วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความหมายของภาษา

ความหมายของภาษา
        คำว่าภาษาแปลตามรูปศัพท์หมายถึงคำพูดหรือถ้อยคำ ภาษาเป็นเครื่องมือของมนุษย์ที่ใช้ในการสื่อความหมายให้สามารถสื่อสารติดต่อทำความเข้าใจกันโดยมีระเบียบของคำและเสียงเป็นเครื่องกำหนด ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ให้ความหมายของคำว่า ภาษาคือ เสียงหรือกิริยาอาการที่ทำความเข้าใจกันได้ คำพูด ถ้อยคำที่ใช้พูดจากัน ฉะนั้นภาษาจึงแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
        ๑. ภาษาที่เป็นถ้อยคำ เรียกว่า วัจนภาษาเป็นภาษาที่ใช้คำพูดโดยใช้เสียงที่เป็นถ้อยคำสร้างความเข้าใจกัน มีระเบียบการใช้ถ้อยคำในการพูดจา นอกจากนั้นยังมีตัวหนังสือที่ใช้แทนคำพูด คำที่ใช้เขียนจะได้รับการเลือกสรรแล้ว มีระเบียบของการใช้ถ้อยคำในการเขียนและการพูดตามหลักภาษา
        ๒. ภาษาที่เป็นไม่ถ้อยคำ เรียกว่า อวัจนภาษาเป็นภาษาที่ใช้สิ่งอื่นนอกเหนือจากคำพูดและตัวหนังสือในการสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ภาษาที่ไม่เป็นถ้อยคำ ได้แก่ ท่าทางการแสดงออก การใช้มือใช้แขนประกอบการพูด หรือสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการสื่อสารสร้างความเข้าใจ เช่น สัญญาณไฟจราจร สัญญาณธง เป็นต้น
        ภาษามีความสำคัญต่อมนุษย์มาก เพราะนอกจากจะเป็นเครื่องมือของการสื่อสารแล้ว ยังเป็นเครื่องมือของการเรียนรู้และการพัฒนาความคิดของมนุษย์ และเป็นเครื่องมือถ่ายทอด
วัฒนธรรมและการประกอบอาชีพ และที่สำคัญก็คือภาษาช่วยเสริมสร้างความสามัคคีของคนในชาติอีกด้วยเพราะภาษาเป็นถ้อยคำที่ใช้ในการสื่อสารสร้างความเข้าใจกันในสังคม

ภาษามีประโยชน์มากมาย ได้แก่
. ภาษาช่วยธำรงสังคม
. ภาษาแสดงความเป็นปัจเจกบุคคล
. ภาษาช่วยให้มนุษย์พัฒนา
. ภาษาช่วยกำหนดอนาคต
. ภาษาช่วยจรรโลงใจ
                . ภาษาช่วยธำรงสังคม

สังคมจะธำรงอยู่ได้มนุษย์ต้องมีไมตรีต่อกัน ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และระเบียบวินัยของสังคมและประพฤติตนให้เหมาะสมแก่ฐานะตนเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องอาศัยภาษา คือ
. ภาษาใช้แสดงไมตรีจิตต่อกัน เช่น การทักทายปราศรัยกัน
. ภาษาใช้แสดงกฎเกณฑ์ของสังคมว่าคนในสังคมควรปฏิบัติตนอย่างไร เช่น ศีล ๕ เป็นแนวทางปฏิบัติของพุทธศาสนิกชน
. ภาษาใช้แสดงความสัมพันธ์ของบุคคล แต่ละบุคคลมีฐานะ บทบาท และความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นต่างๆ กันไป การใช้ภาษาจึงแสดงฐานะและบทบาทในสังคมด้วย
        
. การแสดงความเป็นปัจเจกบุคคล
ปัจเจกบุคคล หมายถึง ลักษณะเฉพาะของบุคคล บุคคลแต่ละคนมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันไป ภาษาจะช่วยสะท้อนลักษณะดังกล่าวของบุคคล ทำให้ทราบถึงอุปนิสัย อารมณ์ รสนิยม ตลอดจนความคิดต่างๆ แต่ละบุคคลจะมีวิธีพูด หรือการใช้ภาษาแตกต่างกันไปตามลักษณะเฉพาะของตน เช่น ถ้าเราอ่านเรื่องของนักเขียนคนนั้นหลายๆ เรื่องก็จะทราบว่านักเขียนคนนั้นชอบหรือไม่ชอบอะไร

