ปฏิญญาสากลว่าด้วยพันธุกรรมมนุษย์และสิทธิมนุษยชน
ในการประชุมสมัยสามัญยูเนสโกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2540 ได้มีการรับรองแถลงการณ์ปฏิญญาสากลว่าด้วยพันธุกรรมมนุษย์และสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นเอกฉันท์ ภายหลังจากที่คณะกรรมการนานาชาติว่าด้วยชีวจริยศาสตร์ได้จัดร่างปฎิญญาดังกล่าวหลายฉบับ (ระหว่างปี 2536-2540) สมัชชาทั่วไปของสหประชาชาติได้เห็นชอบปฎิญญาชีวจริยศาสตร์ระดับโลกฉบับแรกดูว่าท่านเห็นด้วยหรือไม่
ที่ประชุมสมัยสามัญ (ของประเทศสมาชิกยูเนสโก)
ระลึกว่าบทนำของธรรมนูญยูเนสโกอ้างถึง “หลักการประชาธิปไตยของศักดิ์ศรี ความเสมอภาค และความเคารพซึ่งกันและกันของมนุษย์” และปฏิเสธ “ลัทธิความไม่เสมอภาคของมนุษย์และเชื้อชาติ” ได้ระบุว่า “การกระจายตัวของวัฒนธรรมและการศึกษาด้านมนุษยศาสตร์เพื่อความยุติธรรม เสรีภาพและสันติภาพเป็นสิ่งที่จำเป็นอันเป็นการแสดงให้เห็นถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และทำให้เกิดหน้าที่ที่สำคัญซึ่งทุกชาติจะต้องทำให้สำเร็จภายใต้ความร่วมมือและความกังวลร่วมกัน ทั้งนี้ในบทนำได้ประกาศว่า “การสร้างสันติภาพจะต้องเกิดขึ้นท่ามกลางความเป็นปึกแผ่นทางพุฒิปัญญาและจริยธรรมของมวลมนุษย์” และได้กำหนดว่าองค์การจะต้อง “ดำเนินการให้วัตถุประสงค์ของการรักษาสันติภาพของนานาชาติและสวัสดิภาพของมวลมนุษย์ สำเร็จก้าวหน้าไปด้วยดีผ่านความสัมพันธ์ของมวลมนุษย์ในโลกจาการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมย์การก่อตั้งองค์การและประกาศไว้ในธรรมนูญ” ระลึกว่า เอกสารแนบท้านหลักการสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เป็นการตอกย้ำปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งได้มีการรับรองไปเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2491 และพิธีสารนานาชาติของสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งได้มีการรับรองเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2509 ในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการปกป้องและการลงโทษอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่งรับรองเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2591 อนุสัญญานานาชาติของสหประชาชาติว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติทุกรูปแบบ ซึ่งรับรองเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2508 ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของผู้เขียนผู้จัด ซึ่งรับรองเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2514 ปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของ ผู้พิการ รับรองเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2519 อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ รับรองเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2521 ปฎิญญาสหประชาชาติว่าด้วยหลักการพื้นฐานของความยุติธรรมสำหรับเหยื่ออาชญากรรมและเหยื่อการบิดเบือนอำนาจ รับรองเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2527 อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก รับรองเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2532 กฎมาตรฐานของสหประชาชาติว่าด้วยการให้โอกาสเท่าเทียมกันแก่ผู้พิการ รับรองเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2536 อนุสัญญาว่าด้วยการห้ามพัฒนา การผลิต และการกักตุนอาวุธทางชีวภาพและมีพิษและการทำลาย รับรองเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2514 อนุสัญญาของยูเนสโกว่าด้วยการเลือกปฏิบัติทางการศึกษา รับรองเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2503 