เข้าใจความขัดแย้ง
จากข้อพิพาทธรรมดาสู่ความขัดแย้งข้ามวัฒนธรรม
บทนำ
ข้อสังเกตเบื้องต้น ในเนื้อหาต่อไปนี้เราไม่ได้พยายามที่จะเสนอทางออกสุดท้ายเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความขัดแย้ง แต่เราประสงค์จะสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนค้นคว้าหาแนวทางเพิ่มเติมเกี่ยวกับการป้องกันและหาทางออกของความขัดแย้ง และเพื่อกระตุ้นเตือนให้ทุกคนเรียนรู้เทคนิคเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับสิ่งที่เราสามารถทำได้ในสถานการณ์ของชีวิตประจำวันที่เรามีข้อขัดแย้งกับคนบางคนหรือมีผู้เห็นแย้งจนไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องหนึ่งๆ
ความขัดแย้งและข้อพิพากมีอยู่ทั่วทุกหนแห่งและยังเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา เช่น ข้อโต้แย้งกับสมาชิกในครอบครัว จนกระทั่งถึงข้อโต้แย้งระหว่างประเทศ ไม่มี รัฐ ประเทศ สังคม ชุมชน องค์กรหรือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลใดที่ไม่เคยประสบกับความขัดแย้งไม่ช่วงเวลาใดก็เวลาหนึ่ง จนกลายเป็นปฏิสัมพันธ์ของชีวิตประจำวันไปแล้ว
คำจำกัดความของข้อพิพาทและความขัดแย้ง
ข้อพิพาทคือการไม่เห็นพ้องกันอย่งเปิดเผยระหว่างกลุ่ม (มนุษย์) ตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไป (ประชาชน กลุ่มประชาชน กลุ่มชาติพันธุ์ ประเทศ รัฐ วัฒนธรรม เป็นต้น) ผู้ซึ่งมีผลประโยชน์ต่างกัน มีเป้าหมายและ/หรือค่านิยมต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้นของการเห็นแย้งกัน ทำให้ข้อพิพาทพัฒนาไปเป็นการเผชิญหน้ากัน และท้ายที่สุดก็กลายเป็นความขัดแย้ง
ความขัดแย้งคือการต่อสู้ที่เปิดเผยและมักจะยาวนาน เช่น สงคราม การไม่ลงรอยกันหรือการปะทะระหว่างบุคคล ความคิดหรือผลประโยชน์
ความเห็น ความขัดแย้งเกี่ยวข้องกับคน ไม่เกี่ยวข้องกับวัตถุหรือเรื่องราวต่างๆ ความขัดแย้งเกี่ยวกับความรับรู้ของคน ความรู้สึก (อารมณ์) และปัญหาต่างๆ ของคน (จุดมุ่งหมาย ประเด็นของเรื่องต่างๆ) เพราะฉะนั้น การรับรู้ทั้งสามแบบ ความรู้สึกและปัญหาต้องได้รับการแก้ไขเพื่อสร้างผลที่ได้อย่างต่อเนื่องของความขัดแย้ง จะต้องหาข้อตกลงให้ได้ หรือไม่ก็ต้องมีการประนีประนอม นอกจากนี้ข้อพิพาทหรือความขัดแย้งแฝงจะเป็นบันไดนำไปสู่ความขัดแย้งอีกหลายขั้นตอน จนในที่สุดก่อให้เกิดความรุนแรง
ความขัดแย้งข้ามวัฒนธรรม
โลกาภิวัฒน์ทำให้คนต่างวัฒนธรรมติดต่อสื่อสารกันได้ ซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้งในรูปแบบ “ใหม่” คือ ความขัดแย้งข้ามวัฒนธรรม นับเป็นความขัดแย้งที่ท้าทายยิ่งเพราะว่าไปเกี่ยวพันกับความเชื่อที่ฝังลึกอยู่ในตัวเรา และสังคมของเรา เพราะฉะนั้นในโลกสมัยใหม่ การดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสันติเป็นสิ่งที่พึงปรารถนามาแต่ก่อน แต่ก็มีสิ่งที่ท้าทายเพิ่มขึ้นซึ่งทำให้การแก้ไขความขัดแย้งข้ามวัฒนธรรมเป็นทักษะที่สำคัญยิ่ง
ความหมายของวัฒนธรรม
หมายถึง คุณค่า กฏเกณฑ์ รูปแบบพฤติกรรม ความเชื่อ ทัศนคติ การแสดงออก ความเป็นสถาบันและผลผลิตทั้งหมดจากความพยายามของมนุษย์ ความคิด และการสร้างสรรค์ ซึ่งส่งต่อกันมาทางสังคม
ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับวัฒนธรรม
วัฒนธรรมเป็นเสมือนเครื่องกรอง เป็นเสมือนเลนส์ที่เราใช้มองโลก เป็นตัวกำหนดคุณค่า การรับรู้และทัศนคติของเรา คนมีคำจำกัดความของวัฒนธรรมแตกต่างกันไป บางนิยามรวมไปถึงกลุ่มชาติพันธุ์ เพศ อายุ รสนิยมทางเพศ ศาสนา ภาษา ความสามารถทางกายภาพและทางจิตใจ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ทุกคนมองโลกผ่านเครื่องกรองหรือเลนส์ทางวัฒนธรรมของตนเอง คล้ายกับแว่นตาที่เรามักจะรู้สึกได้เวลาสวม แต่จะถอดโดยไม่สวมแว่นตาไม่ได้ ในจณะที่นิยามอาจมีได้หลายหลาก การมีส่วนร่วมในวัฒนธรรม การเสาะแสวงหารวมทั้งการพบเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งซึ่งเราทั้งหมด (มนุษย์) มีอยู่แล้วเป็นปกติวิสัย
ความหมายของการดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
หมายถึง การอยู่ร่วมกัน การอยู่อย่างสงบสุข การมีปฏิสัมพันธ์และร่วมมือกับผู้อื่นหรือซึ่งกันและกัน แม้ว่าจะมีความแตกต่างหรือไม่ลงรอยกัน
ธรรมชาติของขัดแย้ง
ความขัดแย้งเกิดขึ้นเมื่อคนหรือกลุ่มคนมีผลประโยชน์ขัดกัน และ/หรือ เข้าไปแข่งขันเพื่อให้ถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้ และไม่สามารถเข้ากันได้ ความขัดแย้งสามารถทำลายล้างได้ทั้งทางสรีระและอารมณ์ หรืออาจจะนำไปสู่ความเจริญและผลิตผลสำหรับทุกฝ่ายได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าได้จัดการและแก้ไขความขัดแย้งไปในแนวทางใด
ความขัดแย้งเป็นแว่ลบอย่างไม่ต้องสงสัย ความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ท้าทายและเป็นสื่อกระตุ้น ความขัดแย้งเป็นการสร้างสรรค์ เป็นเครื่องมือที่สำคัญยิ่งของความก้าวหน้า แต่ความขัดแย้งไม่เคยเป็นสิ่งที่ราบรื่นกลับเป็นสิ่งที่วิกฤติ แต่ถ้าไม่มีความขัดแย้งก็ไม่มีวิวัฒนาการ ซึ่งดูเหมือนว่าเป็นกฏหรือกลยุทธ์ของธรรมชาติ เป็นกฎของจักรวาล
ในบางประเด็นเกี่ยวกับธรรมชาติของความขัดแย้ง ซึ่งอธิบายถึงข้อดีต่างๆ ที่ได้รับจากความขัดแย้งได้แก่
*การเผชิญกับปัจเจกบุคคลด้วยตัวเอง
*การท้าทายกับสถานะทางสังคมและกระตุ้นให้เกิดการสร้างสรรค์และนวตกรรมใหม่
*การผลักดันให้เกิดความเข้าใจและการประเมินซ้ำในเรื่องผลประโยชน์ อารมณ์ความรู้สึก ความต้องการ สิทธิและฐานะของอีกฝ่ายหนึ่ง
*ก่อให้เกิดวิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลง ทั้งยังช่วยป้องกันภาวะชะงักงัน
*มีการปรับและพัฒนาบทบาทรวมทั้งความสัมพันธ์ใหม่
*เพิ่มการรับรู้เกี่ยวกับทางเลือกอื่นๆ
*การสร้างบรรยากาศทางเลือกใหม่ๆ ในอนาคต
แง่มุมทางจิตวิญญาณของความขัดแย้ง
ทุกๆ ความขัดแย้งมีความหมายในตัวเอง เหมือนกับโรคทุกโรคที่บ่งบอกถึงวิธีการที่อินทรีย์สารกำลังสื่อว่ามีบางสิ่งบางอย่างผิดปกติ เพราะฉะนั้นเราไม่ควรไปกดดันความขัดแย้งแต่ควรมองว่าเป็นสมมติฐานของโรค และต้องวิเคราะห์ ทั้งยังต้องค้นหาให้ได้ว่าสิ่งต่างๆ นี้กำลังบอกอะไรแก่เรา ต่อมาเราต้องร่วมกันเปลี่ยนแปลงความขัดแย้ง โดยการมองว่าเป็นโอกาสของการวิวัฒนาการร่วมกัน ถ้าปราศจากวิกฤติก็ปราศจากการวิวัฒนาการ
ความขัดแย้งในฐานะที่เป็นกระบวนการ
ธรรมชาติของสถานการณ์ความขัดแย้งเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไป สถานการณ์ของความขัดแย้งมักจะถูกมองว่าเป็นคำถาม/ ปัญหาเชิงปฏิบัติหรือเป็นเหตุการณ์เฉพาะเพียงอย่างเดียว แต่แทบจะไม่มีกรณีนี้เกิดขึ้น ความขัดแย้งไม่ใช่สิ่งที่ขจัดออกไปได้โดยง่าย แต่มักจะพัฒนาผ่านขั้นตอนที่หลากหลาย ในแต่ละขั้นตอนจะมีปัจจัยเฉพาะที่ช่วยให้ความขัดแย้งเกิดขึ้นได้
ภาพรวมของขั้นตอนและระดับความขัดแย้ง
การพิพาท เป็นการโต้แย้งกันเชิงปฏิบัติ เป็นความขัดแย้งที่เป็นไปได้ ความขัดแย้งแฝงและที่เห็นได้ชัด เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการที่ปัจเจกบุคคลมอง (และรับรู้) ซึ่งกันและกัน การรับรู้เหล่านี้เป็นตัวกำหนดว่าความขัดแย้งจะเกิดขึ้นหรือไม่
