วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เขตการค้าเสรีอาเซียน

เขตการค้าเสรีอาเซียน
 (ASEAN Free Trade Area : AFTA)
 1.           ความเป็นมา
ในช่วง 10 ปีแรกแห่งการก่อตั้ง อาเซียนมีการเจริญเติบโตขององค์กรอย่างช้า ๆ ให้ความสำคัญต่อการจัดทำกรอบงานอย่างกว้างๆ และยืดหยุ่นได้ เพื่อให้สอดรับกับความคิดเห็นอันหลากหลายของสมาชิก และเพื่อให้เป็นรากฐานอันมั่นคงสำหรับจุดมุ่งหมายร่วมกันต่อไป แม้ว่าจะไม่ค่อยมีผลสำเร็จเป็นรูปธรรมมากนัก  แต่ก็เป็นประโยชน์ต่อการสานสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาลอาเซียน ทำให้เกิดค่านิยมที่ดี และวางรากฐานความสำเร็จในอนาคต ทิศทางในการดำเนินงานของอาเซียนเริ่มชัดเจนขึ้นในปี 2520 เมื่อผู้นำอาเซียนประชุมสุดยอดครั้งแรก ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย  และได้ลงนามในปฏิญญาสมานฉันท์อาเซียน  (Declaration of ASEAN Concord)  และสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia : TAC) 
 2.           ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนในระยะแรก
อาเซียนตระหนักดีว่า ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาสันติภาพ เสถียร-ภาพ และความมั่นคงของภูมิภาค ดังนั้น นอกจากความร่วมมือทางการเมือง สังคม การศึกษา และวัฒนธรรม แล้ว อาเซียนจึงมุ่งมั่นที่จะขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันมาโดยตลอดอีกด้วย
ในปี 2520 รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ลงนามในความตกลงว่าด้วยสิทธิพิเศษทางการค้าอา-เซียน หรือ ASEAN PTA (Preferential Trading Arrangements : PTA) ซึ่งเป็นการให้สิทธิพิเศษโดยสมัครใจ และแลกเปลี่ยนสินค้ากับสินค้า สิทธิพิเศษส่วนใหญ่เป็นการลดภาษีศุลกากรขาเข้า และการผูกพันอัตราอากรขาเข้า ณ อัตราที่เรียกเก็บอยู่ หลังจากนั้นก็มีโครงการความร่วมมือต่างๆ  ตามมา  โดยเฉพาะด้าน    อุตสาหกรรมมีถึง 4 โครงการ ได้แก่ โครงการอุตสาหกรรมอาเซียน  (ASEAN Industrial Project: AIP) ปี 2523 โครงการแบ่งผลิตทางอุตสาหกรรมอาเซียน (ASEAN Industrial Complementation: AIC) ปี 2524  โครงการร่วมลงทุนด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (ASEAN Industrial Joint Ventures: AIJV) ปี 2526 และโครงการแบ่งผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ (Brand-to-Brand Complementation: BBC) ปี 2532 จนกระทั่งปี 2533 องค์ประกอบสำคัญของเขตการค้าเสรีอาเซียนเริ่มปรากฏให้เห็นเป็นครั้งแรกเมื่อรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ตกลงใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมบางชนิด รวมทั้งซีเมนต์ ปุ๋ย และเยื่อกระดาษ
อย่างไรก็ตาม  โครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจเกือบทั้งหมดของอาเซียน ก่อนการจัดตั้งอาฟต้าไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัย ดังนี้


*      สมาชิกอาเซียนไม่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ แม้จะอยู่ในภูมิภาค
เดียวกัน การรวมตัวเกิดจากการคุกคามความมั่นคงจากภายนอก มิใช่จากสำนึกแห่งความเป็นภูมิภาค   เดียวกัน
*      แต่ละประเทศอยู่ระหว่างการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ จึงมองกันเป็นคู่แข่งการส่งออกและเห็นว่าภายนอกภูมิภาค คือ แหล่งเงินทุนและเทคโนโลยี
*      โครงสร้างองค์กรอ่อนแอ สำนักเลขาธิการอาเซียนมีงบประมาณจำกัด ไม่มีอำนาจและความเป็นอิสระเพียงพอที่จะกำหนดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
 3.           อาฟต้า : ความสำเร็จครั้งสำคัญของอาเซียน
อาเซียนได้พยายามศึกษาหาแนวทาง  และมาตรการที่จะขยายการค้าระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น     โดยเฉพาะ การเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกัน  โดยใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากัน (Common Effective Preferential Tariff : CEPT) สำหรับสินค้าของอาเซียน ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 เมื่อเดือนมกราคม 2535  ณ ประเทศสิงคโปร์  จึงได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอของไทย โดยนายกรัฐมนตรี อานันท์ ปันยารชุน      ในการเริ่มจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) ตามกรอบความตกลงแม่บท  ว่าด้วยการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน (Framework Agreement on Enhancing ASEAN Economic Cooperation)  และความตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าเสรี     อาเซียน [Agreement on the Common Effective Preferential Tariff (CEPT) Scheme for the ASEAN Free Trade Area (AFTA)]
ในขณะนั้น อาเซียนมีสมาชิกเพียง 6 ประเทศ  ได้แก่ บรูไน ดารุสซาลาม  อินโดนีเซีย มาเลเซีย      ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์ และไทย ต่อมาภายหลังอาเซียนได้ขยายจำนวนสมาชิกเป็น 10 ประเทศ โดยมีเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกในปี 2538 ลาวและพม่า ในปี 2540 และกัมพูชาในปี 2542 
·       หลักการของอาฟต้า
เมื่อแรกดำเนินการ อาเซียนได้กำหนดเป้าหมายที่จะลดภาษีศุลกากรระหว่างกันลงเหลือร้อยละ
0-5   รวมทั้งยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีภายในเวลา 15 ปี เริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2536 และสิ้นสุด 1 มกราคม 2551  ต่อมาในปี 2537 อาเซียนได้เร่งรัดการดำเนินงานอาฟต้าจากเดิม 15 ปี เป็น 10 ปี คือ ให้ลดภาษีลง
เหลือร้อยละ 0-5 ภายใน 1 มกราคม 2546  รวมทั้งให้นำสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตรแปรรูปในรายการที่เคยได้รับการยกเว้นการลดภาษีเป็นการชั่วคราวและสินค้าเกษตรไม่แปรรูป เข้ามาลดภาษีภายใต้อาฟต้าด้วย



