วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

1. การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

    ความหมายการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
                การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หมายถึง  การเก็บรักษา  สงวน  ซ่อมแซม  ปรับปรุง  และใช้ประโยชน์ตามความต้องการอย่างมีเหตุผลต่อสิ่งแวดล้อม  เพื่อเอื้ออำนวยให้เกิดคุณภาพสูงสุดในการสนองความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างถาวรต่อไป

หลักการอนุรักษ์

                การที่จะให้บรรลุเป้าหมาย คือ การที่จะทำให้มีทรัพยากรธรรมชาติไว้ใช้และอยู่คู่กับโลกตลอดไปได้นั้น  มีหลักการอนุรักษ์  3 ประการ คือ
                1.  ใช้อย่างฉลาด  การจะใช้  ต้องพิจารณาให้รอบคอบถึงผลดี  ผลเสีย  ความขาดแคลนหรือความหายากในอนาคต อีกทั้งพิจารณาหลักเศรษฐศาสตร์ถึงต้นทุนและผลตอบแทนอย่างถี่ถ้วน
                2.  ประหยัด  (เก็บ  รักษา  สงวน)  ของที่หายาก  หมายถึง  ทรัพยากรใดที่มีน้อยหรือหายาก  ควรเก็บรักษาไว้มิให้สูญไป  บางครั้งถ้ามีของบางชนิดที่พอจะใช้ได้ ต้องใช้อย่างประหยัด
                3. ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีหรือเสื่อมโทรมให้ดีขึ้น (ซ่อมแซม ปรับปรุง)  กล่าวคือ  ทรัพยากรใดก็ตามมีสภาพล่อแหลมต่อการสูญเปล่า  หรือจะหมดไปถ้าดำเนินการไม่ถูกต้องตามหลักวิชา ควรหาทางปรับปรุงให้อยู่ในลักษณะที่ดีขึ้น
2. การจัดการสิ่งแวดล้อม
                การจัดการ(Management) หมายถึงการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ     รวมถึงการจัดการ การเก็บรักษา ซ่อมแซม การใช้อย่างประหยัด อีกทั้งการสงวนเพื่อให้สิ่งที่ดำเนินนั้นสามารถให้ผลยั่งยืน (Sustained Yields) ต่อมวลมนุษย์และธรรมชาติ
                การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การดำเนินการต่อทรัพยากร  ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสามารถเอื้ออำนวยให้มวลมนุษย์มีใช้ตลอดไป โดยไม่ขาดแคลนและมีปัญหาใดๆ  โดยใช้วิธี กาสงวน  อนุรักษ์และพัฒนา            
3. บทบาทการประสานความร่วมมือขององค์กร หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
- ภาครัฐบาล สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรมป่าไม้
- ภาคเอกชน    NGOs  องค์กรเอกชนด้านคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
- ระดับโลก    องค์กรยูเนสโก (UNSECO) IUCN ,WWF, Green Peace

