"คอนเน่อร์ฟิวเตอร์" ซึ่งเป็นระบบที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น แต่มีข้อเสียคือส่วนประกอบด้านล่างและด้าบบนจะหลุดง่ายทำให้ระบบการทำงานบกพร่อง
ปัจจุบันระบบกรองน้ำที่ได้รับความนิยมมีอยู่ 2 แบบคือ
- ระบบกรองน้ำภายในตู้ปลา เป็นระบบที่ต้องใช้เป็นหลัก เพราะมีผลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของน้ำบางประการภายในตู้ ระบบกรองน้ำภายในตู้ที่ใช้จะเป็นแบบระบบกรองน้ำใต้ทราย ( SUB SAND FILTER ) ระบบกรองน้ำนี้มีขายเป็นชุดใช้ใส่อยู่กับพื้นตู้ปลาโดยมีทรายปะการัง ซึ่งเป็นทั้งตัวกรองสิ่งสกปรกและใช้ตกแต่งตู้ปลาอยู่ด้านบนกรวดทราย นอกจากจะเป็นตัวกรองสิ่งสกปรกต่างๆแล้วยังเป็นที่อยู่อาศัยของแบคทีเรีย ซึ่งช่วยเปลี่ยนรูปของเสียจากการขับถ่ายของปลา เศษอาหารเหลือและซากเน่าเปื่อยของสิ่งมีชีวิตที่เป็นแอมโมเนียซึ่งเป็นพิษให้เป็นไนไตรท์ และเป็นไนเตรทที่ไม่เป็นพิษในที่สุด
- วิธีการติดตั้งแผ่นกรองน้ำใต้ผืนทราย หลังจากทำความสะอาดตู้เรียบร้อยดีแล้วให้วางแผ่นกรองลงบนพื้นตู้ต่อท่อลมเข้ากับแผ่นกรองทรายที่ใช้ควรเป็นทรายปะการังหนาประมาณ 7.5-10 เซนติเมตรระวังอย่าให้ทรายเข้าไปใต้แผ่นกรอง จะทำให้ระบบกรองทำงานไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร
ระบบกรองน้ำภายนอกตู้ เป็นระบบที่ช่วยป้องกันและควบคุมปริมาณของเสียในตู้ให้ดียิ่งขึ้นโดยเฉพาะในกรณีที่มีการเลี้ยงปลากันอย่างหนาแน่น ระบบกรองน้ำภายนอกตู้มีหลายแบบด้วยกันที่จะกล่าวในที่นี้ได้แก่ หม้อกรองพร้อมปั๊มชนิดติดตั้งนอกตู้มีระบบการทำงานคือ ปั๊มน้ำจะสูบน้ำจากตู้ปลาโดยผ่านชั้นกรองซึ่งประกอบด้วยถ่านและใยแก้ว เพื่อกรองเอาสิ่งสกปรกต่างๆสีและกลิ่นออก ส่วนที่สะอาดกลับเข้าตู้อย่างเดิม การไหลกลับของน้ำจากระบบกรองภายนอกตู้นี้จะมีความแรงทำให้มีการไหลเวียนของน้ำภายในตู้ปลา ทั้งยังเป็นการเพิ่มออกซิเจนอีกด้วย ซึ่งทำให้ปลาและสิ่งมีชีวิตอื่นๆเช่น ปะการัง ดอกไม้ทะเล อื่นๆมีความสดชื่นยิ่งขึ้น
- วิธีการติดตั้งหม้อกรองพร้อมปั๊มชนิดติดตั้งนอกตู้ ก่อนอื่นให้ศึกษาจากข้อมูลการใช้ที่ให้มากับเครื่องยี่ห้อนั้นเสียก่อน ควรเช็คอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างๆให้ครบถ้วนแล้วให้นำถ่านกรองที่ติดมากับถังกรองไปล้างด้วยน้ำสะอาดจนผงถ่านออกหมดแล้วผึ่งไว้ให้สะเด็ดน้ำ แล้วนำมาใส่ลงในถังกรองที่มีตะแกรงวางคว่ำอยู่ก่อนแล้วใส่ใยแก้วทับลงบนถุงถ่าน จากนั้นก็จะมีตะแกรงวางหงายอยู่ข้างบนอีกอันหนึ่งก่อนจะปิดฝาตัวถังกรองนั้น ตอนที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการปิดฝาถังกรองน้ำจะมียางกั้นอยู่วงหนึ่งเรียกว่า " โอริง " ให้นำโอริงชุบน้ำให้เปียกแล้วสวมเข้ากับฝา หรือตัวถังตามตำแหน่งของฝารุ่นนั้นๆอัดลงบนตัวหม้อกรองให้แน่น กดตัวล๊อกเข้าให้ดี ต่อสายยางเข้าท่อดูด เข้ากับตัวหม้อกรองให้หัวดูดมีตัวครอบกันปลาเข้าไปในหม้อกรองและอยู่ในระดับที่เหนือผิวทรายในตู้ปลาเล็กน้อย หลังจากนั้นให้ต่อท่อสายยางส่งเข้ากับปั๊มน้ำ ใช้ปากดูดให้น้ำไหลเข้าถังกรองหรืออาจใช้วิธีใช้น้ำกรอกเข้าถังกรองจนเต็ม จัดปลายท่อส่งน้ำจากปั๊มเข้ากับท่อหรือหัวพ่นน้ำลงในตู้ปลา ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมแล้วจึงเสียบปลั๊กเดินเครื่องกรอง หม้อกรองน้ำนอกตู้นี้ควรติดตั้งให้อยู่ต่ำกว่าระดับผิวน้ำเพียงเล็กน้อย ไม่ควรอยู่สูงกว่าระดับผิวน้ำเพราะเมื่อสวิตซ์ไฟฟ้าดับน้ำจะไหลออกจากหม้อกรองทำให้ปั๊มไม่สามารถดูดน้ำได้เมื่อไฟฟ้าติด และไม่ควรอยู่ต่ำกว่าระดับผิวน้ำมากเกินไป เพราะจะทำให้ปั๊มต้องทำงานหนักเสียกำลังส่งที่ต้องยกน้ำขึ้นที่สูง ทำให้ปริมาณไหลเวียนของน้ำลดน้อยลงหรือหม้อกรองที่กำลังน้อยอาจไม่สามารถทำงานได้
เครื่องให้ออกซิเจน
เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ปลาสะดวกต่อการหายใจ เพราะเครื่องจะทำให้น้ำภายในตู้ปลามีออกซิเจนเพียงพอต่อความต้องการของปลา โดยเครื่องจะดูดออกซิเจนภายนอกเข้าไปในน้ำซึ่งอยู่ภายในตู้ ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว แล้วออกซิเจนในอากาศจะละลายกับน้ำ
กรวดและทราย กรวดและทราย มีไว้เพื่อเป็นชั้นกรองน้ำภายในตู้และตกแต่งตู้ปลา กรวดที่นิยมและมีประสิทธิภาพดีคือกรวดปะการังซึ่งเป็นเศษปะการังหักที่มีเม็ดขนาดเล็กที่ร่อนให้มีขนาดใกล้เคียงกัน กรวดปะการังมีคุณสมบัติที่ช่วยควบคุมความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำในตู้ปลาไม่ให้เปลี่ยนแปลงไปมาก และมีลักษณะเป็นรูพรุนขนาดเล็กจำนวนมาก ช่วยเก็บกักตะกอนได้ดีกว่ากรวดประเภทอื่น นอกจากหินปะการังแล้วสมัยนี้ผู้เลี้ยงมักนิยมกรวด หิน ทราย หรือขอนไม้ที่มีสีสัน ลวดลายสวยงาม ซึ่งมักจะมีสีหรือสารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้องฉะนั้นก่อนที่จะนำมาใส่ในตู้ปลาควรล้างให้สะอาดที่สุดจนกว่าไม่มีกลิ่นสารเคมีหรือสีต่าง ๆ
พืชพันธุ์ไม้น้ำ
พืชพันธุ์ไม้น้ำมีทั้งพลาสติกและพืชธรรมชาติ ซึ่งพันธุ์ไม้พลาสติกในปัจจุบันมีการเลียนแบบได้เหมือนของจริงและสะดวกไม่ต้องยุ่งยากในการดูแลรวมทั้งไม่ต้องเปลี่ยนเหมือนพันธุ์ไม้น้ำธรรมชาติซึ่งเดี๋ยวนี้มีการเพาะพันธุ์ขายกันอย่างแพร่หลายและหลายพันธุ์ชนิด พันธุ์ไม้ธรรมชาตินี้มีส่วนดีคือช่วยเพิ่มออกซิเจนให้กับปลาทำให้ระบบนิเวศน์ในตู้ปลาได้สมดุล แต่ในตู้ปลาควรติดหลอดไฟแสงอาทิตย์เทียมเพื่อให้ต้นไม้ได้สังเคราะห์แสงแล้วผลิตออกซิเจนให้แก่ปลาและช่วยให้ปลามีสีสันสวยงามตามธรรมชาติ
โคมไฟ
โคมไฟมีไว้เพื่อให้แสงสว่างแก่ตู้ปลาและเป็นส่วนประกอบที่สวยงามของตู้ปลา นอกจากนี้แสงสว่างยังเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของปลาด้วย หลอดไฟที่นิยมใช้โดยปกติจะใช้หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ ขนาด 20 วัตต์ ต่อน้ำ40 ลิตร ที่ความลึกของน้ำไม่เกิน 18 นิ้ว หลอด ฟลูออเรสเซนต์ที่ให้แสงสว่างในตู้ปลาได้แก่ หลอด Day light , Grolux , Actinic หรืออาจเป็นหลอดที่ออกแบบสำหรับตู้ปลาโดยเฉพาะนอกจากนี้ยังมีหลอดไฟชนิดส่องแบบโคมไฟ ซึ่งมีความสว่างมากและมีราคาเเพง เช่นหลอดMetel halide , Mercury Vapour มีข้อดีคือให้แสงสว่างมากและใกล้เคียงกับธรรมชาติแต่ที่นิยมใช้ส่วนใหญ่จะเป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่มีชื่อว่า Grolux ซึ่งเป็นหลอดนีออนแดดเทียมที่ให้แสงออกมาเป็นสีชมพูอ่อน หลอดไฟชนิดนี้จะให้บรรยากาศที่เหมาะสมมาก ช่วยเน้นสีของปลาและสิ่งมีชีวิตอื่นให้ดูเป็นธรรมชาติมากขึ้นและยังมีประโยชน์ต่อการสังเคราะห์แสงของปลาอีกด้วย แต่โคมไฟที่ใช้กับตู้ปลาควรมีแผงกันไอน้ำด้วยจึงจะเหมาะสมและปลอดภัย ควรเปิดไฟสำหรับตู้ปลาเพื่อให้ปลาออกหาอาหารอย่างน้อยวันละ 8-12 ชั่วโมงและควรปิดให้ปลาพักผ่อนอย่างน้อย 8-12 ชั่วโมง และถ้าในตู้เลี้ยงดอกไม้ทะเลควรเพิ่มแสงสว่างให้มากกว่าปกติเพราะแพลงค์ตอนพืชที่อาศัยอยู่ในดอกไม้ทะเลต้องการแสงสว่างเพื่อสังเคราะห์อาหารและดอกไม้ทะเลจะได้กินแพลงค์ตอนพืชเป็นอาหาร
การดูแลและการให้อาหาร ปลาที่เพิ่งย้ายที่อยู่ ต้องการเวลาปรับตัวเพื่อให้เข้ากับที่อยู่ใหม่ ในช่วงแรกปลาจะยังไม่กินอาหารหรือถึงแม้ว่าปลาจะกินอาหารแต่อาหารจะยังไม่ย่อย ดังนั้นผู้เลี้ยงควรงดอาหารในวันแรก วันต่อมาจึงค่อยเริ่มให้ทีละน้อยแล้วค่อยๆเพิ่มขึ้นในแต่ละวันโดยสังเกตดูว่าปริมาณแค่ไหนที่ปลากินหมดใน 2-3 นาที หากมีอาหารเหลือตกค้างควรตักทิ้งเพราะจะทำให้น้ำเน่าเสีย ปกตินิยมให้อาหารวันละ 2 เวลา คือเช้า-เย็น อาหารที่ให้ควรย่อยง่าย มีคุณค่าครบถ้วนและไม่ทำให้น้ำเน่าเสีย
- อาหารสดปลาจะชอบกิน แต่ต้องระวังน้ำเน่าเสีย และเป็นพาหะนำโรคมาสู่ปลา