            กำหนดการลดภาษี
สินค้าอุตสาหกรรมและเกษตรแปรรูป แบ่งออกเป็น 2 บัญชี
       1.  บัญชีลดภาษี (Inclusion List : IL)  แยกเป็น 2 ประเภท
                                1.1          สินค้าเร่งลดภาษี (Fast Track)  จะต้องลดภาษีเหลือร้อยละ 0-5 ภายในเวลา 7 ปี  (1 มกราคม 2543 สำหรับสมาชิกเดิม และ 1 มกราคม 2543-2550 สำหรับสมาชิกใหม่) ประกอบด้วย สินค้า 15 กลุ่ม ได้แก่ น้ำมันพืช  เคมีภัณฑ์ ปุ๋ย ผลิตภัณฑ์ยาง เยื่อกระดาษ  ผลิตภัณฑ์เซรามิคและแก้ว  แคโทดที่ทำจากทองแดง เฟอร์นิเจอร์ไม้และหวาย ปูนซีเมนต์  เภสัชภัณฑ์  พลาสติก  ผลิตภัณฑ์หนัง  สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์
                                1.2          สินค้าลดภาษีปกติ (Normal Track) จะต้องลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0-5 ภายในเวลา 10 ปี (1 มกราคม 2543 สำหรับสมาชิกเดิม และ 1 มกราคม 2549-2553 สำหรับสมาชิกใหม่)
         2.  บัญชียกเว้นลดภาษีชั่วคราว (Temporary Exclusion List : TEL)
                                สมาชิกสามารถขอยกเว้นการลดภาษีชั่วคราวสำหรับสินค้าบางรายการได้  โดยนำสินค้านั้น  ไว้ในบัญชียกเว้นลดภาษีชั่วคราว  แต่ต้องเริ่มทยอยนำเข้ามาลดภาษีปีละ 20% ของจำนวนรายการที่ขอยกเว้นทั้งหมด โดยเริ่มนำเข้ามาลดภาษีช้ากว่ารายการใน IL 3 ปี และลดภาษีเหลือร้อยละ 0-5 ภายในเวลา 7 ปี (ลดภาษี 1 มกราคม 2539-1 มกราคม 2546 สำหรับสมาชิกเดิม และ 1 มกราคม 2542-2546 ถึง 1 มกราคม 2549-2553 สำหรับสมาชิกใหม่)
สำหรับสินค้าเกษตรไม่แปรรูป  เริ่มนำเข้ามาลดภาษีช้ากว่าสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตรแปรรูป คือ เริ่มในปี 2539 (สมาชิกเดิม) และปี 2542-2546 (สมาชิกใหม่) แต่จะต้องสิ้นสุดพร้อมกันกับสินค้าอุตสาห-กรรมและเกษตรแปรรูป คือ ในปี 2546 (สมาชิกเดิม) และปี 2549-2553 (สมาชิกใหม่) ยกเว้น สินค้าอ่อนไหวและอ่อนไหวสูง ทั้งนี้ การลดภาษีแบ่งออกเป็น 3 บัญชี  ได้แก่
1.  บัญชีลดภาษี (Inclusion List : IL)  ประเทศสมาชิกจะต้องลดภาษีสินค้าในบัญชีนี้  ลงเหลือ
ร้อยละ 0-5 ภายในเวลา 7 ปี (1 มกราคม 2539-1 มกราคม 2546 สำหรับสมาชิกเดิม และ 1 มกราคม 2542-2546 ถึง 1 มกราคม 2549-2553 สำหรับสมาชิกใหม่)
2.  บัญชียกเว้นลดภาษีชั่วคราว (Temporary Exclusion List : TEL) ประเทศสมาชิกสามารถ
ขอยกเว้นการลดภาษีสินค้าเกษตรไม่แปรรูปเป็นการชั่วคราวได้  โดยจัดสินค้าไว้ในบัญชียกเว้นลดภาษี    ชั่วคราว  แต่ต้องทยอยนำสินค้าในบัญชีนี้เข้ามาลดภาษีในแต่ละปีเป็นจำนวนเท่า ๆ กัน และลดภาษีเหลือ
ร้อยละ 0-5 ภายในเวลา 6 ปี โดยเริ่มลดภาษีช้ากว่าสินค้าใน IL 1 ปี และสิ้นสุดพร้อมกับ IL (1 มกราคม 2540- 1 มกราคม 2546 สำหรับสมาชิกเดิม และ 1 มกราคม 2543-2547 ถึง 1 มกราคม 2549-2553 สำหรับสมาชิกใหม่)


3.  บัญชีอ่อนไหว (Sensitive  List : SL)  จะนำเข้ามาลดภาษีช้าที่สุด  และต้องลดภาษีเหลือ
ร้อยละ 0-5 ภายในเวลา 10 ปี  รวมทั้งมีมาตรการพิเศษอื่น ๆ ยกเว้นสินค้าอ่อนไหวสูง (Highly Sensitive List : HSL) คือ ข้าว  ซึ่งมีอัตราภาษีสุดท้ายสูงกว่าร้อยละ 5 และมีมาตรการคุ้มกันพิเศษได้  มี 3 ประเทศ   ที่มีสินค้าอ่อนไหวสูง ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ 
ตารางสรุปกำหนดการลดภาษีภายใต้อาฟต้า


ประเทศ
สินค้าอุตสาหกรรมและ
เกษตรแปรรูป
สินค้าเกษตรไม่แปรรูป

IL
TEL
IL
TEL
SL
สมาชิกเดิม
เวียดนาม
ลาวและพม่า
กัมพูชา
2536-2546
2539-2549
2541-2551
2543-2553
2539-2546
2542-2549
2544-2551
2546-2553
2539-2546
2542-2549
2544-2551
2546-2553
2540-2546
2543-2549
2545-2551
2547-2553
2544-2553
2547-2556
2549-2558
2551-2560


นอกจากสินค้าในกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งอาเซียนต้องลดอัตราภาษีระหว่างกันตามกำหนดการข้างต้นแล้ว
มีสินค้าบางรายการที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ  ศีลธรรมและจริยธรรมของสังคม  ชีวิตและ  สุขอนามัยของประชาชน ทรัพย์สินอันมีค่าทางประวัติศาสตร์  สัตว์และพืช  ศิลปวัตถุโบราณ  ซึ่งประเทศสมาชิกไม่จำเป็นต้องนำมาลดภาษี  แต่ต้องนำสินค้านั้นไปใส่ไว้ในบัญชีหนึ่งเรียกว่า บัญชียกเว้นทั่วไป หรือGeneral  Exception List  (GE)
 ·       สถานะล่าสุดของการลดภาษีอาฟต้า
เนื่องมาจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจในอาเซียน ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 6 ในเดือน
ธันวาคม 1998  ผู้นำอาเซียนจึงได้ประกาศใช้มาตรการระยะสั้น เพื่อเร่งรัดการลงทุนจากต่างประเทศ และ  ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เรียกว่า มาตรการเข้มข้น หรือ Bold Measures ซึ่งรวมถึง การเร่งรัดอาฟต้า โดย
-  ให้ประเทศสมาชิกเดิม 6 ประเทศ ลดภาษีสินค้าในบัญชีลดภาษีทุกรายการให้เหลือร้อยละ 0-5
ในปี 2546  นอกจากนี้  ต้องลดภาษีสำหรับสินค้าจำนวนร้อยละ 60  ให้เหลืออัตราร้อยละ 0  สำหรับประเทศสมาชิกใหม่  ให้พยายามลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0-5  ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในปี 2546 สำหรับเวียดนาม ปี 2548 สำหรับลาวและพม่า ปี 2550 สำหรับกัมพูชา 