ความขัดแย้งแฝงที่รู้สึกได้ ตามที่กล่าวไว้ในคำจำกัดความของความขัดแย้ง ความรู้สึกและทัศนะของคนที่มีซึ่งกันและกัน และสาเหตุความขัดแย้งเฉพาะจะส่งผลต่อพฤติกรรมต่างๆ ความขัดแย้งที่เปิดเผย เป็นความขัดแย้งที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสองขั้นตอนข้างต้น การเผชิญหน้ากันจะเกิดขึ้นโดยอาจจะเป็นความขัดแย้งหรือการแก้ปัญหา การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ในบางจุดของกระบวนการ ความขัดแย้งจะถูกยับยั้งไว้และแก้ปัญหาหรืออาจจะกลายเป็นความรุนแรงก็ได้ ขั้นตอนหลังการแก้ปัญหาขึ้นอยู่กับคุณภาพของผลที่ได้จากการแก้ปัญหาและ/หรือวิธีการที่ประสบผล สถานการณ์ในอนาคตอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งต่อเนื่องหรืออาจจะนำไปสู่การปฏิบัติการร่วมกัน การดำรงอยู่ร่วมกัน และ/หรือการวิวัฒนาการร่วมกัน
การแก้ไขความขัดแย้ง
การจัดการกับความขัดแย้งเป็นหนึ่งในกิจกรรมต่างๆ ที่เราต้องกระทำกันทุกวัน ประเภทของความขัดแย้งที่เราต้องประสบ จะไม่จำกัดอยู่ที่เรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการเฉพาะ และสามารถไปเกี่ยวพันกับความสัมพันธ์ สถานที่ทำงาน ชุมชนและผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ
คำจำกัดความของการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
หมายถึง วิธีการที่จะกำหนดกรณีพิพาท / ความขัดแย้ง และการแก้ปัญหาที่ไม่ใช้ความรุนแรง การแก้ปัญหาความขัดแย้งมีจุดมุ่งหมายเพื่อหาทางออกที่ยอมรับได้ของทั้งสองฝ่าย เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ วิธีการต่างๆ สามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มระดับความร่วมมือ เพื่อเสริมสร้างความปรองดอง และสร้างความสัมพันธ์ให้เข้มแข็ง
ความเห็น
ปัญหา (ข้อพิพาท และความขัดแย้ง) ต้องได้รับการแก้ไข เพราะฉะนั้นในโลกสมัยใหม่ ทุกคนตั้งแต่เด็กนักเรียนจนถึงผู้นำประเทศ ต้องพัฒนาทักษะการป้องกันความขัดแย้งและการแก้ปัญหา
เราทุกคนรู้ว่าความขัดแย้งคืออะไร ความขัดแย้งคือวิกฤติ เราสามารถมองความขัดแย้งเป็นสิ่งที่ท้าทายหรือเป็นสิ่งที่น่ากลัวก็ได้ การแก้ไขความขัดแย้งเป็นกระบวนการธรรมดาที่คน ใช้เพื่อยุติข้อพิพาทหรือวิกฤติ เพื่อให้เข้าใจกระบวนการของการแก้ไขปัญหาเราต้องเข้าใจระดับของความขัดแย้งก่อน
ระดับของความขัดแย้ง
ขณะที่เราเผชิญกับความขัดแย้ง เป็นการยากสำหรับผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องโดยตรงที่จะมองเห็นถึงต้นตอของความไม่ลงรอยกัน ต่อไปนี้เป็นการอธิบายถึงระดับ 3 ระดับของความขัดแย้ง เพื่อช่วยให้เข้าใจว่าความขัดแย้ง (ข้ามวัฒนธรรม) เกิดขึ้นได้อย่างไร และสามารถพัฒนาขึ้นไปเป็นสถานการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้
1) ระดับพื้นผิว ได้แก่ ข้อพิพาท
คำจำกัดความ่ของข้อพิพาท หมายถึง การทะเลาะ การโต้แย้งหรือความขัดแย้งของผลประโยชน์ การโต้แย้ง การไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง การถกเถียง และคำถามถึงความถูกต้อง การแสดงความไม่พอใจหรือการต่อต้าน ข้อพิพาทคือ สิ่งที่ปรากฎอยู่บนพื้นผิว ซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคคลสองกลุ่มหรือมากกว่า (ประชาชน ชุมชน รัฐ เป็นต้น) ในขั้นตอนแรกๆ การพิพาท (ความขัดแย้งแฝง) อยู่ในระดับพื้นผิว (ระดับเหตุผล) สำหรับ “บุคคลภายนอก” ซึ่งง่ายมากในการแก้ไข ดังนั้นจึงไม่มีอะไรรุนแรงเกินไป สำหรับผู้สังเกตการณ์ภายนอกบ่อยครั้งที่การพิพาทหลายๆ ครั้งดูเหมือนกับเป็นเรื่องน่าขบขัน