- อาหารสำเร็จรูปมีหลายแบบ หลายคุณภาพ หลายราคา ควรเลือกใช้ชนิดที่เหมาะสมกับปลาแต่ละประเภท ให้อาหารสดสลับกับอาหารสำเร็จรูปจะช่วยให้ปลาได้รับอาหารที่ย่อยง่ายและมีคุณค่าทางอาหารสูงควบคู่กันไป
ปัจจุบันระบบกรองน้ำที่ได้รับความนิยมมีอยู่ 2 แบบคือ
- ระบบกรองน้ำภายในตู้ปลา เป็นระบบที่ต้องใช้เป็นหลัก เพราะมีผลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของน้ำบางประการภายในตู้ ระบบกรองน้ำภายในตู้ที่ใช้จะเป็นแบบระบบกรองน้ำใต้ทราย ( SUB SAND FILTER ) ระบบกรองน้ำนี้มีขายเป็นชุดใช้ใส่อยู่กับพื้นตู้ปลาโดยมีทรายปะการัง ซึ่งเป็นทั้งตัวกรองสิ่งสกปรกและใช้ตกแต่งตู้ปลาอยู่ด้านบนกรวดทราย นอกจากจะเป็นตัวกรองสิ่งสกปรกต่างๆแล้วยังเป็นที่อยู่อาศัยของแบคทีเรีย ซึ่งช่วยเปลี่ยนรูปของเสียจากการขับถ่ายของปลา เศษอาหารเหลือและซากเน่าเปื่อยของสิ่งมีชีวิตที่เป็นแอมโมเนียซึ่งเป็นพิษให้เป็นไนไตรท์ และเป็นไนเตรทที่ไม่เป็นพิษในที่สุด
- วิธีการติดตั้งแผ่นกรองน้ำใต้ผืนทราย หลังจากทำความสะอาดตู้เรียบร้อยดีแล้วให้วางแผ่นกรองลงบนพื้นตู้ต่อท่อลมเข้ากับแผ่นกรองทรายที่ใช้ควรเป็นทรายปะการังหนาประมาณ 7.5-10 เซนติเมตรระวังอย่าให้ทรายเข้าไปใต้แผ่นกรอง จะทำให้ระบบกรองทำงานไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร
ระบบกรองน้ำภายนอกตู้ เป็นระบบที่ช่วยป้องกันและควบคุมปริมาณของเสียในตู้ให้ดียิ่งขึ้นโดยเฉพาะในกรณีที่มีการเลี้ยงปลากันอย่างหนาแน่น ระบบกรองน้ำภายนอกตู้มีหลายแบบด้วยกันที่จะกล่าวในที่นี้ได้แก่ หม้อกรองพร้อมปั๊มชนิดติดตั้งนอกตู้มีระบบการทำงานคือ ปั๊มน้ำจะสูบน้ำจากตู้ปลาโดยผ่านชั้นกรองซึ่งประกอบด้วยถ่านและใยแก้ว เพื่อกรองเอาสิ่งสกปรกต่างๆสีและกลิ่นออก ส่วนที่สะอาดกลับเข้าตู้อย่างเดิม การไหลกลับของน้ำจากระบบกรองภายนอกตู้นี้จะมีความแรงทำให้มีการไหลเวียนของน้ำภายในตู้ปลา ทั้งยังเป็นการเพิ่มออกซิเจนอีกด้วย ซึ่งทำให้ปลาและสิ่งมีชีวิตอื่นๆเช่น ปะการัง ดอกไม้ทะเล อื่นๆมีความสดชื่นยิ่งขึ้น
- วิธีการติดตั้งหม้อกรองพร้อมปั๊มชนิดติดตั้งนอกตู้ ก่อนอื่นให้ศึกษาจากข้อมูลการใช้ที่ให้มากับเครื่องยี่ห้อนั้นเสียก่อน ควรเช็คอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างๆให้ครบถ้วนแล้วให้นำถ่านกรองที่ติดมากับถังกรองไปล้างด้วยน้ำสะอาดจนผงถ่านออกหมดแล้วผึ่งไว้ให้สะเด็ดน้ำ แล้วนำมาใส่ลงในถังกรองที่มีตะแกรงวางคว่ำอยู่ก่อนแล้วใส่ใยแก้วทับลงบนถุงถ่าน จากนั้นก็จะมีตะแกรงวางหงายอยู่ข้างบนอีกอันหนึ่งก่อนจะปิดฝาตัวถังกรองนั้น ตอนที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการปิดฝาถังกรองน้ำจะมียางกั้นอยู่วงหนึ่งเรียกว่า " โอริง " ให้นำโอริงชุบน้ำให้เปียกแล้วสวมเข้ากับฝา หรือตัวถังตามตำแหน่งของฝารุ่นนั้นๆอัดลงบนตัวหม้อกรองให้แน่น กดตัวล๊อกเข้าให้ดี ต่อสายยางเข้าท่อดูด เข้ากับตัวหม้อกรองให้หัวดูดมีตัวครอบกันปลาเข้าไปในหม้อกรองและอยู่ในระดับที่เหนือผิวทรายในตู้ปลาเล็กน้อย หลังจากนั้นให้ต่อท่อสายยางส่งเข้ากับปั๊มน้ำ ใช้ปากดูดให้น้ำไหลเข้าถังกรองหรืออาจใช้วิธีใช้น้ำกรอกเข้าถังกรองจนเต็ม จัดปลายท่อส่งน้ำจากปั๊มเข้ากับท่อหรือหัวพ่นน้ำลงในตู้ปลา ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมแล้วจึงเสียบปลั๊กเดินเครื่องกรอง หม้อกรองน้ำนอกตู้นี้ควรติดตั้งให้อยู่ต่ำกว่าระดับผิวน้ำเพียงเล็กน้อย ไม่ควรอยู่สูงกว่าระดับผิวน้ำเพราะเมื่อสวิตซ์ไฟฟ้าดับน้ำจะไหลออกจากหม้อกรองทำให้ปั๊มไม่สามารถดูดน้ำได้เมื่อไฟฟ้าติด และไม่ควรอยู่ต่ำกว่าระดับผิวน้ำมากเกินไป เพราะจะทำให้ปั๊มต้องทำงานหนักเสียกำลังส่งที่ต้องยกน้ำขึ้นที่สูง ทำให้ปริมาณไหลเวียนของน้ำลดน้อยลงหรือหม้อกรองที่กำลังน้อยอาจไม่สามารถทำงานได้
เครื่องให้ออกซิเจน
เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ปลาสะดวกต่อการหายใจ เพราะเครื่องจะทำให้น้ำภายในตู้ปลามีออกซิเจนเพียงพอต่อความต้องการของปลา โดยเครื่องจะดูดออกซิเจนภายนอกเข้าไปในน้ำซึ่งอยู่ภายในตู้ ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว แล้วออกซิเจนในอากาศจะละลายกับน้ำ