-  ให้ประเทศสมาชิกลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ภายในปี 2553 สำหรับประเทศสมาชิกเดิม 6
ประเทศ และภายในปี 2558 สำหรับประเทศสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546  ประเทศอาเซียนเดิม 6 ประเทศได้ลดภาษีสินค้าทุกรายการ  
ลงเหลือร้อยละ 0-5 (ยกเว้นสินค้าเกษตรไม่แปรรูปที่อ่อนไหว) เป็นจำนวนกว่า 49,000 รายการ โดยสินค้าร้อยละ 60 มีอัตราภาษีที่ร้อยละ 0 (สำหรับสินค้าเกษตรไม่แปรรูปที่อ่อนไหวสามารถลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0-5  ได้ถึงปี 2553)
      สำหรับไทย ตั้งแต่ 1 มกราคม 2546 ได้นำสินค้าอ่อนไหวที่เหลือจำนวน 7 รายการ เข้ามาอยู่ในบัญชีลดภาษีในอาฟต้า ทำให้มีจำนวนสินค้าที่ลดภาษีในอาฟต้าทั้งสิ้น 9,211 รายการ  โดย 9,204 รายการมีอัตราภาษีอยู่ที่ร้อยละ 0-5 นอกจากนี้ ไทยได้ปฏิบัติตามมาตรการเข้มข้นให้สินค้าร้อยละ 60 หรือประมาณ 5,500 รายการ มีอัตราภาษีร้อยละ 0 สำหรับสินค้าอีก 7 รายการ  (4 ชนิดสินค้า)  ซึ่งเป็นสินค้าเกษตรไม่   แปรรูปที่มีความอ่อนไหว ไทยจะทยอยลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0-5 ในปี 2553 ได้แก่ กาแฟ มันฝรั่ง มะพร้าวแห้ง และไม้ตัดดอก
     สำหรับประเทศอาเซียนใหม่ 4 ประเทศ ในวันที่ 1 มกราคม 2546 นั้น มีรายการอยู่ในบัญชีลด
ภาษี (IL) ราว 16,000 รายการ คิดเป็นกว่าร้อยละ 72 ของรายการทั้งหมด  โดยในจำนวนนั้น กว่าครึ่งหนึ่งมีอัตราภาษีอยู่ที่ร้อยละ 0-5 แล้ว และจะทยอยนำรายการที่เหลือมาลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0-5 ต่อไป

·       การยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers : NTBs)
นอกจากการลดภาษีแล้ว ยังมีเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องดำเนินการภายใต้ความตกลงอาฟต้า
คือ การยกเลิกมาตรการจำกัดปริมาณ (Quantitative Restrictions) และมาตรการที่มิใช่ภาษีอื่นๆ (NTBs)  ซึ่งความตกลง CEPT กำหนดว่าเมื่อสินค้าหนึ่งๆ มีการลดภาษีลงเหลือร้อยละ 20 หรือต่ำกว่า ก็ต้องยกเลิกมาตรการจำกัดปริมาณนำเข้าทันที และให้ทยอยยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีอื่น ๆ ภายในเวลา 5 ปีต่อมา
แม้ว่าการดำเนินการเพื่อยกเลิก NTBs ระหว่างสมาชิกอาเซียนด้วยกัน ไม่มีความคืบหน้าเท่าที่
ควร แต่ก็อยู่ระหว่างการเริ่มดำเนินการอย่างจริงจัง  เริ่มจากการจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการกีดกัน ทางการค้าที่มิใช่ภาษีของอาเซียนรายประเทศ  จัดหมวดหมู่ของมาตรการเหล่านั้น ว่ามาตรการใดที่ประเทศ
สมาชิกสามารถกระทำได้  และมาตรการใดที่ไม่สามารถกระทำได้  ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณายกเลิกมาตรการซึ่งมีลักษณะที่กีดกันการค้าโดยตรงต่อไป
ในขณะเดียวกัน อาเซียนได้เร่งปรับประสานมาตรฐานสินค้าและจัดทำความตกลงการยอมรับ
ร่วม (Mutual Recognition Arrangements : MRAs) เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า ซึ่งเท่ากับเป็นการลดอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษีระหว่างกัน  โดยได้เริ่มดำเนินการปรับประสานมาตรฐานสินค้า 20 กลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น วิทยุ และโทรทัศน์ เป็นต้น  ในส่วนของการจัดทำ MRAs นั้น ปัจจุบันอาเซียนได้จัดทำความตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วมรายสาขา สำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  (Electrical and Electronic Equipment)  และความตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วมว่าด้วยการ รับรองการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง (ASEAN MRA on Product Registration Approvals for Cosmetics)  และอยู่ระหว่างการจัดทำ MRAs สำหรับสินค้ายา และอาหาร (prepared foodstuff)
สำหรับสินค้าเกษตรก็ได้มีการปรับประสานมาตรการด้านสุขอนามัยพืชในสินค้าเกษตร 14 ชนิด เช่น ข้าว มะม่วง มะพร้าว ขิง กาแฟ เป็นต้น และได้ปรับประสานระดับสูงสุดของสารตกค้างจากยาฆ่าแมลงในพืชผักต่างๆ นอกจากนี้ เพื่อลดอุปสรรคและขยายการค้าในอาเซียน  สำหรับวัคซีนสัตว์ อาเซียนยังได้จัดพิมพ์ชุดคู่มือวัคซีนสัตว์ที่ประกอบด้วย คู่มือหลักเกณฑ์การรับรองห้องทดสอบวัคซีนสัตว์ มาตรฐานวัคซีนสัตว์ มาตรฐานอาเซียนสำหรับอุตสาหกรรมวัคซีนสัตว์  และกฎระเบียบการจดทะเบียนวัคซีนสัตว์ในอาเซียน
       4. ผลของอาฟต้าต่อประเทศไทย
ด้านบวก
                (1)          อาฟต้าเป็นแรงขับสำคัญที่ทำให้การค้าของไทยกับอาเซียนขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะใน    ด้านการส่งออก ก่อนการจัดตั้งอาฟต้า ในปี 2535 ไทยมีการค้ากับอาเซียนราว 10,031.5 ล้านเหรียญสหรัฐ และเพิ่มขึ้นเป็น 29,027.8 ล้านเหรียญสหรัฐ  ในปี 2546 เป็นคู่ค้าสำคัญของไทยอันดับ 2 รองจากญี่ปุ่น  และจะทวีความสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับ 
                ในด้านการส่งออกในช่วงเวลาดังกล่าวก็เพิ่มขึ้นมากเช่นกัน  และปัจจุบัน  อาเซียนเป็นตลาด   ส่งออกอันดับหนึ่งของไทย ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2545  สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังอาเซียนเป็นมูลค่าสูง  เช่น คอมพิวเตอร์ น้ำมันสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น  สำหรับการนำเข้า ก็มีการขยายตัวเช่นเดียวกัน  แต่เป็นไปในอัตราที่ต่ำกว่าการขยายตัวของการส่งออก  จึงทำให้ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ากับอาเซียน โดยในปี 2546 ที่ผ่านมา ไทยได้ดุลการค้ากับอาเซียนเป็นมูลค่า 4,047.0 ล้านเหรียญสหรัฐ
 (2)        สินค้าออกส่วนใหญ่มีมูลค่าการส่งออกสูงขึ้น  ช่วยเพิ่มรายได้เงินตราต่างประเทศ ทั้งนี้ การ    ส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น ทั้งในส่วนของสินค้าเกษตรกรรม  สินค้าเกษตรแปรรูป และสินค้าอุตสาหกรรม  ซึ่งจะช่วยให้สาขาเศรษฐกิจต่าง ๆ มีรายได้และมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น