ตัวอย่าง มีเพื่อนบ้านสองคนตกลงกันไม่ได้เกี่ยวกับการกั้นรั้วเตี้ยๆ ระหว่างบ้านซึ่งเพื่อนบ้านหมายเลข ๅ เป็นคนสร้างขึ้น เขากล่าวว่ารั้วเป็นทรัพย์สินของเขา ในขณะที่เพื่อนบ้านหมายเลข 2 ไม่เห็นด้วย และคิดว่ารั้วควรจะขยับออกไปอีกในบ้านของเพื่อนบ้านหมายเลข 1 แต่ละคนเชื่อว่าตนเองถูกต้อง ส่วนอีกฝ่ายนั้นผิด นี่คือข้อพิพาท ในระดับเชิงเหตุผล/ เชิงปฏิบัติ ข้อพิพาทนี้สามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
2) ระดับล่างลงไป (ของการพิพาท) เป็นความขัดแย้งแฝง
การพิพาทมีหลายระดับ ภายใต้ข้อพิพาทหลักก็มีอีกระดับหนึ่ง่ของความขัดแย้งแฝง ระดับนี้ (ของความขัดแย้ง) เกิดขึ้นมาจากอารมณ์ที่ก่อตัวมาจากประสบการณ์ในอดีตและปัจจุบันกับบุคคลหรือกลุ่มที่กำลังขัดแย้งกันอยู่ อารมณ์ได้แก่ความโกรธ ความเจ็บปวด ความริษยา และความเศร้าเท่ากับเป็นตัวเร่งข้อพิพาท และทำให้เรื่องราวซับซ้อนยิ่งขึ้นกว่าระดับเชิงปฏิบัติ
มีหลายกรณีที่เหตุผลของการพิพาทเป็นเรื่องรอง และเป็นเพียงอาการของสาเหตุทางอารมณ์ที่ฝังตัวอยู่ สาเหตุนี่สามารถทำให้ผู้พิพาทรู้สึกถึงการปฏิบัติที่เคยได้รับในอดีตว่าไม่ยุติธรรมหรือการถูกปฏิเสธ เป็นต้น เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการพิพาท ความทรงจำและอารมณ์ที่เคยเจ็บปวดในอดีตก็ปะทุขึ้นมาและกีดขวางจิตใต้สำนึก โดย “ปฏิเสธ” การใช้เหตุผล การตัดสินใจที่ไม่เป็นธรรม (ตามแบบแผนหรือมีอคติ) เป็นการสร้างความตึงเครียด ความคับข้องใจ และ/หรือความกลัว อารมณ์เหล่านี้เท่ากับเป็นตัวเร่งให้ข้อพิพาทให้ละเลยเหตุผลต่างๆ
ผู้พิพาทส่วนใหญ่ไม่รู้ถึงอารมณ์และอคติของตนเองและอาจจะไม่เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น แต่การตัดสินที่ไม่เป็นธรรมหรืออคติทำให้ผู้พิพาทอาจจะเลือกการป้องกันตนเอง หรือเลือกที่จะใช้ความรุนแรงได้ เพราะฉะนั้น การพูดเกี่ยวกับเรื่องอารมณ์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญในการแก้ไขความขัดแย้ง
แม้ว่าประเด็นที่อยู่ในระดับต่ำกว่าพื้นผิวสามารถทำให้การพิพาทซับซ้อนยิ่งขึ้น แต่ความขัดแย้งสามารถแก้ไขได้เมื่อผู้พิพาทเริ่มวิเคราะห์ข้อขัดแย้งที่อยู่ในระดับล่างลงไป และหารากฐานของความขัดแย้ง ประเด็นเกี่ยวกับการตัดสินใจ อคติ เหตุการณ์ในอดีต ค่านิยมที่ต่างกัน เป็นต้น สามารถแก้ไขได้โดยการพูดคุยในแง่บวกได้
ตัวอย่าง เพื่อนบ้านสองคนเริ่มโต้เถียงกันและไม่สามารถตกลงกันได้ว่าจะวางรั้วไว้ตรงไหนดี ข้อโต้เถียงของพวกเขากำลังเพิ่มระดับขึ้นอย่างช้าๆ จนกระทั่งพวกเขาไม่พูดถึงต้นตอของข้อพิพาทอีกต่อไป คือ เรื่องการวางตำแหน่งของรั้ว การโต้เถียงเริ่มเปลี่ยนเป็นการเผชิญหน้ากับอารมณ์ส่วนตัว (ความขัดแย้ง) ระหว่างบุคลิกภาพสองบุคลิกภาพ พวกเขารู้สึกไม่สบายใจและเริ่มไม่สนใจเรื่องรั้วอีกแล้ว เพื่อนบ้านคนที่ 1 รุ้สึกว่า เพื่อนบ้านคนที่ 2 เชื่อถือไม่ได้ ไร้ความรับผิดชอบและไม่ซื่อสัตย์ ในอดีตเพื่อนบ้านคนที่ 1 เคยให้เพื่อนบ้านคนที่ 2 ยืมเลื่อยซึ่งไม่ได้รับคืน เพื่อนบ้านคนที่ 2 รู้สึกว่าเพื่อนบ้านคนที่ 1 ไร้เหตุผลต้องการครอบครองของผู้อื่น เขาลืมเรื่องยืมเลื่อยไปแล้ว เพื่อนบ้านคนที่ 1 ไม่เคยเชิญตอบแทนที่เพื่อนบ้านคนที่ 2 เชื้อเชิญให้ไปดื่มชาบ่อยๆ พวกเขาพูดถึงความเจ็บปวดของอดีต ความเข้าใจผิดและความไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน เพื่อนบ้านทั้งสองกำลังรู้สึกคับข้องใจ โกรธเคือง และเปลี่ยนประเด็นการโต้แย้ง จนลืมเรื่องรั้ว ซึ่งเป็นเรื่องต้นเหตุ
3) ระดับรากฐาน คือ ความขัดแย้ง
ความขัดแย้งที่หยั่งรากลึกอยู่ในระดับที่เหนือกว่าระดับอารมณ์และการตัดสินเป็นระดับเอกลักษณ์ของบุคคล ของกลุ่ม ชาติ และรัฐ เป็นต้น และเป็นความรู้สึกในเรื่องตัวตน ความขัดแย้งในระดับนี้หยั่งรากเข้าไปในเอกลักษณ์ของปัจเจกบุคคลหรือกลุ่ม ความขัดแย้งระดับนี้มุ่งโจมตีในเรื่องความยุติธรรมแต่ก็มีบ่อยครั้งที่เป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกเกี่ยวกับความมั่นคงและความอยู่รอดทางวัฒนธรรมทางสังคมและทางชาติพันธุ์