กรวดและทราย กรวดและทราย มีไว้เพื่อเป็นชั้นกรองน้ำภายในตู้และตกแต่งตู้ปลา กรวดที่นิยมและมีประสิทธิภาพดีคือกรวดปะการังซึ่งเป็นเศษปะการังหักที่มีเม็ดขนาดเล็กที่ร่อนให้มีขนาดใกล้เคียงกัน กรวดปะการังมีคุณสมบัติที่ช่วยควบคุมความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำในตู้ปลาไม่ให้เปลี่ยนแปลงไปมาก และมีลักษณะเป็นรูพรุนขนาดเล็กจำนวนมาก ช่วยเก็บกักตะกอนได้ดีกว่ากรวดประเภทอื่น นอกจากหินปะการังแล้วสมัยนี้ผู้เลี้ยงมักนิยมกรวด หิน ทราย หรือขอนไม้ที่มีสีสัน ลวดลายสวยงาม ซึ่งมักจะมีสีหรือสารเคมีเข้ามาเกี่ยวข้องฉะนั้นก่อนที่จะนำมาใส่ในตู้ปลาควรล้างให้สะอาดที่สุดจนกว่าไม่มีกลิ่นสารเคมีหรือสีต่าง ๆ
พืชพันธุ์ไม้น้ำ
พืชพันธุ์ไม้น้ำมีทั้งพลาสติกและพืชธรรมชาติ ซึ่งพันธุ์ไม้พลาสติกในปัจจุบันมีการเลียนแบบได้เหมือนของจริงและสะดวกไม่ต้องยุ่งยากในการดูแลรวมทั้งไม่ต้องเปลี่ยนเหมือนพันธุ์ไม้น้ำธรรมชาติซึ่งเดี๋ยวนี้มีการเพาะพันธุ์ขายกันอย่างแพร่หลายและหลายพันธุ์ชนิด พันธุ์ไม้ธรรมชาตินี้มีส่วนดีคือช่วยเพิ่มออกซิเจนให้กับปลาทำให้ระบบนิเวศน์ในตู้ปลาได้สมดุล แต่ในตู้ปลาควรติดหลอดไฟแสงอาทิตย์เทียมเพื่อให้ต้นไม้ได้สังเคราะห์แสงแล้วผลิตออกซิเจนให้แก่ปลาและช่วยให้ปลามีสีสันสวยงามตามธรรมชาติ
โคมไฟ
โคมไฟมีไว้เพื่อให้แสงสว่างแก่ตู้ปลาและเป็นส่วนประกอบที่สวยงามของตู้ปลา นอกจากนี้แสงสว่างยังเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของปลาด้วย หลอดไฟที่นิยมใช้โดยปกติจะใช้หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ ขนาด 20 วัตต์ ต่อน้ำ
การดูแลและการให้อาหาร ปลาที่เพิ่งย้ายที่อยู่ ต้องการเวลาปรับตัวเพื่อให้เข้ากับที่อยู่ใหม่ ในช่วงแรกปลาจะยังไม่กินอาหารหรือถึงแม้ว่าปลาจะกินอาหารแต่อาหารจะยังไม่ย่อย ดังนั้นผู้เลี้ยงควรงดอาหารในวันแรก วันต่อมาจึงค่อยเริ่มให้ทีละน้อยแล้วค่อยๆเพิ่มขึ้นในแต่ละวันโดยสังเกตดูว่าปริมาณแค่ไหนที่ปลากินหมดใน 2-3 นาที หากมีอาหารเหลือตกค้างควรตักทิ้งเพราะจะทำให้น้ำเน่าเสีย ปกตินิยมให้อาหารวันละ 2 เวลา คือเช้า-เย็น อาหารที่ให้ควรย่อยง่าย มีคุณค่าครบถ้วนและไม่ทำให้น้ำเน่าเสีย
- อาหารสดปลาจะชอบกิน แต่ต้องระวังน้ำเน่าเสีย และเป็นพาหะนำโรคมาสู่ปลา
- อาหารสำเร็จรูปมีหลายแบบ หลายคุณภาพ หลายราคา ควรเลือกใช้ชนิดที่เหมาะสมกับปลาแต่ละประเภท ให้อาหารสดสลับกับอาหารสำเร็จรูปจะช่วยให้ปลาได้รับอาหารที่ย่อยง่ายและมีคุณค่าทางอาหารสูงควบคู่กันไป
การปล่อยปลาลงตู้
ผู้ขายจะบรรจุปลาไว้ในถุงพลาสติกที่มีปริมาณน้ำพอดีกับจำนวนหรือชนิดของปลา และอัดออกซิเจนบริสุทธิ์เพื่อให้ปลาใช้หายใจได้เพียงพอจนกว่าจะถึงจุดหมายแล้วขั้นตอนต่อไปคือ
- ให้ลอยถุงปลาทั้งหมดไว้ในตู้เพื่อให้น้ำในถุงและในตู้มีอุณหภูมิที่เท่ากัน ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที
- ให้เปิดปากถุงออกค่อยๆรินน้ำที่ตักจากตู้ผสมลงถุงทีละน้อยทำช้าๆจนได้สัดส่วนน้ำในถุง 1 ส่วนต่อน้ำจากตู้ 1 ส่วน พักไว้ประมาณ 10 นาทีเพื่อให้ปลาปรับตัวให้ชินกับน้ำใหม่
- ให้เอียงปากถุงลงปล่อยปลาให้ว่ายออกจากถุงปลาที่ปล่อยถูกต้องตามขั้นตอนจะไม่ช็อกน้ำเป็นสาเหตุให้ปลาทยอยตาย ปลาที่ปล่อยถูกวิธีจะมีสุขภาพดีและมีชีวิตอยู่ได้นาน
การเปลี่ยนน้ำและการทำความสะอาดตู้ปลา การเปลี่ยนน้ำทั้งหมดอาจกำจัดของเสียที่ปลาถ่ายออกมาได้หมด แต่ปลาไม่ชอบให้สภาพแวดล้อมของมันเปลี่ยนแปลงโดยทันที หากใช้วิธีเปลี่ยนน้ำบางส่วน(ไม่เกินครึ่งตู้) แต่ทำบ่อยๆน้ำจะมีสภาพดีกว่าและปลาก็ไม่ต้องปรับตัวมากด้วย และเมื่อถึงเวลาต้องล้างพื้นทรายควรเก็บน้ำเก่าบางส่วนไว้ก่อน ย้ายปลาและต้นไม้มาไว้ในน้ำเก่าที่เก็บไว้นี้แล้วจึงรื้อวัสดุตกแต่งตู้และทำความพื้นทราย เสร็จแล้วให้จัดวัสดุตกแต่งตู้ให้ใกล้เคียงของเดิมมากที่สุดแล้วนำน้ำเก่ามาใส่ตู้พร้อมต้นไม้น้ำและปลา จากนั้นจึงใส่สารกำจัดคลอรีนและเติมน้ำใหม่อย่างช้าๆปลาจะไม่ช็อกน้ำและไม่ต้องปรับตัวมากเกินไป