ปฏิญญายูเนสโกว่าด้วยหลักการความร่วมมือทางวัฒนธรรมนานาชาติ รับรองเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2509 ข้อเสนอแนะของยูเนสโกว่าด้วยสถานภาพของนักวิจัยทาง วิทยาศาสตร์ รับรองเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2517 ปฏิญญายูเนสโกว่าด้วยเชื้อชาติและอคติทาง เชื้อชาติ รับรองเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2521 อนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (หมายเลข 111) เกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติในการเคารพการจ้างงานและอาชีพ รับรองเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2501 และอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (หมายเลข 169) เกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยและ ชนเผ่าในประเทศอิสระ รับรองเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2532ตระหนักว่า ตราสารระหว่างประเทศซึ่งจะมีผลต่อการบังคับใช้ในเรื่องพันธุกรรมในกรณีที่เป็นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ตามอนุสัญญากรุงเบิร์นว่าด้วยการปกป้องคุ้มครองงานวรรณกรรมและศิลปกรรม ซึ่งรับรองเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2429 และอนุสัญญาของยูเนสโกว่าด้วยลิขสิทธิ์สากล รับรองเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2495 และแก้ไขล่าสุดที่กรุงปารีสเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2514 อนุสัญญากรุงปารีสว่าด้วยการปกป้องคุ้มครองทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม รับรองเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2426 และแก้ไขล่าสุดที่กรุงสตอร์คโฮมเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2510 สนธิสัญญากรุงบูดาเปสต์ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลกว่าด้วยการรับรองระดับนานาชาติว่าด้วยการฝากจุลลินทรีย์วัตถุเพื่อขวนการสิทธิบัตร ซึ่งรับรองเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2520 และแง่มุมทางการค้าภายใต้ข้อตกลงว่าด้วยสิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญา (Trade Related Aspects of Intellectual Property Rights Agreement: TRIPs) ซึ่งเป็นเอกสารแนบท้ายข้อตกลงในการก่อตั้งองค์การการค้าโลก ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2538 ตระหนักถึงความสำคัญของอนุสัญญาของสหประชาชาติว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งรับรองเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2535 และเน้นย้ำว่าการรับรองความหลากหลานทางพันธุกรรมของมนุษยชาติจะต้องไม่ทำให้การตีความในบริบททางการเมืองและสังคมเกิดข้อคำถามว่า “ศักดิ์ศรีและสิทธิต่างๆที่สะท้อนความเสมอภาคและความไม่แปลกแยกของสมาชิกมวลมนุษย์ทุกคน” ซึ่งจะสอดคล้องกับบทนำของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
อ้างถึงมติที่ 13.1 ของการประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 22 มติที่ 13.1 ของการประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 23 มติที่ 13.1 ของการประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 24 มติที่ 5.2 และ 7.3 ของการประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 25 มติที่ 5.15 ของการประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 27 มติที่ 0.12, 2.1 และ 2.2 ของการประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 28 เร่งรัดให้ยูเนสโกส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาจริยธรรมและพัฒนาแผนงานกิจกรรมเพื่อติดตามผลความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาชีววิทยาและพันธุกรรม ภายใต้กรอบงานสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานตระหนักว่าการวิจัยเกี่ยวกับพันธุกรรมมนุษย์และผลลัพธ์ของการนำไปใช้ทำให้เกิดความก้าวหน้าในขอบข่ายที่กว้างขวางในการพัฒนาสุขภาพของปัจเจกบุคคลและมวลมนุษยชาติทั้งหมด แต่ก็ต้องเป็นการย้ำว่าการวิจัยดังกล่าวควรจะต้องเคารพต่อศักดิ์ศรีของมนุษย์ เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการห้ามเลือกปฏิบัติต่อลักษณะพันธุกรรมทุกรูปแบบ
ประกาศหลักการที่จะดำเนินการตามปฏิญญาฉบับปัจจุบัน
ศักดิ์ศรีของมนุษย์และพันธุกรรมมนุษย์
พันธุกรรมมนุษย์เน้นความเป็นเอกภาพขั้นพื้นฐานของสมาชิกทั้งหมดของมวลมนุษย์ รวมทั้งรับรองศักดิ์ศรีและความหลากหลายที่สืบทอดต่อมา ซึ่งในแง่ของสัญญลักษณ์ ถือเป็นมรดกของมวลมนุษย์
ก) ทุกคนมีสิทธิในการเคารพศักดิ์ศรีและสิทธิของตนโดยไม่ต้องคำนึงถึงลักษณะทางพันธุกรรม
ข) ศักดิ์ศรีทำให้จำเป็นที่จะไม่ต้องลดจำนวนปัจเจกบุคคลที่สืบทอดลักษณะทางพันธุกรรมและต้องเคารพเอกลักษณ์และความหลากหลายนั้นไว้
พันธุกรรมมนุษย์ซึ่งมีวิวัฒนาการตามธรรมชาติจะเป็นไปตามการกลายพันธุ์ ทั้งนี้จะมีศักยภาพที่แสดงออกมาให้เห็นตามแต่สภาพตามธรรมชาติและสังคมของปัจเจกบุคคล รวมทั้งสภาพทางร่างกาย สภาพความเป็นอยู่ โภชนาการและการศึกษาของปัจเจกบุคคล
พันธุกรรมมนุษย์ตามธรรมชาติจะไม่ได้ทำให้เกิดประโยชน์ทางการเงิน
สิทธิของบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ก) การวิจัย การรักษาหรือการวินิจฉัยที่มีผลต่อพันธุกรรมมนุษย์ของแต่ละบุคคล จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้มีการประเมินเบื้องต้นอย่างเคร่งครัด ความเกี่ยวพันและประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นและต้องเป็นไปตามข้อบังคับต่างๆของกฎหมาย
ข) ในทุกกรณีจะต้องได้รับความยินยอมของผู้เกี่ยวข้องก่อน ซึ่งจะต้องเป็นไปอย่างเสรี กรณีที่บุคคลผู้เกี่ยวข้องไม่อยู่ในสภาพที่จะให้ความยินยอมได้ จะต้องได้รับความยินยอมหรืออนุญาตตามที่ระบุไว้ในกฎหมาย ตามข้อแนะนำของผู้ที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดสิทธิของปัจเจกบุคคลที่จะต้องตัดสินใจว่าจะแจ้งผลการตรวจสอบทางพันธุกรรมและผลที่ตามมาของผลการตรวจสอบจะต้องได้รับการเคารพด้วยเช่นกันในกรณีของการวิจัย พิธีสารจะต้องได้รับการเสนอล่วงหน้าเพื่อให้มีการทบทวนตามมาตรฐานและข้อแนะนำของการวิจัยระดับชาติและระดับนานาชาติที่เกี่ยวข้องถ้าบุคคลใดบุคคลหนึ่งไม่สามารถให้ความยินยอมตามกฎหมาย การวิจัยที่จะมีผลต่อ พันธุกรรมของบุคคลนั้นอาจจะดำเนินการได้เฉพาะเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพของบุคคลนั้นโดยตรงเท่านั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการมอบหมายและสภาพของความคุ้มครองที่ระบุไว้ในกฎหมาย สำหรับการวิจัยที่ไม่ได้คาดหวังผลต่อสุขภาพโดยตรง อาจกระทำได้กรณียกเว้นเท่านั้น ซึ่งจะต้องมีข้อจำกัดที่ให้เกิดความเสี่ยงและภาระต่อบุคคลนั้นน้อยที่สุด และถ้าการวิจัยนั้นมุ่งที่จะทำเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพของบุคคลอื่นในวัยหรือสภาพทางพันธุกรรมเหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อระบุตามกฎหมาย และการวิจัยนั้นมีการปกป้องสิทธิมนุษยชนของปัจเจกบุคคลไม่มีผู้ใดได้รับการเลือกปฏิบัติทางลักษณะทางพันธุกรรมโดยตั้งใจล่วงละเมิดหรือมีนัยในการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน เสรีภาพขั้นพื้นฐานและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ข้อมูลทางพันธุกรรมของบุคคลที่เก็บรวบรวมไว้หรือนำมาประมวลเพื่อวัตถุประสงค์ทางการวิจัยหรือวัตถุประสงค์อื่นๆจะต้องได้รับการเก็บเป็นความลับตามที่ระบุในกฎหมายปัจเจกบุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะขอรับการชดเชยต่อความเสียหายที่จะเกิดผลของการรักษา ซึ่งอาจมีผลต่อพันธุกรรมของเขา ตามกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายในประเทศ ข้อจำกัดต่อหลักการของความยินยอมและความลับสามารถกำหนดโดยกฎหมาย เพื่อเป็นการปกป้องทางสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