ความขัดแย้งที่หยั่งรากลึกนี้ มักเริ่มด้วยความกลัวอนจะนำไปสู่ความเกลียดชังและจบลงด้วยการย่ำยี ความขัดแย้งเช่นนี้มีลักษณะที่ซับซ้อนมากขึ้น เพราะว่าไปเกี่ยวพันกับเรื่องเอกลักษณ์ส่วนบุคคลที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ลักษณะของจิตวิญญาณ วัฒนธรรม ชาติพันธุ์ หรือทางกายภาพ
ความขัดแย้งที่ฝังรากลึกได้แก่เรื่อง การเหยียดเชื้อชาติ การแบ่งแยกเพศ การเกลียดพวกรักร่วมเพศ การแบ่งชนชั้น การแบ่งแยกวัย และความเกลียดกลัวต่างชาติ
ตัวอย่าง เป็นความขัดแย้งที่เลื่อนระดับไปอีกระดับหนึ่ง กล่าวคือ เพื่อนบ้านทั้งสองเริ่ม “ค้นพบ” เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ของตนเอง และกำลังเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมของตนเอง ในความคิดของเพื่อนบ้านคนที่ 1 เริ่มจาก ความไม่เชื่อถือเพื่อนบ้านคนที่ 2 เพราะว่าเรามีเชื้อชาติและนับถือศาสนาที่ต่างออกไป เขาไม่เคยชอบคนพวกนี้เลย (เพราะว่าถ้าย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์แล้ว ประเทศดั้งเดิมของทั้งสองเคยรุกรานซึ่งกันและกันและเคยครอบครองดินแดนประเทศของเขาเป็นเวลานาน) เพื่อนบ้านคนที่สองมักรู้สึกว่าเพื่อนบ้านคนที่หนึ่งเป็น “คนไม่มีการศึกษา หยาบ กระด้างและล้าหลัง” ในบางครั้งเขารู้สึกว่าเขามีความฉลาดและมีวัฒนธรรมเหนือกว่า เพื่อนบ้านทั้งสองไม่พูดคุยกันอีกต่อไปเพราะว่าพวกเขารู้สึกว่าการไปพูดกับบุคคลเช่นนี้เป็นเรื่องไร้สาระ ทั้งสองเชื่อว่าการกั้นรั้วนั้นไม่เพียงพอแล้ว คงต้องกั้นเป็นกำแพงสูง แต่การแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งย้ายไปอยู่ที่อื่น พวกเขายังนำครอบครัวและเพื่อนเข้ามาในการพิพาทด้วยโดยการใส่ความคิดและทัศนะต่างๆ เกี่ยวงกับเรื่องนี้ จาก “การชวนเชื่อ” ที่พวกเขาพยายามหามาสนับสนุนการตัดสินและอคติ เป็นต้น ล้วนมาจาก “การเลือกสรรค์” ของพวกเขาทั้งสิ้น
การคุกคามเป็นขั้นตอนสุดท้ายของความขัดแย้งที่ไร้ความรุนแรง
การพิพาทธรรมดาได้ขยายตัวไปสู่ความขัดแยงข้ามวัฒนธรรมเต็มรูปแบบ ซึ่งได้ไปเกี่ยวข้องกับชุมชนในระดับกว้าง เพื่อนบ้านคนที่สองเป็นส่วนหนึ่งของชนกลุ่มน้อยในชุมชนและ มี “พวกหัวรุนแรง” ที่เรียกร้องให้ขับไล่ชนกลุ่มน้อยออกจากชุมชน (หมู่บ้าน เมือง) เพราะว่าคนพวกนี้เป็นตัวสร้างปัญหา บางคนวางแผนจะเผาบ้านของเพื่อนบ้านคนที่สองเพื่อให้เป็นตัวอย่าง และเป็นการสร้างความหวาดกลัวให้พวกชนกลุ่มน้อย ความขัดแย้งนี้กำลังจะกลายเป็นความรุนแรง
ความขัดแย้งที่รุนแรง
เพื่อนบ้านคนที่ 2 ได้ทราบข่าวลือและซื้อปืนมาเพื่อป้องกันตนเองและครอบครัว ในคืนหนึ่งเพื่อนบ้านคนที่ 1 และเพื่อนฝูงกลับมาบ้านหลังจากไปเที่ยวบาร์และดื่มไปมาก พวกเขาเดินพูดคุยกันเสียงดัง ผ่านที่ดินของเพื่อนบ้านคนที่ 2 เพื่อใช้เป็นเส้นทางลัดไปยังบ้านเพื่อนบ้านคนที่ 1 ในขณะเดียวกันเพื่อนบ้านคนที่ 2 ตื่นขึ้นและได้ยินเสียงคนเดินผ่าน เขาขอให้พวกเพื่อนบ้านคนที่ 1 ออกไปจากบริเวณบ้าน แต่กลับได้รับเสียงหัวเราะและการพูดดูถุกเกี่ยวกับตัวเขาและครอบครัว ด้วยความกลัวเขาจึงยิงปืนออกไปนอกหน้าต่างท่ามกลางความมืดหนึ่งนัด กระสุนแฉลบไปโดนคนหนึ่งในกลุ่มวันต่อมาพวกกลุ่มหัวรุนแรงก็โจมตีพวกชนกลุ่มน้อยและทุบตีเพื่อนบ้านคนที่ 2 ถึงแก่ความตาย
ความขัดแย้งระดับชาติ