ผู้ขายจะบรรจุปลาไว้ในถุงพลาสติกที่มีปริมาณน้ำพอดีกับจำนวนหรือชนิดของปลา และอัดออกซิเจนบริสุทธิ์เพื่อให้ปลาใช้หายใจได้เพียงพอจนกว่าจะถึงจุดหมายแล้วขั้นตอนต่อไปคือ
- ให้ลอยถุงปลาทั้งหมดไว้ในตู้เพื่อให้น้ำในถุงและในตู้มีอุณหภูมิที่เท่ากัน ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที
- ให้เปิดปากถุงออกค่อยๆรินน้ำที่ตักจากตู้ผสมลงถุงทีละน้อยทำช้าๆจนได้สัดส่วนน้ำในถุง 1 ส่วนต่อน้ำจากตู้ 1 ส่วน พักไว้ประมาณ 10 นาทีเพื่อให้ปลาปรับตัวให้ชินกับน้ำใหม่
- ให้เอียงปากถุงลงปล่อยปลาให้ว่ายออกจากถุงปลาที่ปล่อยถูกต้องตามขั้นตอนจะไม่ช็อกน้ำเป็นสาเหตุให้ปลาทยอยตาย ปลาที่ปล่อยถูกวิธีจะมีสุขภาพดีและมีชีวิตอยู่ได้นาน
การเปลี่ยนน้ำและการทำความสะอาดตู้ปลา การเปลี่ยนน้ำทั้งหมดอาจกำจัดของเสียที่ปลาถ่ายออกมาได้หมด แต่ปลาไม่ชอบให้สภาพแวดล้อมของมันเปลี่ยนแปลงโดยทันที หากใช้วิธีเปลี่ยนน้ำบางส่วน(ไม่เกินครึ่งตู้) แต่ทำบ่อยๆน้ำจะมีสภาพดีกว่าและปลาก็ไม่ต้องปรับตัวมากด้วย และเมื่อถึงเวลาต้องล้างพื้นทรายควรเก็บน้ำเก่าบางส่วนไว้ก่อน ย้ายปลาและต้นไม้มาไว้ในน้ำเก่าที่เก็บไว้นี้แล้วจึงรื้อวัสดุตกแต่งตู้และทำความพื้นทราย เสร็จแล้วให้จัดวัสดุตกแต่งตู้ให้ใกล้เคียงของเดิมมากที่สุดแล้วนำน้ำเก่ามาใส่ตู้พร้อมต้นไม้น้ำและปลา จากนั้นจึงใส่สารกำจัดคลอรีนและเติมน้ำใหม่อย่างช้าๆปลาจะไม่ช็อกน้ำและไม่ต้องปรับตัวมากเกินไป
โรคและวิธีการรักษาโรค
โรคที่มักพบได้บ่อยๆอาจแบ่งออกได้เป็น
1. โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
2. โรคที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัว
3. โรคที่เกิดจาก Copepod
4. โรคที่เกิดจากพยาธิ
5. โรคที่เกิดจาก Sporozoa
6. โรคที่เกิดจากเชื้อรา
7. โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส
8. โรคที่เกิดจากสภาพแวดล้อม
อาการที่แสดงให้เห็นว่าปลาป่วยคือ จะมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทั้งนี้อาจเกิดจากเชื้อโรค หรือมีการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของน้ำก็ได้ ปลาจะมีสีจางลงและว่ายถูลำตัวกับหิน หรือปะการังบริเวณก้นตู้ โดยเฉพาะในกรณีที่มีพยาธิภายนอกอาจพอที่จะวินิจฉัยโรคจากอาการคร่าวๆได้ดังนี้
อาการความผิดปกติที่พบทั่วไป
สีจางลง : อาการนี้อาจเกิดจากการตกใจของปลาหรือโรคต่างๆ ได้แก่วัณโรค , การได้รับสารพิษ , การได้รับอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ รวมทั้งอาจเกิดขึ้นเมื่อปลามีอายุมาก
- ไม่กินอาหาร : เป็นอาการเบื้องต้นที่แสดงความผิดปกติของปลาซึ่งกำลังเป็นโรคเกือบทุกชนิด ทั้งโรคที่เกิดจากการติดเชื้อต่างๆ , หนอนพยาธิ . อาหารไม่เหมาะสม รวมทั้งสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมอีกด้วย
- ก้นแดงบวม : มีอุจจาระผิดปกติ ต้องระวังการติดเชื้อของทางเดินอาหารและพยาธิภายใน ถ้าเกิดการท้องผูก ( ไม่ขับถ่าย ) ควรดูแลเรื่องชนิดของอาหารให้เหมาะสมด้วย
- ว่ายน้ำถูลำตัวกับพื้นหรือหินปะการัง : มักพบพยาธิที่ผิวหนังหรือมีการระคายเคืองจากภาวะน้ำเป็นพิษ ทั้งนี้จะพบการหดตัวของครีบ และมีการเคลื่อนไหวแบบส่ายลำตัวด้วย
- พฤติกรรมว่ายน้ำผิดปกติ :ให้ตรวจสอบดูคุณภาพน้ำว่ามีสารพิษอยู่หรือไม่ แต่ถ้าปลามีอาการขึ้นๆลงๆ คล้ายกระโดดหรือจมอยู่แต่ที่ก้นอ่างหรือลอยผิวน้ำตลอดเวลา อาจหมายถึงการติดเชื้อที่ถุงลม โดยเฉพาะเชื้อแบคที่เรีย ( Air-bladder infection )