การส่งออกของไทยไปอาเซียนโดยเปรียบเทียบระหว่าง ปี 2535-2546
                                                                                                                                หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ

หมวดสินค้า
ปี 2535
ปี 2541
ปี 2546
สินค้าเกษตรกรรม
618.9
1,264.8
1,260.2
สินค้าเกษตรแปรรูป
308.1
793.5
1,178.6
สินค้าอุตสาหกรรม
3,319.5
7,015.2
12,422.6

    ที่มา : สำนักบริหารสารสนเทศการพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
                                สินค้าที่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมาก
                                -  สินค้าเกษตรกรรม เช่น  ข้าว  น้ำตาลทราย และยางพารา  เป็นต้น
-  สินค้าเกษตรแปรรูป เช่น  อาหารทะเลแปรรูป  อาหารทะเลกระป๋อง ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี และอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ อาหารสัตว์  สิ่งปรุงรสอาหาร เป็นต้น
                                -  สินค้าอุตสาหกรรม  เช่น  เครื่องคอมพิวเตอร์  อุปกรณ์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ กระดาษ  เยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์  เม็ดพลาสติก  รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ  และแผงวงจรไฟฟ้า  เป็นต้น
                  (3)  อัตราภาษีที่ลดลงทำให้สินค้าเข้ามีราคาถูกลง ส่งผลให้มีการนำเข้าสินค้าต่าง ๆ โดยเฉพาะ    สินค้าทุน วัตถุดิบ และสินค้ากึ่งสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น ช่วยให้การผลิตขยายตัวและต้นทุนการผลิตลดลง ซึ่งในส่วนนี้  จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ ทั้งที่อยู่ในภาคเกษตรและอุตสาหกรร
                              การนำเข้าของไทยจากอาเซียนโดยเปรียบเทียบระหว่าง ปี 2535-2546
                                                                                                                              หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐฯ

หมวดสินค้า
ปี 2535
ปี 2541
ปี 2546
สินค้าเชื้อเพลิง
1,726.3
479.4
2,057.3
สินค้าทุน
1,682.7
3,531.8
5,472.1
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป
1,666.3
1,799.1
3,172.9
สินค้าอุปโภคบริโภค
340.5
527.2
1,178.8
ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง
23.0
16.0
553.9

ที่มา :  สำนักบริหารสารสนเทศการพาณิชย์  โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร
                                สินค้าทุน วัตถุดิบและสินค้ากึ่งสำเร็จรูปที่มีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นมาก  ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ  คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ  แผงวงจรไฟฟ้า  ส่วนประกอบ อุปกรณ์ โครง/ตัวถังรถ  เคมีภัณฑ์ ปุ๋ย แก้วและผลิตภัณฑ์เครื่องดินเผา กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง กระดาษ กระดาษแข็งและผลิตภัณฑ์  ไขมันและน้ำมันพืช หลอดและท่อโลหะ และเหล็ก
               (4)      ผู้บริโภคจะได้ประโยชน์จากการที่สินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาถูกลง โดยมีสินค้าที่มีคุณภาพและ รูปแบบหลากหลายให้เลือกซื้อ
                                สินค้าอุปโภคบริโภคที่มีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า สบู่  ผงซักฟอกและเครื่องสำอาง ธัญพืชและธัญพืชสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ เครื่องแต่งเรือน เครื่องดื่มประเภทน้ำแร่ ผักผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผักผลไม้  กาแฟ  ชา  เครื่องเทศ
              (5)        ไทยจะเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ  ทั้งนี้ เป็นผลจากการที่อาเซียนได้กลายเป็นตลาดการค้าเสรีที่มีขนาดใหญ่ มีประชากรเกือบ 500  ล้านคน จึงเป็นที่สนใจของนักลงทุนต่างประเทศ  โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งมีความพร้อมในหลาย ๆ ด้าน และตั้งอยู่ในศูนย์กลางของภูมิภาคนี้
ด้านลบ
(1)          การลดภาษีอาฟต้าอาจส่งผลกระทบต่อการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมในประเทศที่มี        ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ  โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ไม่มีศักยภาพในการปรับตัวเพิ่มเพิ่มขีดความสามารถใน  การแข่งขัน หรืออุตสาหกรรมที่ต้องใช้เวลาในการปรับตัวนานมาก  เนื่องจากอุตสาหกรรมเหล่านี้จะไม่สามารถ แข่งขันกับสินค้าจากประเทศอาเซียนที่มีราคาถูกกว่าได้ ซึ่งผลกระทบดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นกับทั้งอุตสาหกรรมที่ผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายภายในประเทศ  และอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อส่งออก  โดยเฉพาะสินค้าสำเร็จรูปบางชนิด เช่น น้ำมันพืช สิ่งทอ (ผ้าผืน เส้นด้าย เส้นใยประดิษฐ์) เหล็ก เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์บางชนิด  เคมีภัณฑ์  เป็นต้น
 (2)         สินค้าที่ได้รับผลกระทบจากการลดภาษีในอาฟต้าอีกกลุ่มหนึ่ง  ได้แก่ สินค้าสำเร็จรูปที่มีการลดภาษีในอาฟต้าแล้ว แต่เป็นสินค้าที่ต้องใช้วัตถุดิบนำเข้าจากนอกอาเซียน  ซึ่งมีอัตราภาษีอยู่ในระดับสูง  เช่น  วัตถุดิบของเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  วัตถุดิบประเภทวัสดุสิ้นเปลืองที่นำมาผลิตเฟอร์นิเจอร์  (กาว   เคมีภัณฑ์ เหล็ก สีวีเนียร์ อุปกรณ์ต่าง ๆ) เคมีภัณฑ์และวัสดุประกอบสินค้าเครื่องหนังและรองเท้า จากอัตรา ภาษีวัตถุดิบที่สูงดังกล่าวทำให้ต้นทุนการผลิตสูง และสินค้าสำเร็จรูปที่ผลิตภายในประเทศมีราคาแพงกว่าสินค้า
สำเร็จรูปที่นำเข้าจากอาเซียน จึงไม่สามารถแข่งขันได้ จึงควรเร่งรัดการปรับโครงสร้างอัตราภาษีตามขั้นตอนการผลิตให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้                                                                             



สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)
(Association of Southeast Asian Nations – ASEAN)


1.             การก่อตั้ง
1.1                              1.1                สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญา
กรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีของ 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย
ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510  ต่อมาประเทศบรูไน ดารุสซาลาม เข้าเป็น
สมาชิกประเทศที่ 6 เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2527  เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกประเทศที่ 7 เมื่อวันที่ 28
กรกฎาคม 2538  ลาวและพม่าเข้าเป็นสมาชิกประเทศที่ 8 และ 9 ตามลำดับ  เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม
2540                 2540         และกัมพูชาเป็นสมาชิกประเทศที่ 10 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2542
1.2                              1.2                อาเซียนปัจจุบันประกอบด้วยประชากรรวมกันประมาณ 500 ล้านคน ครอบคลุมพื้นที่
4.5 ล้านตารางกิโลเมตร

2.             วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งสมาคมอาเซียน ตามปฏิญญากรุงเทพฯ คือ
                            -    เพื่อส่งเสริมความร่วมมือ และความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม   
                                 วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
-                   -          เพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
-                   -          เพื่อเสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและพัฒนาการทางวัฒนธรรม
ในภูมิภาค
-                   -          เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
-                   -          เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริม
การศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
-                   -          เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจน
การปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
-                   -          เพื่อเสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การความร่วมมือ
แห่งภูมิภาคอื่น ๆ และองค์การระหว่างประเทศ
3.  โครงสร้างของอาเซียน  โครงสร้างของอาเซียนจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ ดังนี้
3.1      3.1    สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat)
สำนักเลขาธิการอาเซียนได้จัดตั้งขึ้นตามข้อตกลงที่ลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศ
อาเซียนในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 1 ในปี 2519  เพื่อทำหน้าที่ประสานงานและ
ดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคมอาเซียน และเป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่าง
สมาคมอาเซียน คณะกรรมการ ตลอดจนสถาบันต่าง ๆ และรัฐบาลของประเทศสมาชิก
                                สำนักเลขาธิการอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีหัวหน้า
สำนักงานเรียกว่า เลขาธิการอาเซียนซึ่งเลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบันคือ นาย Ong Keng Yong ชาวสิงคโปร์ (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546- 31 ธันวาคม 2550) และมีรองเลขาธิการอาเซียน 2 คนคือ  Dr. Wilfrido V. Villacorta ชาวฟิลิปปินส์ และ Pengiran Mashor Pengiran Ahmad ชาวบรูไนฯ โดยจะมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 3 ปี (ระหว่างปี 2546-2549)
3.1                              3.1                สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ หรือกรมอาเซียน (ASEAN National Secretariat)
เป็นหน่วยงานในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก ซึ่งแต่ละประเทศ
ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบประสานงานเกี่ยวกับอาเซียนในประเทศนั้น ๆ และติดตาม           ผลของการดำเนินกิจกรรม/ความร่วมมือต่าง ๆ สำหรับประเทศไทยนั้น ได้มีการจัดตั้งกรมอาเซียน
ให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานด้านอาเซียนดังกล่าว

 4.   กลไกในการกำหนดนโยบายและการดำเนินงาน
4.1          การประชุมระดับหัวหน้ารัฐบาลอาเซียนหรือการประชุมสุดยอดอาเซียน
(The Meeting of the ASEAN Heads of State/Government – ASEAN Summit)            
                การประชุมหัวหน้ารัฐบาลอาเซียนเป็นกลไกสูงสุดในการกำหนดนโยบายและแนวทาง
ความร่วมมือของอาเซียน โดยนับตั้งแต่มีการจัดตั้งสมาคมอาเซียนเป็นต้นมาได้มีการประชุมสุดยอด
อาเซียนอย่างเป็นทางการไปแล้วรวม 8 ครั้ง คือ พ.. 2519  ณ ประเทศอินโดนีเซีย  .. 2520
ณ ประเทศมาเลเซีย พ.. 2530  ณ ประเทศฟิลิปปินส์ สำหรับการประชุมครั้งที่ 4 ได้มีขึ้นใน
.. 2535 ณ ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งในครั้งนั้น ที่ประชุมได้มีมติให้จัดการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่าง
เป็นทางการทุก ๆ 3 ปี การประชุมครั้งที่ 5 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นเมื่อวันที่ 14-15
ธันวาคม 2538 ณ กรุงเทพฯ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ผู้นำของประเทศทั้ง 10 ประเทศในภูมิภาคได้มี
โอกาสมาพบปะกันอย่างพร้อมเพรียง โดยได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างผู้นำอาเซียน 7 ประเทศ
กับผู้นำรัฐบาลกัมพูชา ลาว และพม่า และที่ประชุมฯ ยังได้มีมติให้มีการพบปะหารือระหว่างผู้นำ
รัฐบาลอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการในระหว่างที่ไม่มีการประชุมสุดยอดอาเซียนด้วย การประชุมครั้งที่ 6 ณ ประเทศเวียดนาม เมื่อเดือนธันวาคม 2541  ซึ่งได้มีการร่วมลงนามในเอกสารสำคัญ คือ Hanoi Declaration,
Hanoi Plan of Action, Statement on Bold Measures ฯลฯ การประชุมครั้งที่ 7 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2544   บันดาร์ เสรี เบกาวัน ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม  ซึ่งได้มี   การร่วมลงนามในเอกสารสำคัญคือ ปฏิญญาอาเซียน ค.. 2001 ว่าด้วยการดำเนินการร่วมในการต่อต้านการก่อการร้ายและปฏิญญาการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 7 เกี่ยวกับโรคเอดส์ การประชุม   สุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 8 จัดขึ้น