. ภาษาช่วยให้มนุษย์พัฒนา
มนุษย์อาศัยภาษาถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆ ต่อๆ กันมา ทำให้ความรู้แพร่ขยายมากยิ่งขึ้น มนุษย์ไม่ต้องเสียเวลาเรื่องทุกเรื่องใหม่ แต่สามารถพัฒนาค้นคว้าต่อให้เจริญก้าวหน้าต่อไป    บางครั้งเมื่อมีความเห็นไม่ตรงกันก็จะใช้ภาษาอภิปรายโต้แย้งกัน ทำให้ความรู้ความคิดเจริญงอกงามยิ่งขึ้น โดยเฉพาะภาษาเขียนจะช่วยบันทึกเรื่องราวความรู้ต่างๆ ไว้ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ต่อไป

. ภาษาช่วยกำหนดอนาคต
มนุษย์อาศัยภาษาช่วยกำหนดอนาคตในรูปแบบต่างๆ เช่น ทำแผน ทำโครงการ คำสั่ง สัญญา คำพิพากษา กำหนดการ คำพยากรณ์ ซึ่งจะเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป ในบางกรณีสิ่งที่กำหนดล่วงหน้าไว้นี้อาจไม่เป็นไปตามนั้นก็ได้ เพราะอนาคตเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน

. ภาษาช่วยจรรโลงใจ  
การจรรโลงใจ คือ ค้ำจุนจิตใจให้มั่นคง ไม่ตกอยู่ในอำนาจฝ่ายต่ำ โดยปกติมนุษย์ต้อง
การได้รับความจรรโลงใจอยู่เสมอ มนุษย์จึงอาศัยภาษาช่วยให้ความชื่นบาน ให้ความเพลิดเพลิน เช่น บทเพลง นิทาน คำอวยพร ฯลฯ ทำให้สังคมดำรงอยู่ได้ด้วยดี        ภาษามีความสำคัญสำหรับมนุษย์ แต่ในขณะเดียวกันก็มีอิทธิพลต่อมนุษย์ด้วย ทั้งนี้ เพราะมนุษย์ไม่ได้คิดว่าภาษาเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเท่านั้น เช่น การตั้งชื่อก็จะหลีกเลี่ยงคำที่มีเสียงคล้ายคลึงกับสิ่งไม่ดี สิ่งที่น่ารังเกียจ หรือมีความหมายไม่เป็นมงคล หรือการถูกนินทาก็จะเสียใจ ได้รับคำชมก็ดีใจ ดังกล่าวนี้ในบางครั้งมนุษย์ก็ยึดมั่นกับตัวอักษรโดยไม่พิจารณาเหตุผล   การที่ภาษาช่วยจรรโลงจิตใจของมนุษย์จะช่วยให้สังคมอยู่ได้ด้วยดี ทำให้โลกสดชื่นเบิกบาน ช่วยคลายเครียด



ตัวอย่าง
ภาษาช่วยธำรงสังคม

มันทำให้เราไม่ลืมตัว และคนเรานั้นลืมอะไรก็ลืมได้ แต่ถ้า ลืมตัวเสียอย่างเดียวก็เสียคนเท่านั้น     คำแนะนำจากวิทยุที่ข้าพเจ้านำมากล่าวนี้ เข้าใจว่าคงเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่านที่ชอบคิด เพราะถ้าเราลองใคร่ครวญแล้วจะเห็นว่านำมาปฏิบัติได้ทั้ง ๓ ข้อ ไม่ว่าเราจะทำงานอาชีพอะไรหรือเป็นอะไร
        ข้อหนึ่งจะทำให้เราเข้มแข็ง กล้าที่จะทำตามความคิดซึ่งเราเห็นว่าถูกต้อง ข้อนี้จะทำให้เราเองมีความก้าวหน้าเกินคนอื่นๆ
        ส่วนคำแนะนำข้อที่สองจะทำให้เรามีอารมณ์โปร่งสบายทุกเมื่อ ไม่ลุ่มหลงของรักใดๆ จนเกิดทุกข์ ไม่ยอมให้อะไรๆ มาบีบหัวใจเล่นได้
        และข้อที่สาม การรู้จักหัวเราะเยาะความทุเรศของตนเอง ทำให้สำนึกอยู่เสมอว่าเรามิใช่เทวดา ข้อนี้จะช่วยให้เราไม่เหลิงจนลอยลมตกลงมาปีกหัก เพราะการเป็นคนสำคัญนั้นเป็นหน้าที่ซึ่งคนอื่นจะยกเราขึ้น เราจะยกตัวเราเองนั้นไม่มีวันสำเร็จ      คนที่โด่งขึ้นนั้นจะถูกกด คนที่กดตัวเองจะรุ่งโรจน์
(จาก ธรรมะสำหรับคนนอกวัดของ วิลาศ มณีวัต)