สื่อมวลชนรายงานข่าวนี้ แบะในวันต่อมามีการประท้วงและเกิดการปะทะกันระหว่างกลุ่มชนสองกลุ่มและแพร่ขยายไปยังเมืองต่างๆ จากการปะทะได้นำไปสู่การจลาจล จนตำรวจและทหารต้องออกมาควบคุมสถานการณ์ ผลของการจลาจลทำให้ทั้งสองฝ่ายเสียชีวิตจำนวนมาก
ความขัดแย้งในระดับนานาชาติ
ตรงจุดนี้สื่อมวลชนต่างประเทศได้รายงานข่าวความไม่สงบเรียบร้อยและการต่อสู้ของชนกลุ่มน้อยในประเทศของเพื่อนบ้านคนที่ 1 ในขณะเดียวกันรัฐบาลของประเทศเพื่อนบ้านคนที่ 2 ซึ่งมีเชื้อชาติของเพื่อนบ้านคนที่ 2 ได้ประท้วงมายังรัฐบาลของประเทศเพื่อนบ้านคนที่ 1 และขู่ว่าจะบุกข้ามพรมแดนมา ถ้ารัฐบาลของเพื่อนบ้านคนที่ 1 ไม่ให้ความคุ้มครองชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่
ภายในระยะเวลาอันสั้น วิกฤตการณ์ระหว่างประเทศก็เกิดขึ้นจากเหตุข้อพิพาทระหว่างเพื่อนบ้านสองคน เกี่ยวกับรั้วเล็กๆ ในสวนเท่านั้นเอง
ตอนที่ 3 การจัดการความขัดแย้ง
การแก้ไขความขัดแย้งคืออะไร
“การแก้ไขความขัดแย้งเกิดขึ้นได้เมื่อสองฝ่ายเข้าใจสถานะของแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจน ทั้งสองฝ่ายเต็มใจที่จะพูดคุยกันเนื่องจากต้องการที่จะแก้ไขความขัดแย้งโดยไม่คำนึงถึงความไม่ลงรอยกัน การแก้ปัญหาเกิดขึ้นได้เพียงแต่ทั้งสนองฝ่ายพยายามไปให้ถึงจุดที่น่าพอใจร่วมกัน”
ในอดีตเราต้องพึ่งพาผู้ที่มีตำแหน่งสูงในการจัดการ ผู้ที่มีตำแหน่งสูงสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและใช้อำนาจตัดสินได้ทันทีเมื่อมีความจำเป็นซึ่งมักใช้ “แก้ไข” สถานการณ์ความขัดแย้ง แต่การแก้ปัญหาเหล่านี้จะส่งผลไปในระยะยาวหรือไม่
คำจำกัดความของการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เสนอไปข้างต้น เป็นตัวบ่งบอกถึงวิธีการแก้ปัญหาซึ่งวิธีการต้องเป็นประชาธิปไตยมากและผู้ที่ได้รับผลกระทบต้องเข้ามามีส่วนร่วมต่อไปนี้เป็นข้อแนะนำบางประการที่เราสามารถนำไปใช้เมื่อต้องการแก้ไขความขัดแย้งในอนาคต
เทคนิคการแก้ไขความขัดแย้ง
ความพยายามไปให้ถึงข้อตกลงในสถานการณ์ความขัดแยง จำเป็นต้องทราบถึงสาเหตุ 5 ประการ ความขัดแย้งซึ่งแตกต่างกันไปโดยอยู่บนพื้นฐานต่อไปนี้
*ผลประโยชน์
*ความเข้าใจ
*ค่านิยม
*รูปแบบ
*ความคิดเห็น
อย่างน้อยที่สุดปฏิกิริยาสามแบบที่มีต่อความขัดแย้ง ได้แก่
*การรุกราน (ต่อสู้)
*การยืนยัน (เจรจา)
*ความสงบ (อยู่เฉย)
ทักษะ 5 ประการในการเจรจาความขัดแย้ง ได้แก่
*ตรงประเด็น
*เข้าใจ
*ใช้หลัก “วิน – วิน” (ทั้งสองฝ่ายรุ้สึกว่าแต่ละฝ่ายได้ประโยชน์)
*ช่วงเวลาเหมาะสม
*ตรวจสอบผลที่ได้
วิธีการเหล่านี้แก้ปัญหาเหล่านี้มีคุณค่า และนำไปใช้ได้เพื่อลดความตึงเครียดระหว่างบุคคลและกลุ่ม แต่ต้องเน้นเป็นพิเศษในทักษะของผู้พิพาทให้สามารถเจรจาให้ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
ข้อแนะนำ 10 ประการในการแก้ไขความขัดแย้ง
การไปเกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง จำเป็นต้องพิจารณาในเรื่องต่างๆ ดังนี้
1. รักษาบรรยากาศให้เป็นไปในทางบวก
2. รู้เรื่องราวของตัวคุณเองและฐานะของคุณอย่างชัดเจน
3. รู้เรื่องคู่กรณีอย่างชัดเจน
4. รู้สาเหตุของความขัดแย้งอย่างชัดเจน
5. รู้ปัจจัยพื้นฐานของสาเหตุอย่างชัดเจน
6. รับผิดชอบต่อผลตอบสนองของคุณ
7. กระตุ้นให้รู่กรณีแสดงความรู้สึกออกมา
8. เน้นเรื่องเป้าหมายและความต้องการร่วมกัน
9. สร้างและเสนอทางเลือกต่างๆ
10. พัฒนาและสร้างส่วนที่ “สามารถทำได้”
การจัดการและการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างรู่กรณีโดยไม่มีบุคคลที่สามเข้าไปเกี่ยวข้องการเจรจา
วิธีหนึ่งของการจัดการความขัดแย้งเชิงบวกคือ การเจรจา การเจรจาหมายถึง “การกระทำที่สองฝ่ายไม่ยอมรับ กับผลลัพธ์สุดท้าย”