สิทธิและหน้าที่ของประชาชนและการให้ความช่วยเหลือต่อองค์กรเอกชน

                สิทธิและหน้าที่ของประชาชนในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติตามมาตรา 6 ของพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.. 2535 ได้ระบุไว้ดังนี้
1. การรับทราบข้อมูลและข่าวสารของทางราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพ   สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ยกเว้นข้อมูลทางราชการที่ถือว่าเป็นความลับ
2. การได้รับชดเชยค่าเสียหายหรือค่าทดแทนจากรัฐ ในกรณีที่เกิดจากภัยอันตรายจากการแพร่กระจายของมลพิษจากกิจการหรือโครงการที่ราชการหรือรัฐวิสาหกิจริเริ่มสนับสนุนหรือดำเนินการ
3. การร้องเรียน กล่าวโทษผู้กระทำผิดที่ละเมิด หรือฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมมลพิษหรือการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
4. การให้ความร่วมมือและช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการส่ง เสริม  และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
5. การปฏิบัติตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยเคร่งครัดประเทศไทยกับอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
ประเทศไทยได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น   จากการทำสัตยาบันในอนุสัญญาความหลากหลาย   ทางชีวภาพ ดังนี้
                1. เป็นภาพพจน์ที่ดีต่อที่รัฐบาลไทยให้คำมั่นสัญญาต่อประชาคมโลก ในการรักษาสิ่งแวดล้อม   ของประเทศไทยและของโลกไว้ให้ดีที่สุดที่จะเป็นไปได้
2. มีการควบคุมดูแลอย่างจริงจังมากขึ้นในการที่ประเทศต่างๆจะเข้ามาศึกษาวิจัยและการนำทรัพยากรชีวภาพออกไปวิจัยนอกประเทศ
3.ได้รับสิทธิประโยชน์ต่อการที่ประเทศต่างๆมีการนำทรัพยากรที่มีใประเทศออกไปใช้ และ 
ประเทศนั้นจะต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างเหมาะสมให้กับประเทศไทยด้วย
4. ร่วมกับประเทศภาคีสมาชิกซึ่งมีทรัพยากรชีวภาพที่เหมือนกัน ในการเจรจาต่อรองกับประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในการรักษาผลประโยชน์ด้านต่าง ๆ ร่วมกัน
5.   สามารถนำทรัพยากรชีวภาพที่ขาดแคลนจากประเทศภาคีสมาชิกมาใช้ได้
6. สิทธิในการเข้าร่วมเจรจาระหว่างประเทศในการกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ ในการจัดการ
ทรัพยากรชีวภาพในการประชุมของประเทศภาคีอนุสัญญาเช่นการเข้าไปร่วมกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ หรือ Bio Safety ฯลฯ
7. เป็นผลดีต่อการค้าส่งออกในระบบนานาชาติ เพราะปัจจุบันประเทศมหาอำนาจทางการค้า  มองด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติของประเทศคู่ค้าเป็นสำคัญ
8. กระตุ้นให้รัฐบาลดำเนินงานด้านอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพให้กฎหมายเกี่ยวกับ   การจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างจริงจัง   เพราะรัฐบาลจะต้องรายงานสถานะภาพความหลากหลาย  ทางชีวภาพต่อที่ประชุมใหญ่ของสมัชชาภาคีทุกปี
9. จะได้รับงบประมาณพิเศษมาช่วยเหลือจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลกในการวิจัยการจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพในประเทศ
10.อนุสัญญาฯนี้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งชุมชนท้องถิ่นและชุมชน พื้นเมืองจะได้รับการยอมรับมากขึ้นที่จะร่วมมือกับภาครัฐในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรชีวภาพที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้นรวมทั้งสิทธิภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนต่างๆ จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายที่จะมีขึ้นต่อไปในอนาคต
4.  การเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อม
การเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อมเป็นมาตรการด้านความปลอดภัยวิธีการหนึ่งที่จะดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อม
  การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดย การศึกษาจริยธรรม และกฎหมาย
                การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยพุทธจริยธรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม
                พุทธศาสนามีหลักคำสอนเกี่ยวกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอยู่หลายข้อ ตามที่ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎกหลักจริยธรรม ที่สำคัญบางประการที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการอนุรักษ์และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่อย่างยั่งยืนเช่น การแสดงความกตัญญูกตเวที   สิ่งแวดล้อมก็มีอุปการคุณต่อมนุษย์เราเป็นอย่างมาก กล่าวคือ แผ่นดินให้ที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน แม่น้ำลำคลองให้น้ำดื่มน้ำใช้ และเป็นแหล่งอาหารของเรา ป่าไม้ให้ยาสมุนไพรช่วยรักษาโรคให้ความร่มรื่น การทำลายป่าก็เท่ากับการทำลายสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่อาศัยอยู่ของสัตว์ป่า เพราะฉะนั้นคนดีทั้งหลายจึงควรกตัญญูต่อแผ่นดินที่เราอาศัย ต่อป่า ต่อแม่น้ำลำคลองและแสดงกตเวทีคือช่วยกันดูแลรักษาสภาพของสิ่งแวดล้อม      ความเมตตา กรุณา เป็นการแสดงความรัก ความปรารถนาดี และเสียสละต่อบุคคลอื่น บุคคลที่มีความรักความเมตตาจะไม่ทำลายสัตว์ป่า ไม่ทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์โลกต่างๆ ความเมตตากรุณาจะทำให้สภาพแวดล้อมไม่ถูกทำลาย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมทางสังคมก็ตาม


              การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยการใช้กฎหมาย
                การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยใช้กฏหมายมีความจำเป็น หากคนในสังคมขาดจริยธรรมจะนำไปสู่ความเสื่อมโทรมของทรัพยากร และในปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายและพระราชบัญญัติหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม
                รัฐธรรมนูญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                         การกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตั้งแต่ฉบับที่ 2517 จนถึงกระทั่งฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.. 2540 มีบทบัญญัติให้สิทธิของบุคคลและชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติร่วมกับภาครัฐ มีมากถึง 8 มาตราด้วยกันอาจเรียกได้ว่า เป็นรัฐธรรมนูญฉบับสีเขียว (Green Constitution)  
       กฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                กฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย เช่นพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.. 2535  
       - พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ..2535เป็นกฎหมายที่มีจุดมุ่งหมาย  ในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในลักษณะครอบคลุมในทุกๆด้าน กฎหมายฉบับแรกที่ถือว่าเป็นกฎหมายสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยได้แก่ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.. 2518    

       -      พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ..2535

       -      พระราชบัญญัติโรงงาน 2535
       -      นโยบายและแผนส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 2540-2559
       -      โครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติ
         การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
      แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554)
ในส่วนบทที่  5 ยุทธศาสตร์พัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีเป้าหมายดังนี้
1.             การรักษาความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
              2.   การตอบสนองความต้องการและความจำเป็นในการดำรงชีวิตเช่น การนำขยะมูลฝอยกลับมา  ใช้อีก
3.             การวางรากฐานด้านการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่การพัฒนาบนฐานความหลาก
หลายทางชีวภาพ
แนวทางการพัฒนา
1.  ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานทรัพยากรธรรมชาติและควบคุมดูแลคุณภาพ
สิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ต่อเนื่อง
2.  ระมัดระวังการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ การดำรงชีวิตของคนในชุมชน การสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างรู้คุณค่าโดยการมีส่วนร่วมของผู้ได้รับผลประโยชน์และผลกระทบจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
3.   การนำจุดแข็งของโอกาสของประเทศคือ ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพมาสร้างกระบวนการพัฒนาประเทศอย่างสมดุล ด้วยการวางรากฐานการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ผสมผสานระหว่างทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม และทุนทางทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4.  การบริหารจัดการความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และการได้รับผลกระทบจากมลพิษโดยสันติ
แนวทางการดำเนินการ
1.  การรักษาฐานทรัพยากรและความสมดุลของระบบนิเวศส่งเสริมการมีส่วนร่วม ส่งเสริมศักยภาพและจิตสำนึกเป็นเครื่องมือสำคัญในการตัดสินใจเพื่อรักษาสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์  และผู้มีส่วนได้ส่วน เสียกลุ่มต่างๆ        มีการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์และข้อมูลแผนที่ 1:4000 เพื่อใช้กำหนดแนวเขตอนุรักษ์ที่ชัดเจน วางระบบการถือครองให้คนยากจน      สนับสนุนการวิจัยร่วมระหว่างภาควิชาการกับชุมชนท้องถิ่น ใช้ภูมิปัญญาและ   วัฒนธรรมของชุมชนตามลักษณะของระบบภูมินิเวศน์ในการฟื้นฟูฐานทรัพยากร          ติดตามการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ        จัดทำฐานข้อมูลเพื่อเผยแพร่ต่อชุมชนที่เกี่ยวข้อง  ส่งเสริมสิทธิชุมชนและการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากร   และร่วมอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ กำหนดมาตรการ คนอยู่ร่วมกับป่าทำกิจกรรมสนับสนุนการฟื้นฟูรักษาระบบนิเวศ ความอุดมสมบูรณ์ของดิน พัฒนาระบบการป้องกันภัยพิบัติ
              2. สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการกำหนดนโยบายสาธารณะที่ส่งเสริมการผลิตและการบริโภคเพื่อลดผลกระทบต่อฐานทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การผลิตที่สะอาดภาคอุตสาหกรรม ส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์และเกษตรที่ยั่งยืน     มีมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ การเงิน การคลังเพื่อการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน เช่นลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการวิจัย พัฒนาและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาด นาโนเทคโนโลยี  การใช้วัฒนธรรม ประเพณี การดำรงชีวิตตามวิถีไทยเพื่อปลูกฝังค่านิยมการบริโภคอย่างพอเพียง  รณรงค์ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างจิตสำนึก ความรู้ เข้าใจและสร้างค่านิยมเกี่ยวกับการบริโภคที่ยั่งยืน
             นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการเพื่อลดมลพิษและควบคุมกิจกรรมที่จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต
                3.  การพัฒนาคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น   ใช้หลักเศรษฐกิจ
พอเพียงเป็นแนวทางสำคัญ   มีการจัดองค์ความรู้สร้างภูมิคุ้มกันพัฒนาระบบฐานข้อมูลระดับชาติด้านทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ อนุกรมวิธาน คุณสมบัติ การใช้ประโยชน์ ให้ชุมชนตระหนักถึงคุณค่าของความหลากหลายทางชีวภาพ สนับสนุนปราชญ์ชาวบ้านและแพทย์แผนไทยนักพฤษศาสตร์พื้นบ้านในการสืบทอดองค์ความรู้ ส่งเสริมการวิจัยพัฒนาที่ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นกับองค์ความรู้ใหม่ คุ้มครองสิทธิชุมชน อนุรักษ์ฟื้นฟูความหลากหลายของพันธุกรรมท้องถิ่นเพื่อรักษาสายพันธุ์   ส่งเสริมการใช้ความหลากหลายทางชีวภาพในการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร สุขภาพ  ภาคเศรษฐกิจท้องถิ่น และชุมชนสนับสนุนการผลิตพัฒนาศักยภาพชุมชนในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติและการวิจัยตลาดของสินค้า บริการที่เชื่อมโยงกับความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น นวดไทย สปา เกษตรปลอดสารพิษ พัฒนาขีดความสามารถและสร้างนวัตกรรมจากทรัพยากรชีวภาพที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศ
                           