ค) การวิจัยเรื่องพันธุกรรมมนุษย์ไม่มีงานวิจัยหรือผลงานวิจัยด้านพันธุกรรมมนุษย์ โดยเฉพาะด้านชีววิทยา พันธุศาสตร์และการแพทย์ที่จะละเมิดสิทธิมนุษยชน เสรีภาพขั้นพื้นฐานและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
กิจกรรมที่ตรงข้ามกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เช่น การทำโคลนนิ่งมนุษย์ จะไม่ได้รับการอนุญาตให้ดำเนินการได้ รัฐและองค์การระหว่างประเทศที่มีศักยภาพจะได้รับเชิญให้เข้าร่วมในการกำหนดกิจกรรมและมาตรการที่จำเป็นเพื่อการยืนยันว่าหลักการของปฏิญญายังได้รับการถือปฏิบัติ
ก) ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางชีววิทยา พันธุศาสตร์และแพทย์ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมมนุษย์จะได้รับการเผยแพร่ทั้งหมด เพื่อเป็นการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิมนุษยชน
ข) เสรีภาพในการทำวิจัย ซึ่งจำเป็นต่อความก้าวหน้าในด้านความรู้ เป็นส่วนหนึ่งของเสรีภาพทางความคิด การผลการวิจัยมาใช้ประโยชน์จะทำให้ผู้คนหายจากความทุกข์ทรมาน และเป็นการทำให้สุขภาพดีขึ้นสำหรับมวลมนุษย์ทั้งปวง
ค) สภาพการดำเนินกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์
ความรับผิดชอบในกิจกรรมของนักวิจัย รวมทั้งความพิถีพิถัน ความระมัดระวัง ความซื่อสัตย์และคุณธรรมทางพุฒิปัญญาในการดำเนินการวิจัย ตลอดจนการนำเสนอผลการวิจัยและการนำผลการวิจัยไปใช้ ควรจะเป็นเรื่องที่นักวิจัยจะต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษในการดำเนินการวิจัยเรื่องพันธุกรรมมนุษย์ เนื่องจากมีนัยทางจริยธรรมและสังคม ทั้งนี้ผู้กำหนดนโยบายทางภาครัฐและภาคเอกชนก็ตามต้องแสดงความรับผิดชอบในเรื่องนี้ด้วยรัฐควรจะใช้มาตรการที่เหมาะสมในการเสริมสร้างสภาวะต่างๆให้เอื้อต่อเสรีภาพในการดำเนินการวิจัยด้านพันธุกรรมมนุษย์ และพิจารณานัยทางจริยธรรม กฎหมาย สังคมและเศรษฐกิจของการวิจัยนั้นๆ โดยยึดหลักการของปฏิญญาฉบับนี้รัฐควรจะดำเนินการกำหนดกรอบการดำเนินการวิจัยด้าพันธุกรรมมนุษย์อย่างเสรี ให้สอดคล้องกับหลักการของปฏิญญาฉบับนี้ เพื่อปกป้องการเคารพสิทธิมนุษยชน เสรีภาพขั้นพื้นฐาน และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และเพื่อป้องกันสุขภาพของประชาชน นอกจากนี้ยังต้องดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่าผลการวิจัยจะไม่ถูกนำไปใช้ในการก่อความไม่ชอบรัฐจะต้องรับรองการส่งเสริมให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการอิสระที่ประกอบด้วยกรรมการจากหลายสาขา เพื่อประเมินประเด็นต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการวิจัยด้านพันธุกรรมมนุษย์ รวมทั้งการนำผลการวิจัยไปใช้
จ) ความร่วมมือกันและความร่วมมือกับนานาชาติ
รัฐจะต้องเคารพและส่งเสริมกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างปัจเจกบุคคล ครอบครัว และกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อการติดโรคทางพันธุกรรม นอกจากนี้ยังต้องส่งเสริมการวิจัยเพื่อ บ่งชี้ ป้องกันและรักษาโรคทางพันธุกรรม โดยเฉพาะโรคระบาด ที่จะมีผลกระทบต่อประชากรในโลกจำนวนมาก