ภาษาแสดงความเป็นปัจเจกบุคคล
        “อย่าได้ถือว่าตัวเองเป็นลูกเจ้าแผ่นดิน พ่อมีอำนาจยิ่งใหญ่อยู่ในบ้านเมือง ถึงจะเกะกะไม่กลัวเกรงคุมเหงผู้ใด เขาก็คงจะมีความเกรงใจพ่อ ไม่ต่อสู้หรือไม่อาจฟ้องร้องว่ากล่าว การซึ่งเชื่อใจ ดังนั้นเป็นการผิดแท้ทีเดียว เพราะความปรารถนาของพ่อไม่อยากจะให้ลูกมีอำนาจที่จะเกะกะอย่างนั้นเลย เพราะรู้เป็นแน่ว่าเมื่อรักลูกเกินไป ปล่อยให้ไม่กลัวใครและประพฤติการชั่วเช่นนั้น คงจะเป็นโทษแก่ตัวลูกนั้นเองทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพราะฉะนั้นจงรู้เถิดว่าถ้าเมื่อได้ทำความผิดเมื่อใด จะได้รับโทษโดยทันที การที่มีพ่อเป็นเจ้าแผ่นดินนั้น จะไม่เป็นการช่วยเหลืออุดหนุนแก้ไขอันใดได้เลย
(จาก พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)


ภาษาช่วยให้มนุษย์พัฒนา
        “ในระบบของธรรมชาตินั้น น้ำจะเกิดได้เพราะมีความชุ่มชื้นของป่าไม้แห่งเทือกขุนเขาให้กำเนิดต้นน้ำลำธาร และป่าไม้ สามารถสร้างระบบความสัมพันธ์อันซับซ้อน ตั้งแต่ไม้เล็กจนถึงไม้ใหญ่ได้ก็ด้วยมีผืนดินสร้างธาตุอาหารไว้ให้ ทั้งป่าไม้ ดิน และน้ำจึงมีความผูกพันที่ต่างให้ซึ่งกันและกัน และต่างไม่อาจอยู่ได้เพียงลำพังในระบบธรรมชาติ” (จาก สายใยของธรรมชาติ คือ สายใยของชีวิต กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม)
        

อาหารอะไรที่ทำเป็นอาชีพ
        การที่จะทำอาหารอะไรสักอย่าง ควรคำนึงถึงเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้เอาไว้ก่อน. สะดวกแก่ผู้ทำ ไม่ยุ่งยากในการปรุง. ลงทุนไม่มากนัก. อร่อย มีผู้นิยมรับประทานกันมาก. อาหารนี้รับประทานกันได้ไม่ว่าจะเวลาไหนจะดียิ่งขึ้นไปอีก เช่น เช้าก็ได้ กลางวันก็ได้ บ่ายก็ดี แม้กระทั้งในมื้อเย็นก็ยังได้อีก. ทำกำไรงามให้แก่ผู้ประกอบการค้านี้” (จาก ทำ-ขาย อาหาร 108 ยุวดี จอมพิทักษ์)


ภาษาช่วยกำหนดอนาคต
                
ในกาลอนาคต                     ก็จะมีผู้มุ่งหมาย
ข่มธรรมะทำลาย                           และประทุษฐ์มนุษย์โลก
เชื่อถือกำลังแสน-               ยะจะขึ้นเป็นหัวโจก
หวังครองประดาโลก                        และเป็นใหญ่ในแดนดิน
สัญญามีตรามั่น                  ก็จะเรียกกระดาษชิ้น
ละทิ้งธรรมะสิ้น                         เพราะอ้างคำว่าจำเป็น
หญิงชายและทารก          ก็จะตกที่ลำเค็ญ
ถูกราญประหารเห็น                        บ่มิมีอะไรขวาง
(จาก ธรรมาธรรมะสงคราม พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว)