ระหว่างวันที่ 4-5 พฤศจิกายน 2545 ณ กรุงพนมเปญ การประชุม     สุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-8 ตุลาคม 2546 ณ เกาะบาหลี และการประชุมสุดยอด อาเซียน ครั้งที่ 10 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2547 ที่เวียงจันทน์
                                นอกจากนี้ ได้มีการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Informal Summit) ครั้งที่ 1 เมื่อพ.. 2539 ณ กรุงจาการ์ตา ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 14-16 ธันวาคม 2540
ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2542 ณ กรุงมะนิลา และครั้งที่ 4 ระหว่าง
วันที่ 24-25 พฤศจิกายน 2543 ณ สิงคโปร์
                                ในการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 4 ที่สิงคโปร์ ที่ประชุมได้
เห็นชอบที่จะเรียกการประชุมครั้งต่อไปว่า การประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ซึ่งจะมี
การประชุมทุกปี ทั้งนี้ ให้เน้นการหารือที่เป็นสาระและลดขั้นตอนด้านพิธีการ โดยการประชุมสุดยอด
อาเซียนเมื่อวันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2544  ณ ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม จัดเป็นการประชุมสุดยอด    อาเซียน ครั้งที่ 7 และจะเรียงตามลำดับครั้งทุกปีไป
                4.2          การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Ministerial Meeting – AMM)
                                เป็นการประชุมประจำปีของรัฐมนตรีต่างประเทศของอาเซียน และอาจจัดให้มีการ
ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนสมัยพิเศษ (ASEAN Foreign Ministers’ Retreat) ขึ้นได้ตาม  ความจำเป็น เพื่อรับผิดชอบในการกำหนดแนวทางในระดับนโยบายและทำหน้าที่ทบทวนข้อตัดสินใจ  ต่าง ๆ มอบนโยบายและโครงการให้คณะกรรมการประจำอาเซียนหรือคณะกรรมการอื่น ๆ ดำเนินการต่อไป นอกจากนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศจะเป็นผู้ลงนามในความตกลงที่เกี่ยวกับความร่วมมือด้านต่าง ๆ ของอาเซียนด้วย การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน สมัยที่ 35 จัดขึ้นที่บันดาร์ เสรี เบกาวัน ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม- 1 สิงหาคม 2545 การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน สมัยที่ 36 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-19 มิถุนายน 2546 ที่กรุงพนมเปญ การประชุมรัฐมนตรี  ต่างประเทศอาเซียน สมัยที่ 37 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน- 2 กรกฎาคม 2547 ที่กรุงจาการ์ตา และการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน สมัยที่ 38 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-29 กรกฎาคม 2548 ที่เวียงจันทน์
           4.3     การประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศ
คู่เจรจา (Post Ministerial Conferences – PMC)
                ภายหลังการประชุม AMM ในแต่ละปี รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนจะร่วมประชุมกับ
รัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศคู่เจรจา ร่วมและแยกเป็นรายประเทศ เพื่อหารือในเรื่องความร่วมมือ
และความช่วยเหลือในโครงการต่าง ๆ ตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในระดับนโยบายเกี่ยวกับ
ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและความมั่นคงที่มีความสนใจร่วมกันกับประเทศคู่เจรจาดังกล่าว
4.4  การประชุมระดับรัฐมนตรีในสาขาอื่น ๆ ประกอบด้วย
4.4.1                   4.4.1           การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers-AEM)
ซึ่งจะหารือและพิจารณาร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ทั้งในระดับภายในภูมิภาค
และกับประเทศนอกกลุ่มเป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง
4.4.2                   4.4.2           การประชุมคณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA Council) ซึ่งเป็นผล
จากการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 ที่ให้มีการกำกับดูแล ประสานงาน และทบทวนการดำเนินการ
ตามความตกลงว่าด้วยโครงการลดภาษีศุลกากรให้เป็นอัตราเดียวกันสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน
โดยคณะมนตรีฯ ดังกล่าวจะรายงานต่อรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน
4.4.3                   4.4.3           การประชุมคณะมนตรีเขตการลงทุนอาเซียน (AIA Council) ที่จัดตั้งขึ้น
เพื่อกำกับ ดูแล ประสาน และทบทวนการดำเนินงานตามความตกลงจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน
(ASEAN Investment Area)
4.4.4                   4.4.4           การประชุมรัฐมนตรีเฉพาะด้าน (Sectoral ASEAN Ministers’ Meeting)
จัดขึ้นเป็นประจำเพื่อกำหนดแนวนโยบายและเร่งรัดการดำเนินกิจกรรมของคณะกรรมการอาเซียน
ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งริเริ่มโครงการความร่วมมือในด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านการเกษตรและป่าไม้
ด้านพลังงาน ด้านสังคม การพัฒนาชนบท ด้านการศึกษา ด้านกฎหมาย ด้านแรงงาน ด้านสาธารณสุข
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสารนิเทศ ฯลฯ
                4.5  การประชุมในระดับคณะเจ้าหน้าที่ 
                                4.5.1  ด้านการเมือง  คณะเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน (ASEAN Senior Officials Meeting – SOM)  ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการต่างประเทศของอาเซียน ทำหน้าที่ดูแลความร่วมมือของอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง รวมถึงประเด็นสำคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเมือง
                                4.5.2  ด้านเศรษฐกิจ  คณะเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจ (ASEAN Senior Economic
Officials Meeting – SEOM) ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงที่รับผิดชอบงานเศรษฐกิจของอาเซียน
ทำหน้าที่ดูแลความร่วมมือของอาเซียนด้านเศรษฐกิจ
                                4.5.3  คณะกรรมการประจำอาเซียน (ASEAN Standing Committee – ASC)
คณะกรรมการประจำอาเซียนประกอบด้วยเลขาธิการอาเซียนและอธิบดีกรมอาเซียนของแต่ละประเทศ
สมาชิก ทำหน้าที่ดูแลดำเนินงาน ติดตามผล และพิจารณาทบทวนการปฏิบัติงานของอาเซียน เพื่อให้
เกิดความต่อเนื่องและอาจตัดสินใจในเรื่องเร่งด่วนได้ คณะกรรมการประจำอาเซียนนี้ ถือเป็นศูนย์กลาง
ในการประสานงาน ดูแลรับผิดชอบงานด้านต่าง ๆ  ทั้งนี้ โดยปกติจะมีการประชุมคณะกรรมการประจำ
อาเซียนปีละ 4-5 ครั้ง ซึ่งประเทศที่เป็นประธานคณะกรรมการประจำอาเซียนจะเป็นเจ้าภาพจัด    การประชุม ASC ครั้งแรกและครั้งสุดท้าย นอกนั้นจะจัดขึ้นที่สำนักเลขาธิการอาเซียนกรุงจาการ์ตา
                                4.5.4  ด้านการคลัง  คณะเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการคลังอาเซียน (ASEAN Deputy
Finance and Central Bankers Meeting – AFDM)  ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลังหรือผู้แทน
                                4.5.5  เฉพาะด้าน  เช่น คณะเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านยาเสพติด (ASEAN Senior
Officials Meeting on Drugs Matters – ASOD) ด้านสิ่งแวดล้อม (ASEAN Senior Officials on the
Environment – ASOEN) คณะกรรมการอาเซียนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ASEAN Committee
On Science and Technology – COST) คณะเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา (ASEAN Senior Official on Social Welfare – SWD) คณะกรรมการอาเซียนด้านวัฒนธรรมและสนเทศ (ASEAN Committee on Culture and Information – COCI) คณะเจ้าหน้าที่อาวุโสด้าน       การพัฒนาชนบทและการแก้ไขปัญหาความยากจน (Senior Officials Meeting on Rural Development and Poverty Eradication – SOMRDPE) ฯลฯ
4.5.6  การประชุมร่วมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจ
และอธิบดีอาเซียน (Joint Committee Meeting – JCM) เป็นการประชุมร่วมระหว่างเจ้าหน้าที่อาวุโส    อาเซียน เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจ และคณะกรรมการประจำอาเซียน (อธิบดีกรมอาเซียน) ที่จัดขึ้นเพื่อเตรียมการประชุมสุดยอดอาเซียนในแต่ละปี ทั้งด้านสารัตถะและพิธีการ