กล่าวอีกนัหนึ่งหมายความว่า แต่ละฝ่ายที่เป็นคู่เจรจาต้องยอมรับข้อตกลงที่เกิดขึ้นและแต่ละฝ่ายมีผลประโยชน์ร่วมกับอีกฝ่ายในกรณีที่ตกลงกันได้ ดังนั้นในการเจรจาเราต้องตัดสินใจร่วมกัน
ตามคำจำกัดความการเจรจา คือสิ่งซึ่งเรากระทำทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนบุคคลในอาชีพหรือทางธุรกิจ ตัวอย่างเช่น คนเจรจากับคู่สมรสว่าจะใช้เงินไปกับเฟอร์นิเจอร์ใหม่หรือไม่ หรือกับลูกๆ ที่ต้องมีหน้าที่ทำงานบ้าน พนักงานเจรจาขอขึ้นเงินเดือนกับนายจ้าง และคนอาจเป็นส่วนหนึ่งของการเจรจาเรื่องทางธุรกิจหรือนโยบายระดับสูงในระดับส่วนท้องถิ่น ภูมิภาคระดับชาติหรือนานาชาติ
เรามักได้รับการส่งเสริมให้ไปมีส่วนในกระบวนการพัฒนา การเข้าร่วม หมายถึง การร่วมกันแสดงความคิดเห็นเพื่อให้ได้ข้อตกลง การเข้าร่วมจะประสบความสำเร็จได้ต้องขึ้นอยู่กับทักษะการเจรจา
การเจรจาไม่ใช่เรื่องง่าย คนส่วนใหญ่รู้ว่าการเจรจามี 2 วิธีคือ สุภาพและนุ่มนวลหรือยุ่งยากและลำบาก ไม่ว่าอยู่ในฐานะใดย่อมเกี่ยวข้องกับสิ่งที่แต่ละฝ่ายต้องการและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคู่เจรจา
พื้นฐานของการเจรจา
คน
แยกคนออกจากปัญหา ประเด็นแรกนี้มีความสำคัญเพราะว่าการเจรจาเกี่ยวกับคนที่มีอารมณ์ ความเชื่อ ความชอบและความไม่ชอบ ซึ่งมีอิทธิพลต่อวิธีการมองปัญหาและการแสวงหาทางออก ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่คู่เจรจาต้องกำหนดปัญหาและทำงานร่วมกันเพื่อแก้ปัญหา นอกจากนี้ไม่ควรกล่าวโจมตีและพยายามเปลี่ยนแปลงคนที่เข้าร่วมในกระบวนการเจรจา
ผลประโยชน์
เน้นเรื่องผลประโยชน์แต่ไม่เน้นตำแหน่ง ประเด็นที่สองเน้นเรื่องความสำคัญในการชี้ประเด็นและเน้นผลประโยชน์ที่แท้จริงของคู่เจรจา โดยไม่เน้นที่ตำแหน่ง ใช้คำถามพื้นๆ เช่น “ทำไม” เพื่อค้นหาตัวเอง และผลประโยชน์ที่แท้จริงของอีกฝ่ายหนึ่ง นอกจากนี้สิ่งที่มีอำนาจมากที่สุด แต่มักจะมองข้ามไปคือเรื่องความต้องการพื้นฐานที่เป็นสากลของมนุษย์คือมีความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจดี มีความมั่นคงได้รับการยอมรับจากสังคม ความรุ้สึกเป็นเจ้าของและการได้ควบคุมชีวิตผู้อื่นแต่เหนืออื่นใดคือการรับฟังในสิ่งที่กำลังพูด
ทางเลือก
สร้างความเป็นไปได้และทางเลือกที่หลากหลาย ก่อนที่จะตัดสินใจ กำหนดเวลาสำหรับคู่กรณีเพื่อสร้างทางออกของปัญหาให้หลากหลาย อุปสรรคที่สำคัญในการสร้างทางเลือก ได้แก่
*การตัดสินก่อนเวลาอันควร
*การหาคำตอบเพียงคำตอบเดียว
*การตั้งสมมติฐานที่ตายตัว
*การตั้งสมมติฐานที่ว่า “การแก้ปัญหาจะยิ่งเป็นปัญหา”
ความเห็น การเอาชนะอุปสรรคเหล่านี้ได้จำเป็นต้อ
1. แบ่งแยกการตัดสินออกจากการสร้างทางเลือก กลยุทธ์หนึ่งที่ใช้คือการระดมสมอง
2. มองทางเลือกหลายๆ ทางดดยการใช้ชาร์ทวงกลม ซึ่งช่วยเสริมสร้างรูปแบบความคิดต่างๆ ในเรื่องเดียวกัน
3. พยายามแสวงหาสิ่งที่ได้ร่วมกันโดยการกำหนดผลประโยชน์ร่วม
4. หาทางออกของปัญหาจากการทำให้เป็นปัญหาของเราเองโดยการพยายามเข้าใจฐานะและก้าวตามให้ทันกับทางออกของปัญหาร่วมกัน
เกณฑ์และการวัดผลที่ได้
ยึดมั่นว่าผลลัพธ์ต้องตั้งอยู่บนเกณฑ์มาตรฐานที่สามารถวัดได้ ซึ่งจะทำให้เชื่อมั่นว่าได้ทางออกของปัญหาที่เที่ยงตรง
สี่ประเด็นข้างต้น เป็นสิ่งที่สำคัญและเหมาะสมตลอดกระบวนการเจรจา
บทบาทของบุคคลที่สามในการป้องกันและแก้ปัญหาความขัดแย้ง
บทบาทต่างๆ ส่วนใหญ่ ขึ้นอยู่กับระดับที่แตกต่างกันของความเชื่อถือ ความผูกพัน การมีส่วนร่วมและ/หรืออำนาจหน้าที่
เงื่อนไขในเบื้องต้นคือความปรารถนาให้คู่กรณีขัดแย้งได้พบกับทางออก (อย่างสันติ) ของข้อพิพาทหรือความขัดแย้ง และ/หรือสร้างการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