- หายใจแรงอย่างสม่ำเสมอ : เป็นอาการที่มักพบเมื่อมีอาการติดเชื้อ หรือพยาธิบริเวณเหงือก ได้แก่การติดเชื้อ Oodinium Cryptocaryon , Trichodina หรือ Dactylogyrus เป็นต้นและเป็นการแสดงอาการขาดออกซิเจน หรือมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ในน้ำสูงเกินไป
- การว่ายน้ำพุ่งไปมาร่วมกับการหายใจถี่แรง และพยายามกระโดดออกจากตู้ : มักเกิดจากความเป็นพิษของน้ำซึ่งอาจเนื่องมาจากปริมาณแอมโมเนียที่สูงเกินไป หรือความไม่เหมาะสมของคุณสมบัติอื่นๆ เช่น pH เป็นต้น
- การว่ายน้ำกลับไปกลับมาโดยยื่นปากขึ้นมาเหนือน้ำร่วมกับการหายใจถี่แรง : อาการนี้อาจเกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของความเค็มกะทันหันจากน้ำจืดไปเค็มจัด
- ปลานอนอยู่ก้นบ่อมีการหายใจถี่ : หลังจากย้ายตู้ใหม่ ปลาอาจสามารถว่ายขึ้นมาได้อย่างยากลำบากเป็นระยะๆ มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของความเค็มจากเค็มไปจืด
- ปลามีอาการช๊อกหลังจากย้ายตู้ใหม่ : เกิดจากการเปลี่ยนสภาพน้ำอย่างกะทันหัน อาการของโรคที่พบทางผิวหนัง - โรคติดเชื้อ Oodinium : จะมีจุดสีขาวหรือขาวปนเหลืองเล็กๆบนผิวบริเวณครีบ เมื่อนำมาส่องกล้องจะพบเชื้อ Oodinium sp.
- โรคจุดขาว ( White spot ) : มีจุดหยาบ , สีขาวหรือขาวปนเทา บนผิวโดยเฉพาะที่บริเวณครีบและหาง เมื่อนำมาส่องกล้องจะพบพยาธิ
- โรคปื้นขาว ( White blotch ) : มีปื้นสีขาวส่วนใหญ่มีขอบเขตไม่ชัดเจนนัก มีสีเทาขาว และลุกลามลงไปในผิวหนังได้ เมื่อเพาะเชื้อจะพบแบคทีเรียที่พบโรค
- โรคจากเชื้อวิบริโอ ( Bibriosis ) : ผิวหนังมีเลือดออกมากและกระจายอยู่ทั่วไปจนอาจเห็นเป็นปื้นๆโดยมีจุดเลือดออกใต้ผิวเมื่อนำมาเพาะเชื้อจะพบเชื้อในตระกูลวิบริโอ
- โรคครีบกร่อน ( Fin Rot ) : เนื้อเยื่อของครีบและหางมีสีเปลี่ยนไป มักจะมีสีขาวขึ้น โดยเฉพาะบริเวณขอบที่เริ่มเปื่อยและจะหลุดขาดออก เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
- โรคเห็บระฆัง ( Trichodina infection ) : ผิวหนังจะเป็นฝ้าขาวหรือขาวฟ้า เป็นปื้นๆ ซึ่งต่อมาอาจเกิดเป็นจุดเลือดออกและมีหลุมขึ้นบริเวณผิวหนัง มีเมือกมากนำไปส่องดูจะพบเห็บระฆัง
1. โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
2. โรคที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัว
3. โรคที่เกิดจาก Copepod
4. โรคที่เกิดจากพยาธิ
5. โรคที่เกิดจาก Sporozoa
6. โรคที่เกิดจากเชื้อรา
7. โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส
8. โรคที่เกิดจากสภาพแวดล้อม
อาการที่แสดงให้เห็นว่าปลาป่วยคือ จะมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทั้งนี้อาจเกิดจากเชื้อโรค หรือมีการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของน้ำก็ได้ ปลาจะมีสีจางลงและว่ายถูลำตัวกับหิน หรือปะการังบริเวณก้นตู้ โดยเฉพาะในกรณีที่มีพยาธิภายนอกอาจพอที่จะวินิจฉัยโรคจากอาการคร่าวๆได้ดังนี้
อาการความผิดปกติที่พบทั่วไป
สีจางลง : อาการนี้อาจเกิดจากการตกใจของปลาหรือโรคต่างๆ ได้แก่วัณโรค , การได้รับสารพิษ , การได้รับอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ รวมทั้งอาจเกิดขึ้นเมื่อปลามีอายุมาก
- ไม่กินอาหาร : เป็นอาการเบื้องต้นที่แสดงความผิดปกติของปลาซึ่งกำลังเป็นโรคเกือบทุกชนิด ทั้งโรคที่เกิดจากการติดเชื้อต่างๆ , หนอนพยาธิ . อาหารไม่เหมาะสม รวมทั้งสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมอีกด้วย
- ก้นแดงบวม : มีอุจจาระผิดปกติ ต้องระวังการติดเชื้อของทางเดินอาหารและพยาธิภายใน ถ้าเกิดการท้องผูก ( ไม่ขับถ่าย ) ควรดูแลเรื่องชนิดของอาหารให้เหมาะสมด้วย
- ว่ายน้ำถูลำตัวกับพื้นหรือหินปะการัง : มักพบพยาธิที่ผิวหนังหรือมีการระคายเคืองจากภาวะน้ำเป็นพิษ ทั้งนี้จะพบการหดตัวของครีบ และมีการเคลื่อนไหวแบบส่ายลำตัวด้วย