     5. ความสัมพันธ์กับประเทศภายนอก  (External Relations)
                                นอกจากความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกันแล้ว อาเซียนยังได้มีความร่วมมือและสถาปนาความสัมพันธ์ในฐานะคู่เจรจากับ 10 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น
สหภาพยุโรป นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ อินเดีย จีน รัสเซีย และกับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
ในกรอบอาเซียน+3  และโครงการเพื่อการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) แต่ละประเทศสมาชิก   อาเซียนจะแบ่งกันทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาเหล่านี้ โดยจะมี       การผลัดเปลี่ยนกันทุก ๆ 3 ปี ทั้งนี้ ในช่วงเดือนมิถุนายน 2546 จนถึงช่วงกลางปีของปี 2549 จะเป็นไปตามนี้
-                   -          บรูไน  ประสานงานระหว่างอาเซียนกับแคนาดา
-                   -          กัมพูชา  ประสานงานระหว่างอาเซียนกับจีน
-                   -          อินโดนีเซีย  ประสานงานระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป
-                   -          ลาว  ประสานงานระหว่างอาเซียนกับอินเดีย
-                   -          มาเลเซีย  ประสานงานระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่น
-                   -          พม่า  ประสานงานระหว่างอาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลี
-                   -          ฟิลิปปินส์  ประสานงานระหว่างอาเซียนกับนิวซีแลนด์
-                   -          สิงคโปร์  ประสานงานระหว่างอาเซียนกับรัสเซีย
-                   -          ไทย  ประสานงานระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ
-                   -          เวียดนาม  ประสานงานระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลีย
โดยอาเซียนได้มีการปรึกษาหารืออย่างสม่ำเสมอกับประเทศคู่เจรจาเหล่านี้ในลักษณะการประชุมระดับ
เจ้าหน้าที่ และการพบปะกันในระดับรัฐมนตรีในการประชุมที่เรียกว่า Post Ministerial Conferences
(PMC) ซึ่งจะมีขึ้นภายหลังการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนในทุกปี ซึ่งในปี 2547 อาเซียนได้ปรับปรุงรูปแบบการประชุมดังกล่าว โดยจัดให้มีการประชุม PMC กับประเทศคู่เจรจา 6 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา สหภาพยุโรป นิวซีแลนด์ รัสเซีย และสหรัฐฯ โดยมีรัฐมนตรีต่างประเทศของ      อาเซียนเข้าร่วม 5 คนในแต่ละการประชุม (จากเดิมซึ่งมีรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเพียง 1 คน)สำหรับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดียจะปรับให้เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน 10 ประเทศกับทั้ง 4 ประเทศโดยแยกเป็นรายประเทศ และจัดขึ้นในช่วงก่อนการสุดยอดอาเซียนและประชุมสุดยอดอาเซียน+3 และอาเซียน+1 (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) และการประชุมสุดยอดอาเซียน-อินเดีย  ซึ่งมีขึ้นในช่วงปลายปีของทุกปี
                                นอกจากนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับ
ประเทศคู่เจรจาและองค์การระหว่างประเทศ อาเซียนได้จัดตั้งคณะกรรมการในนครหลวงของประเทศ
คู่เจรจา ที่เรียกว่า คณะกรรมการอาเซียนในประเทศที่สาม (ASEAN Committee in Third Country)
คณะกรรมการเหล่านี้ประกอบด้วยหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตของประเทศสมาชิกอาเซียนในประเทศ
เจ้าภาพ มีหน้าที่ในการปรึกษาหารือและประสานงานกับรัฐบาลประเทศคู่เจรจาเกี่ยวกับความช่วยเหลือ
และความร่วมมือที่ให้แก่ประเทศอาเซียน
 6. วิสัยทัศน์อาเซียน ปี 2020 และแผนปฏิบัติการของอาเซียน
                                ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 2 เมื่อเดือนธันวาคม 2540  (..  1997)    กรุงกัวลาลัมเปอร์ ไทยเป็นผู้ริเริ่มให้ผู้นำรัฐบาลอาเซียนรับรองเอกสาร      วิสัยทัศน์อาเซียน ค.. 2020 (ASEAN Vision 2020) ในโอกาสครบรอบ 30 ปี การก่อตั้งอาเซียนโดยวิสัยทัศน์ดังกล่าวได้กำหนดทิศทางและเป้าหมายของการดำเนินการในด้านต่าง ๆ ให้ครอบคลุมทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม รวมทั้งการดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศภายนอก
                                ประเด็นสำคัญที่ไทยผลักดันจนสำเร็จ ได้แก่ การบรรจุแนวความคิดที่ให้ประเทศสมาชิกอาเซียนพัฒนาเป็นสังคมที่เปิดกว้าง (open societies) และเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ (people participation) โดยอาเซียนได้จัดทำแผนปฏิบัติการสำหรับวิสัยทัศน์อาเซียน ค.. 2020 (Hanoi  Plan  of  Action  to  Implement the ASEAN Vision 2020) ในระหว่าง        การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 6 เมื่อเดือนธันวาคม 2541
                                การจัดทำแผนปฏิบัติการฮานอยหรือ HPA เป็นแผนระยะ 6 ปี (ระหว่างปี 2541-2546) เป็นพัฒนาการที่สำคัญยิ่งอีกก้าวหนึ่งของ  อาเซียน อันจะนำไปสู่ชุมชนอาเซียนที่เอื้ออาทรและมีความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง ซึ่ง HPA จะนำเป้าหมายต่าง ๆ ภายใต้วิสัยทัศน์อาเซียน 2020 ไปสู่  การปฏิบัติให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมภายในกำหนดเวลาที่ชัดเจน และมีการประเมินผลทุก 3 ปี โดยได้มีการกำหนดกิจกรรมและโครงการที่จะนำไปสู่เป้าหมายในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และความร่วมมือเฉพาะด้าน (functional cooperation) ซึ่งรวมถึงเรื่องการพัฒนาสังคม วัฒนธรรมและสนเทศ ยาเสพติด สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้มีผลเป็นรูปธรรม
ในด้านการเมือง      แผนปฏิบัติการฮานอย   มุ่งส่งเสริมให้ภูมิภาคนี้มีเสถียรภาพ
เสรีภาพ เป็นกลาง เจริญก้าวหน้าและมีความมั่งคั่งร่วมกัน เพื่อสามารถเร่งระดมทรัพยากรไปในด้าน
การพัฒนาประเทศและสร้างความเจริญผาสุกให้แก่ประชาชา
ในด้านเศรษฐกิจ เป็นการยืนยันความ
มุ่งมั่นที่จะเปิดเสรีและร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างกันเพื่อเผชิญกับวิกฤตการณ์ด้านเศรษฐกิจของภูมิภาค และ
ในด้านสังคม ประเทศไทยได้เสนอโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ในเรื่องโครงข่ายรองรับทางสังคมเพื่อปกป้องผู้ที่อ่อนแอและยากไร้ในสังคม การคุ้มครองสตรีและเด็ก การส่งเสริมความสามารถของครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการ การป้องกันการแพร่กระจายของโรคเอดส์
การส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน การควบคุมการลักลอบค้ายาเสพติด การร่วมมือป้องกันปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ การเปิดโอกาสให้ชนทุกระดับได้รับความเท่าเทียมกันในการได้รับการศึกษา       การ ฝึกอบรมวิชาชีพการพัฒนาทักษะแก่สตรีให้สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานได้ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการพัฒนาสมรรถภาพของข้าราชการพลเรือนเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของประชาชน
                                ขณะนี้ อาเซียนอยู่ในระหว่างการจัดทำแผนปฏิบัติการฉบับที่ 2 ต่อเนื่องจาก     แผนปฏิบัติการฮานอยซึ่งจะสิ้นสุดลงในปี 2546  แผนปฏิบัติการฉบับใหม่นี้เรียกว่า Vientiane Action Programme (VAP) ซึ่งเป็นแผนที่จะได้พยายามปรับปรุงเค้าโครงและเนื้อหาจากประสบการณ์ที่ได้รับจาก HPA โดยจะมุ่งให้แผนปฏิบัติการมียุทธศาสตร์และทิศทางมากขึ้น โดยมุ่งสาขาที่อาเซียนให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ เพื่อให้สนองตอบต่อความต้องการของอาเซียน สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริงสอดคล้องกับงบประมาณที่มีอยู่ อีกทั้งไม่ซ้ำซ้อนกับแผนปฏิบัติการต่างๆ ที่อาเซียนมีอยู่ ทั้งนี้ แผนปฏิบัติการฯ      จะนำเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ในเดือนพฤศจิกายน 2547 ที่เวียงจันทน์ เพื่อให้       การรับรองต่อไป