บทบาทที่เป็นฝ่ายรับคือ บุคคลที่สามได้รับการร้องขอจากคู่กรณีพิพาทในฐานะที่เป็น
ผู้ดำเนินการอภิปราย
ผู้สนับสนุน
ผู้ไกล่เกลี่ย
ผู้วินิจฉัย / อนุญาโตตุลาการ
บทบาทที่เป็นฝ่ายรุกคือ บุคคลที่สามเข้ามามีส่วนร่วมจากความคิดริเริ่มของตนเองในฐานะที่เป็น
ผู้สร้างสันติภาพ
เจ้าหน้าที่ระดับสูง หรือที่มีอำนาจที่สามารถบังคับ หรือกำหนดให้คู่กรณีขัดแย้ง ตกลงแก้ไขความขัดแย้ง (เช่น พ่อแม่ หรือครู หรือผู้อำนวยการโรงเรียน เป็นต้น)
ผู้รักษาสันติภาพ
ผู้รักษาสันติภาพเข้าไปมีส่วนหลังจากความขัดแย้งได้แก้ไขแล้ว หรืออย่างน้อยที่สุดหลังจากบรรลุข้อตกลงการหยุดยิง ซึ่งมักเป็นบทบาทของสหประชาชาติ
ความเห็น ข้อมูลสำคัญสำหรับรัฐบาล ทหารตำรวจ
ถ้าท่านเป็นคู่กรณีขัดแย้งโดยตรง ท่านไม่สามารถมีบทบาทใดๆ ตามที่กล่าวถึงข้างต้นได้ แต่ท่านจำเป็นต้องมีบุคคลที่สาม
เวลาส่วนใหญ่ใช้ไปกับการเล่นบทบาททั้งสองบทบาท (หมายความว่าพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งและต้องการแก้ไขความขัดแย้งผ่านผู้มีอำนาจ ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปไมได้)
ในกรณีของสถาบันพระมหากษัตริย์ พระมหากษัตริย์มีบทบาทพิเศษที่อยู่เหนือคู่กรณีขัดแย้ง และไม่สามารถ (และไม่ควร) เข้าไปเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งใดๆ ก็ตาม เพราะฉะนั้นในบางครั้งพระมหากษัตริย์สามารถ (และต้อง) มีบทบาทสำคัญในการแก้ไขและป้องกันความขัดแย้งที่รุนแรง
ในบางครั้งทหารสามารถมีบทบาทสำคัญ (ทั้งด้านบวกและลบ) ในสถานการณ์ต่างๆ
กลยุทธ์การแก้ไขความขัดแย้ง
วิธีการที่ได้รับความนิยมที่ใช้แก้ปัญหาความขัดแย้งคือการชนะและการสูญเสีย
กลยุทธ์เหล่านี้อธิบายกว้างๆ ได้ดังนี้คือ
Win – lose
ผลที่ได้จากกลยุทธ์นี้คือ ฝ่ายหนึ่งเสียและฝ่ายหนึ่งได้ โดยส่วนใหญ่กลยุทธ์นี้ยังไม่น่าพอใจ และมีโอกาสที่ความขัดแย้งจะเกิดขึ้นอีกในภายหลัง
Lose – lose
ทั้งสองฝ่ายเป็นผู้สูญเสีย ซึ่งมักมีฝ่ายที่สามเข้ามาเกี่ยวข้อง และพยายามให้ประนีประนอมที่แต่ละฝ่ายไม่ยอมรับ
Win – win
ทั้งสองฝ่ายพอใจกับผลที่ได้ และเน้นที่การแก้ปัญหาไม่ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดสูญเสีย
สรุป
เหตุการณ์ความขัดแย้งสามารถได้ผลประโยชน์ร่วมกันได้ ถ้าดำเนินการถูกวิธี และมีทัศนคติที่ถูกต้องเหมาะสมในการแก้ปัญหา
ความพยายามใช้กลยุทธ์แบบ win-win เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายพอใจผลลัพธ์ที่ออกมา ซึ่งถือเป็นสิ่งที่พึงประสงค์สูงสุด ความขัดแย้งควรแก้ไขตามวิถีทางประชาธิปไตย การใช้บุคคลที่สามก็เกิดประโยชน์เมื่อมีความจำเป็น
จุดมุ่งหมายของกระบวนการแก้ปัญหา ก็เพื่อคู่กรณีเกิดความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งในอนาคต
การสื่อสารและการโฆษณาชวนเชื่อ (เชิงกลยุทธ์)
ในช่วง การะบวนการแก้ปัญหา หรือหลังขั้นตอนแก้ปัญหา อาจจะเป็นการยากที่ผู้นำของคู่กรณีขัดแย้งจะ “ขาย” การประนีประนอมหรือข้อตกลงของตนเองให้แก่ผู้ที่อยู่ฝ่ายตน เหตุผลก็คือว่า ความขัดแย้งส่วนมาก (ในปัจจุบัน) เกิดขึ้นและถูกเร่งเร้าหรือต่อสู้กับผ่านสงครามการโฆษณาชวนเชื่อ และสงครามทางความคิดในจิใจของคนก่อนที่จะก้าวไปสู่ความรุนแรง (บทบาททางการศึกษา)
หลังจากความขัดแย้งกลายเป็นความรุนแรง สื่อมวลชนรายงานข่าว และการโฆษณาชวนเชื่ออย่างเข้มข้นจนความขัดแย้งไปไกลเกินกว่าจะควบคุมได้ (การสร้างพลวัตในตนเอง) ต่างฝ่ายต่างตำหนิและกล่าวหาอีกฝ่ายด้วยความรุนแรง มีการสร้างภาพของศัตรูเพื่อจูงใจประชาชนของตนเอง เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น