- พฤติกรรมว่ายน้ำผิดปกติ :ให้ตรวจสอบดูคุณภาพน้ำว่ามีสารพิษอยู่หรือไม่ แต่ถ้าปลามีอาการขึ้นๆลงๆ คล้ายกระโดดหรือจมอยู่แต่ที่ก้นอ่างหรือลอยผิวน้ำตลอดเวลา อาจหมายถึงการติดเชื้อที่ถุงลม โดยเฉพาะเชื้อแบคที่เรีย ( Air-bladder infection )
- หายใจแรงอย่างสม่ำเสมอ : เป็นอาการที่มักพบเมื่อมีอาการติดเชื้อ หรือพยาธิบริเวณเหงือก ได้แก่การติดเชื้อ Oodinium Cryptocaryon , Trichodina หรือ Dactylogyrus เป็นต้นและเป็นการแสดงอาการขาดออกซิเจน หรือมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ในน้ำสูงเกินไป
- การว่ายน้ำพุ่งไปมาร่วมกับการหายใจถี่แรง และพยายามกระโดดออกจากตู้ : มักเกิดจากความเป็นพิษของน้ำซึ่งอาจเนื่องมาจากปริมาณแอมโมเนียที่สูงเกินไป หรือความไม่เหมาะสมของคุณสมบัติอื่นๆ เช่น pH เป็นต้น
- การว่ายน้ำกลับไปกลับมาโดยยื่นปากขึ้นมาเหนือน้ำร่วมกับการหายใจถี่แรง : อาการนี้อาจเกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของความเค็มกะทันหันจากน้ำจืดไปเค็มจัด
- ปลานอนอยู่ก้นบ่อมีการหายใจถี่ : หลังจากย้ายตู้ใหม่ ปลาอาจสามารถว่ายขึ้นมาได้อย่างยากลำบากเป็นระยะๆ มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของความเค็มจากเค็มไปจืด
- ปลามีอาการช๊อกหลังจากย้ายตู้ใหม่ : เกิดจากการเปลี่ยนสภาพน้ำอย่างกะทันหัน อาการของโรคที่พบทางผิวหนัง - โรคติดเชื้อ Oodinium : จะมีจุดสีขาวหรือขาวปนเหลืองเล็กๆบนผิวบริเวณครีบ เมื่อนำมาส่องกล้องจะพบเชื้อ Oodinium sp.
- โรคจุดขาว ( White spot ) : มีจุดหยาบ , สีขาวหรือขาวปนเทา บนผิวโดยเฉพาะที่บริเวณครีบและหาง เมื่อนำมาส่องกล้องจะพบพยาธิ
- โรคปื้นขาว ( White blotch ) : มีปื้นสีขาวส่วนใหญ่มีขอบเขตไม่ชัดเจนนัก มีสีเทาขาว และลุกลามลงไปในผิวหนังได้ เมื่อเพาะเชื้อจะพบแบคทีเรียที่พบโรค
- โรคจากเชื้อวิบริโอ ( Bibriosis ) : ผิวหนังมีเลือดออกมากและกระจายอยู่ทั่วไปจนอาจเห็นเป็นปื้นๆโดยมีจุดเลือดออกใต้ผิวเมื่อนำมาเพาะเชื้อจะพบเชื้อในตระกูลวิบริโอ
- โรคครีบกร่อน ( Fin Rot ) : เนื้อเยื่อของครีบและหางมีสีเปลี่ยนไป มักจะมีสีขาวขึ้น โดยเฉพาะบริเวณขอบที่เริ่มเปื่อยและจะหลุดขาดออก เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
- โรคเห็บระฆัง ( Trichodina infection ) : ผิวหนังจะเป็นฝ้าขาวหรือขาวฟ้า เป็นปื้นๆ ซึ่งต่อมาอาจเกิดเป็นจุดเลือดออกและมีหลุมขึ้นบริเวณผิวหนัง มีเมือกมากนำไปส่องดูจะพบเห็บระฆัง
- ความเป็นกรดสูง ( Low pH ) : ผิวหนังจะเป็นสีขาวขุ่นโดยทั่วไปมีเมือกมากและอาจมีอาการจุดเลือดออกเป็นจุดเล็กๆด้วย เกิดจากน้ำเป็นกรดมากเกินไป
- โรคติดเชื้อแบคทีเรีย : มีแผลหลุมและแผลเปื่อยเกิดขึ้นอย่างช้าๆที่ผิวหนัง อาจมีการยกตัวสูงขึ้นของเกล็ด และเกล็ดหักหลุดง่าย รวมทั้งแผลที่ผิวหนังเมื่อทิ้งไว้นานๆจะกลายเป็นแผลเปิดใหญ่ได้ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
- โรค Hippocampus : เป็นโรคที่มักพบในม้าน้ำจะมีปื้นที่ผิวหนังเป็นสีขาวหรือเป็นสีขาวที่มีลักษณะมันๆเมื่อตรวจดูจะพบเชื้อ Glugia
- โรคพยาธิบนผิวหนัง : จะเห็นพยาธิซึ่งอาจเคลื่อนไหวได้ หรืออยู่นิ่งติดอยู่ที่ผิวหนัง พยาธินี้มักจะมีขนาดใหญ่ซึ่งอาจเป็นหนอนพยาธิ หรือเป็นสัตว์ที่มีเปลือกหุ้ม ( Crustaecean ) ก็ได้
- โรคติดเชื้อรา : มีอาการเป็นปุยคล้ายสำลีซึ่งจะมีขนาดใหญ่ขึ้นได้เมื่อทิ้งไว้ติดอยู่ที่ผิวหนังหรือบริเวณแผลที่ผิวหนัง
- โรคเนื้องอกจากเชื้อไวรัส : มีตุ่มหรือเนื้องอกขนาดเล็กซึ่งมักโตขึ้นลักษณะคล้ายดอกกะหล่ำสีขาขึ้นบริเวณขอบครีบหรือบนผิวหนัง
อาการของโรคที่พบบริเวณตา
- โรคตาโปน ( Exophthalmia ) : ลูกตาของปลาจะนูนโป่งออกมา ซึ่งอาจเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้างมีสาเหตุได้หลายอย่างเช่นการติดเชื้อวัณโรค ( Tuberculosis ) หรือเชื้อไวรัสชนิดต่างๆรวมทั้งเชื้อแบคทีเรียได้ด้วย บางครั้งจะพบกรณีที่มีเชื้อ Ichthyosporidium sp.