7.             ประชาคมอาเซียน
ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 9 ระหว่างวันที่ 7-8 ตุลาคม 2546 ที่      เกาะบาหลี ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน (Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II) เห็นชอบให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community–ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN      Socio-Cultural Community-ASCC) ภายในปี ค.. 2020 (.. 2563)


              7.1 ประชาคมความมั่นคงอาเซียน
      7.1.1 ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 37 ได้ให้ความเห็นชอบต่อ    ร่างแผนปฏิบัติการของประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASC Plan of Action) ซึ่งจัดทำโดยอินโดนีเซีย   ในฐานะประธานคณะกรรมการอาเซียนแล้ว และจะเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ในเดือนพฤศจิกายน 2547 ที่เวียงจันทน์ ให้การรับรองต่อไป
      7.1.2 แผนปฏิบัติการของประชาคมความมั่นคงอาเซียนประกอบด้วย 6 หัวข้อหลัก คือ (1) political development เน้นเรื่องการเสริมการพัฒนาทางการเมืองระหว่างอาเซียน (2) shaping and sharing of norms เป็นการเสริมสร้าง norms ที่อาเซียนจะมีร่วมกันเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติในเรื่องต่างๆ ในประชาคมอาเซียน (3) conflict prevention เน้นการป้องกันไม่ให้เกิดการสู้รบโดยส่งเสริมระดับของความไว้เนื้อเชื่อใจและการป้องกันไม่ให้ปัญหาที่มีอยู่แล้วทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น (4) conflict resolution เน้นเรื่องการแก้ไขปัญหาภายในภูมิภาคโดยใช้กลไกของภูมิภาคซึ่งอาจรวมถึงการจัดตั้งกลไกรักษาสันติภาพของภูมิภาค (5) post-conflict peace building ให้อาเซียนร่วมมือกันเพื่อสร้างสันติภาพภายหลังการยุติการสู้รบซึ่งอาจรวมถึงการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การฟื้นฟูบูรณะ และ
การระดมทรัพยากรเพื่อการนี้ และ (6) implementing mechanisms เสนอให้มีการติดตามการนำ PoA
มาปฏิบัติโดย AMM เป็นผู้ประสานงานกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจตาม      สมควร และรายงานผลการดำเนินการต่อที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนทุกปี
                                  7.2  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
                                      อาเซียนจะพัฒนาไปสู่การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว โดยมีการไหลเวียนของ  สินค้า การบริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรีภายในปี 2563 รวมทั้งการไหลเวียนของเงินทุน  ที่เสรีมากขึ้น ขณะนี้ อาเซียนอยู่ในระหว่างการจัดทำ roadmap เพื่อเปิดเสรีและส่งเสริมความร่วมมือสินค้าและบริการ 11 สาขา (Wood-based products and automotives, Rubber-based products and textiles and apparels, Agro-based proudcts and fisheries, Electronics, e-ASEAN and healthcare, Air Travel and tourism) ภายในปี ค.. 2010 (.. 2553)
                                7.3 ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน
                           7.3.1 ประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังอยู่ในระหว่างพิจารณาร่างแผนปฏิบัติการของ     ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASC Plan of Action) จัดทำโดยฟิลิปปินส์ ทั้งนี้ แผนปฏิบัติการ  ดังกล่าวจะนำเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ในเดือนพฤศจิกายน 2547 ที่เวียงจันทน์ให้  การรับรองต่อไป
                                       7.3.2 แผนปฏิบัติการประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียนประกอบด้วย        ความร่วมมือ 5 สาขาหลัก ได้แก่ (1) การสร้างสังคมที่เอื้ออาทร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขจัดความยากจนและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (2) การลดผลกระทบอันเกิดจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจ (3) การเสริมสร้างเอกลักษณ์ของอาเซียน (4) รูปแบบ/แนวทางในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ และ (5) การส่งเสริมการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น