ภาษาช่วยจรรโลงใจ

กาเหว่าเอย                     ไข่ไว้ให้แม่กาฟัก
แม่กาก็หลงรัก                           คิดว่าลูกในอุทร
คาบเอาข้าวมาเผื่อ                       ไปคาบเอาเหยื่อมาป้อน
ถนอมไว้ในรังนอน                 ซ่อนเหยื่อมาให้กิน
ปีกเจ้ายังอ่อนคลอแคล                    ท้อแท้จะสอนบิน
แม่กาพาไปกิน                            ที่ปากน้ำพระคงคา
ตีนเจ้าเหยียบสาหร่าย                    ปากก็ไซ้หาปลา
กินกุ้งแลกินกั้ง                                กินหอยกระพังแมงดา
กินแล้วก็โผมา                           จับที่ต้นหว้าโพธิ์ทอง
ยังมีนายพราน                            เที่ยวเยี่ยมเยี่ยมมองมอง
ยกปืนขึ้นส่อง                           จ้องเอาแม่กาดำ
ตัวหนึ่งว่าจะต้ม                                อีกตัวหนึ่งว่าจะยำ
กินนางแม่กาดำ                           ค่ำวันนี้อุแม่นา
(จาก คติชนวิทยาสำหรับครู มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช)


จงรู้จัก ตัวเอง คำนี้หมาย
ว่าค้นพบ แก้วได้ ในตัวท่าน
หานอกตัว ทำไม ให้ป่วยการ
ดอกบัวบาน อยู่ในเรา อย่าเขลาไป
ในดอกบัว มีมณี ที่เอกอุตม์
เพื่อนมนุษย์ ค้นหา มาให้ได้
การตรัสรู้ หรือรู้ สิ่งใดใด
ล้วนมาจาก ความรู้ ตัวสูเอง
(จาก ร้อยธรรมคำกลอน พุทธทาสภิกขุ)

อิทธิพลของภาษา
        ภาษานอกเหนือจากจะมีความสำคัญต่อมนุษย์ดังกล่าวมาข้างต้นแล้ว มนุษย์ก็อาจตกอยู่ใต้อิทธิพลของภาษาด้วย ทั้งนี้เพราะมนุษย์มิได้คำนึงว่าภาษาเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่มุ่งใช้แทนความจริงต่างๆ เท่านั้น มนุษย์มักชื่นชมหรือรังเกียจสิ่งใดก็ตามที่มีความหมายหรือมีเสียงของคำคล้ายคลึงกับสิ่งที่ตนนิยมหรือรังเกียจนั้น เช่น คนไทยนิยมปลูกต้นมะยมไว้หน้าบ้าน ปลูกต้นขนุนไว้หลังบ้าน เพราะเสียงของคำว่ามะยมออกเสียงคล้ายคำว่า นิยมและคำว่า ขนุนออกเสียงคล้ายคำว่า อุดหนุนซึ่งหมายถึง มีผู้นิยมและอุดหนุนตนทำให้ประสบความเจริญก้าวหน้า แต่คนไทยไม่นิยมปลูกต้นลั่นทมหรือต้นระกำไว้ในบ้าน เพราะคำว่า ลั่นทมมีเสียงคล้าย ระทมและคำว่า ระกำก็มีเสียงพ้องกับคำว่า ระกำซึ่งหมายถึงความโศกเศร้า อันเป็นสภาพที่ไม่พึงปรารถนา
        สิ่งเดียวกันเมื่อเรียกต่างกันไป คำเรียกอย่างหนึ่งทำให้พอใจ แต่คำเรียกอีกอย่างหนึ่งทำให้ไม่พอใจ เช่นคำว่า เจ๊กคนถูกเรียกจะไม่พอใจ แต่ถ้าเรียกว่า คนจีนคนฟังก็พอใจ เพราะคำว่า เจ๊กผู้ถูกเรียกมีความรู้สึกว่าเป็นการดูหมิ่นเหยียดหยาม เช่นเดียวกับคนต่างประเทศที่ไม่ชอบฟังคนไทยเรียกพวกเขาว่า ฝรั่งหญิงที่ให้บริการบนรถทัวร์ปรับอากาศก็พอใจที่จะให้เรียกพวกเธอว่า บัสโฮสเตสเช่นเดียวกับ แอร์โฮสเตสก็ได้รับความนิยมตรงตามความหมาย
        อนึ่ง มนุษย์พอใจที่จะได้รับคำสรรเสริญเยินยอ แต่จะรู้สึกเจ็บแค้นเมื่อถูกนินทาว่าร้าย โดยไม่คำนึงว่าคำสรรเสริญเยินยอหรือนินทาว่าร้ายนั้นเกิดจากเจตนาอะไร หากมนุษย์ไม่ตกอยู่ใต้อิทธิพลของภาษา ก็คงจะได้ใช้สติปัญญาคิดไตร่ตรองเพื่อไม่ต้องตกอยู่ใต้อิทธิพลของภาษาจนเกินไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น