เอกสารอ้างอิง
      กรมป่าไม้. โครงการฝึกอบรมเกษตรตำบล เพื่อการประชาสัมพันธ์ป่าไม้ (ก.ต.ป.). กรุงเทพมหานคร :
                       โรงพิมพ์ ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2528.
     กรมป่าไม้. 100 ปี กรมป่าไม้ .2539. กรุงเทพมหานคร :  โรงพิมพ์สำนักสารนิเทศกรมป่าไม้, 2539.
     กรมป่าไม้. การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์สำนักสารนิเทศกรมป่า
                       ไม้, 2541.
      กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. จากธรรมชาติสู่เขตอนุรักษ์อุทยานแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร :                             
                       กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม, 2538.
    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทรัพยากรน้ำและการอนุรักษ์. กรุงเทพมหานคร : ไทพัน  อินเตอร์แอคท์จำกัด,
                      2541.
    ปริญญา     นุดาลัยและคณะ. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย.    
                      กรุงเทพมหานคร : คณะกรรมการการสัมมนาเพื่อการอนุรักษ์, 2536.
    นิวัติ เรืองพานิช. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร :  คณะวนศาสตร์  
                    มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2537.
     มันทนี    ยมจินดา (บรรณาธิการ). มนุษย์กับธรรมชาติ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์
                   มหาวิทยาลัย, 2539.
    สมชาย   เดชะพรหมพันธุ์. ทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์. กรุงเทพมหานคร : แพร่พิทยา,2532.
    สนิท อักษรแก้ว และสมชาย พานิชสุขโข. พันธุ์ไม้ในป่าชายเลนเมืองไทย (Plants in Mangroves
                      of  Thailand). กรุงเทพมหานคร : หจก.คอมพิวเอดเวอร์ไทซิ่งก์, 2538.
    อำนาจ   เจริญศิลป์.การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์      
                     โอเดียนสโตร์, 2543.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น