- โรคตาฝ้า ( Cloudy eyes ) : มักพบกรณีติดเชื้อโรคชนิดต่างๆโดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ Vibriosis รวมทั้ง Cryptocaryon โรคจุดขาวและการติดเชื้อเฉพาะที่ของตาอาจมีจุดสีขาวบริเวณกลางตาขึ้นด้วยก็ได้
- โรคติดเชื้อแบคทีเรีย : มีแผลหลุมและแผลเปื่อยเกิดขึ้นอย่างช้าๆที่ผิวหนัง อาจมีการยกตัวสูงขึ้นของเกล็ด และเกล็ดหักหลุดง่าย รวมทั้งแผลที่ผิวหนังเมื่อทิ้งไว้นานๆจะกลายเป็นแผลเปิดใหญ่ได้ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
- โรค Hippocampus : เป็นโรคที่มักพบในม้าน้ำจะมีปื้นที่ผิวหนังเป็นสีขาวหรือเป็นสีขาวที่มีลักษณะมันๆเมื่อตรวจดูจะพบเชื้อ Glugia
- โรคพยาธิบนผิวหนัง : จะเห็นพยาธิซึ่งอาจเคลื่อนไหวได้ หรืออยู่นิ่งติดอยู่ที่ผิวหนัง พยาธินี้มักจะมีขนาดใหญ่ซึ่งอาจเป็นหนอนพยาธิ หรือเป็นสัตว์ที่มีเปลือกหุ้ม ( Crustaecean ) ก็ได้
- โรคติดเชื้อรา : มีอาการเป็นปุยคล้ายสำลีซึ่งจะมีขนาดใหญ่ขึ้นได้เมื่อทิ้งไว้ติดอยู่ที่ผิวหนังหรือบริเวณแผลที่ผิวหนัง
- โรคเนื้องอกจากเชื้อไวรัส : มีตุ่มหรือเนื้องอกขนาดเล็กซึ่งมักโตขึ้นลักษณะคล้ายดอกกะหล่ำสีขาขึ้นบริเวณขอบครีบหรือบนผิวหนัง
อาการของโรคที่พบบริเวณตา
- โรคตาโปน ( Exophthalmia ) : ลูกตาของปลาจะนูนโป่งออกมา ซึ่งอาจเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้างมีสาเหตุได้หลายอย่างเช่นการติดเชื้อวัณโรค ( Tuberculosis ) หรือเชื้อไวรัสชนิดต่างๆรวมทั้งเชื้อแบคทีเรียได้ด้วย บางครั้งจะพบกรณีที่มีเชื้อ Ichthyosporidium sp.
- โรคตาฝ้า ( Cloudy eyes ) : มักพบกรณีติดเชื้อโรคชนิดต่างๆโดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ Vibriosis รวมทั้ง Cryptocaryon โรคจุดขาวและการติดเชื้อเฉพาะที่ของตาอาจมีจุดสีขาวบริเวณกลางตาขึ้นด้วยก็ได้
2. ถ้าตรวจพบพยาธิภายนอกอาจเลือกใช้สารเคมีที่สามารถฆ่าเชื้อได้ เช่น คอปเปอร์ซัลเฟต , ฟอร์มาลีน เป็นต้น โดยผสมแช่ลงน้ำในอัตราที่เหมาะสมและไม่เป็นพิษต่อสัตว์
3. พยาธิภายในสามารถรักษาได้โดยใช้ยาผสมอาหาร เช่น Levamesole เพื่อขับพยาธิภายในออกมาได้
4. โรคที่เกิดจากเชื้อราอาจใช้ยาฆ่าเชื้อรา เช่น Acriflavin หรือสารเคมีอื่นๆ เพื่อแช่ปลาฆ่าเชื้อราได้
5. โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสไม่สามารถรักษาได้แต่สามารถพยุงได้โดยการควบคุมสภาพแวดล้อมให้ปลามีความเครียดน้อยที่สุด
6. หลักในการรักษาโรคทั่วไปคือสัตว์จะต้องมีการจัดการที่ดีทั้งทางด้านสภาพน้ำ , อาหารและอื่นๆเพื่อให้สัตว์สามารถสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคต่างๆได้
7. ควรปรึกษาสัตวแพทย์เมื่อมีปลาป่วยเพื่อให้คำแนะนำปรึกษาและวินิจฉัยที่เหมาะสม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น