รัฐจะต้องดำเนินการทุกรูปแบบเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับพันธุกรรมและความหลากหลายของมนุษย์ รวมถึงงานวิจัยเรื่องพันธุกรรม ซึ่งสองคล้องกับหลักการที่กำหนดในแถลงการณ์ฉบับนี้ อีกทั้งกระทำการต่างๆอันจะนำไปสู่การสร้างความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา
ก.) ตามกรอบความร่วมมือนานาชาติกับประเทศกำลังพัฒนา รัฐควรจะต้องสนับสนุนมาตรการเพื่อส่งเสริม:
1.การประเมินความเสี่ยงและผลประโยชน์จากงานวิจัยว่าด้วยเรื่องพันธุกรรมของมนุษย์และป้องกันการนำผลงานวิจัยไปใช้ในทางที่ผิดความสามารถของประเทศพัฒนาในการวิจัยชีววิทยามนุษย์และลักษณะทางพันธุกรรมโดยคำนึงถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละแห่งส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องชีววิทยา พันธุกรรมและการแพทย์อย่างเสรี
ข.) องค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องควรให้ความสนับสนุนและส่งเสริมแนวคิดโดยรัฐเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ข้างต้น
ฉ) การส่งเสริมหลักการที่ระบุในแถลงการณ์
รัฐจะต้องมีมาตรการที่เหมาะสมในการส่งเสริมหลักการที่ระบุไว้ในแถลงการณ์ผ่านการศึกษาและมาตรการอื่นที่เกี่ยวช้อง เช่นการทำงานวิจัย การจัดอบรมในกลุ่มสหสาชาวิชา และผ่านการสนับสนุนการศึกษาด้านชีวจริยธรรมในทุกระดับ โดยเฉพาะยิ่งในกลุ่มผู้มีความรับผิดชอบต่อการกำหนดนโยบายด้านวิทยาศาสตร์
รัฐจะต้องมีมาตรการที่เหมาะสมในการส่งเสริมงานวิจัย การอบรม และการเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลในรูปแบบอื่นๆเพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับแนวคิดพื้นฐานในเรื่องการปกป้องศักดิ์ศรีของความมนุษย์ให้แก่สังคมและผู้ที่มีความรับผิดชอบ โดยอาจกระทำผ่านการวิจัยในทางชีววิทยา พันธุกรรม และการแพทย์ รวมถึงการนำไปประยุกต์ใช้ รัฐควรจะต้องดำเนินการอำนวยความสะดวกในการจัดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในระดับนานาชาติเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว โดยกระตุ้นให้เกิดการแสดงความคิดในเรื่องสังคมวัฒนธรรม ศาสนา และปรัชญาอย่างเสรี
ช) การนำแถลงการณ์ไปปฏิบัติรัฐควรจะต้องกระทำการเพื่อส่งเสริมหลักการที่ระบุไว้ในแถลงการณ์นี้และควรส่งเสริมการปฏิบัติตามมาตรการดังกล่างโดยใช้มาตรการที่เหมาะสมรัฐควรจะต้องดำเนินการโดยใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมความเคารพต่อหลักการดังที่กล่าวมาแล้วและพัฒนาความรู้และการนำหลักการไปประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการศึกษา การฝึกอบรม และการเผยแพร่ข่าวสารข้อมูล นอกจากนี้รัฐควรจะต้องกระตุ้นการแลกเปลี่ยนและการสร้างเครือข่ายคณะกรรมาธิการอิสระในเรื่องศีลธรรมที่ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาความร่วมมือสูงสุดคณะกรรมาธิการชีวจริยธรรมนานาชาติแห่งยูเนสโกควรจะต้องส่งเสริมการเผยแพร่หลักการที่ระบุไว้ในแถลงการณ์และการตรวจสอบประเด็นดังกล่าวภายหลังการนำหลักการไปประยุกต์ใช้และการวิวัฒนาการของเทคโนโลยีดังกล่าว คณะกรรมาธิการยังสมควรให้คำแนะนำต่อการประชุมทั่วไปและให้คำแนะนำเกี่ยวกับความคืบหน้าจากแถลงการณ์ฉบับนี้ตามกระบวนการตามข้อกำหนดของยูเนสโก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการปฏิบัติที่อาจมีผลทำลายศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ เช่นการปรับลักษณะทางพันธุกรรมเพื่อป้องกันการเกิดโรคไม่มีข้อบัญญัติใดในแถลงการณ์ฉบับนี้ที่อาจตีความว่ามีนัยยะให้รัฐ กลุ่มคน และบุคคลใดๆอ้างสิทธิในการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมหรือดำเนินกิจกรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพขั้นพื้นฐาน รวมถึงหลักการที่กำหนดในแถลงการณ์ฉบับนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น