ขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่น
ขนบธรรมเนียมประเพณี หมายถึง ความประพฤติที่คนกลุ่มหนึ่งกำหนดถือเป็นแบบแผนกันมาอย่างเดียว ปฏิบัติสืบเนื่องกันมาช้านานจนเป็นลักษณะเฉพาะของคนกลุ่มนั้นและยอมรับในสังคมมาจนถึงปัจจุบัน จำแนกออกได้ดังนี้
จารีตประเพณี ได้แก่ ประเพณีที่เกี่ยวกับศีลธรรมซึ่งมีค่าแก่ส่วนรวม เช่น ลูกต้องเลี้ยงดูพ่อแม่เมื่อท่านแก่เฒ่า ถ้าไม่เลี้ยงดูถือว่าเนรคุณหรืออกตัญญูต่อพ่อแม่ คำว่าจารีตนี้ ภาคอีสานเรียกว่าฮีต ถ้าทำผิดประเพณีก็เรียกว่าผิดฮีต ขนบประเพณี หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระเบียบประเพณี ขนบ แปลว่า ระเบียบแบบแผน เป็นประเพณีที่วางระเบียบพิธีการไว้ชัดแจ้ง หรือรู้กันเองและไม่ได้วางระเบียบแบบแผนไว้ว่าควรประพฤติ ปฏิบัติอย่างไร ได้แก่ บวชนาค แต่งงาน การตาย รวมทั้งเทศกาลต่างๆ เช่น ตรุษ สารท ทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ การไหว้ครู เป็นต้น
ธรรมเนียมประเพณีได้แก่ ประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญไม่มีผิดถูกเหมือนจารีตประเพณี หรือไม่มีระเบียบแบบแผนอย่างขนบประเพณี ถ้าไม่ปฏิบัติตามก็ไม่ผิดอย่างไร แต่อาจถูกตำหนิว่าเป็นคนขาดการศึกษาหรือไม่มีมารยาท ได้แก่ เรื่องเกี่ยวกับอิริยาบถทั้ง 4 ยืน เดิน นั่ง นอน การพูดจา มารยาทสังคม การแสดงความเคารพ เช่น เวลาเดินผ่านผู้ใหญ่ควรก้มหลังเล็กน้อย หรือไม่ควรพูดข้ามศีรษะผู้อื่น การแต่งกายควรให้ถูกกาลเทศะ เป็นต้น
ประเภทของขนบธรรมเนียมประเพณี
ชาวอีสานผสมผสานซึมซับทั้งความเชื่อเดิม หลักปฏิบัติของศาสนาพราหมณ์ และธรรมะของพระพุทธศาสนาเข้าไว้ด้วยกันเกิดเป็นขนบธรรมเนียมประเพณี ที่ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมา แบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้
ขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับชีวิต เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมในชีวิตส่วนบุคคล เช่น การเกิด การบาศรีสูตรขวัญ การโกนจุก การบวช การแต่งงาน การตาย การขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
ขนบธรรมเนียมประเพณีที่เกี่ยวข้องกับสังคม ฮีตสิบสองของชาวอีสานตามลักษณะสิบสองเดือน แต่ละเดือนจะมีงานประเพณี กฎเกณฑ์ กติกาสังคมวางไว้แต่สังคมบรรพบุรษมา ที่เป็นคำกลอนอีสาน ดังนี้
เดือนอ้ายหรือเจียง (ธันวาคม) บุญเข้ากรรม
" ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเมื่อเดือนเจียงเข้ากลายมาแถมถ่าย
ฝูงหมู่สังฆเจ้าเตรียมเข้าอยู่กรรม
มันหากธรรมเนียมนี้ ถือมาตั้งแต่ก่อน
" ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเมื่อเดือนเจียงเข้ากลายมาแถมถ่าย
ฝูงหมู่สังฆเจ้าเตรียมเข้าอยู่กรรม
มันหากธรรมเนียมนี้ ถือมาตั้งแต่ก่อน
อย่าได้ละห่างเว้นเข็ญสิข้องแล่นนำ แท้แล้ว "
เดือนยี่ (มกราคม) บุญคูณลาน
" ฮีตหนึ่งนั้น พอแต่เดือนยี่ได้ล้ำล่วงมาเถิง
ให้พากันหาฟืนสู่คนโฮมไว้
อย่าได้ไลคองนี้มันสิสูญเสียเปล่า
ข้าวและของหมู่นั้นสิหายเสี่ยงบ่ยัง
จงให้ฟังคองนี้แนวปราชญ์เฮาบอก
อย่าได้เอาออกแท้เข็นฮ้ายสิแล่นเถิง เจ้าเอ๋ย "
" ฮีตหนึ่งนั้น พอแต่เดือนยี่ได้ล้ำล่วงมาเถิง
ให้พากันหาฟืนสู่คนโฮมไว้
อย่าได้ไลคองนี้มันสิสูญเสียเปล่า
ข้าวและของหมู่นั้นสิหายเสี่ยงบ่ยัง
จงให้ฟังคองนี้แนวปราชญ์เฮาบอก
อย่าได้เอาออกแท้เข็นฮ้ายสิแล่นเถิง เจ้าเอ๋ย "
เดือนสาม (กุมภาพันธ์) บุญข้าวจี่และบุญมาฆะบูชา
" ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเมื่อเดือนสามให้จงพากันจี่ข้าวจี่
ไปถวายสังฆเจ้าเอาแท้หมู่บุญ
กุศลยังสินำค้ำตามเอามื้อละคาบ
หากธรรมเนียมจั่งซี้มีแท้แต่นาน
ให้ทำไปทุกหมู่บ้านทุกที่เอาท่านเอย
คองหากเคยมีมาแต่ปางปฐมพุ้น
อย่าพากันไลถิ่มประเพณีตั้งแต่เก่า
บ้านเมืองเฮาสิเศร้าภัยฮ้ายสิแล่นตาม "
" ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเมื่อเดือนสามให้จงพากันจี่ข้าวจี่
ไปถวายสังฆเจ้าเอาแท้หมู่บุญ
กุศลยังสินำค้ำตามเอามื้อละคาบ
หากธรรมเนียมจั่งซี้มีแท้แต่นาน
ให้ทำไปทุกหมู่บ้านทุกที่เอาท่านเอย
คองหากเคยมีมาแต่ปางปฐมพุ้น
อย่าพากันไลถิ่มประเพณีตั้งแต่เก่า
บ้านเมืองเฮาสิเศร้าภัยฮ้ายสิแล่นตาม "
เดือนสี่ (มีนาคม) บุญพระเวสส์ฟังเทศน์มหาชาติ
" ฮีตหนึ่งพอ เถิงเดือนสี่ได้ให้ไปเก็บดอกบุปผา
มาลาดวงหอมสู่คนเก็บไว้
อย่าได้ไลคองนี้เสียศรีสูญเปล่า
หาเอาตากแดดไว้ให้ทำแท้สู่คน แท้ดาย
อย่าได้ไลหนีเว้นแนวคองตั้งแต่เก่า
ไฟทั้งหลายสิแล่นเข้าเผาบ้านสิเสื่อมสูญ
ให้ฝูงซาวเอาแท้อย่าไลคองตั้งแต่ก่อน
มันสิหมองหม่นเศร้าเมืองบ้านสิทุกข์จน "
" ฮีตหนึ่งพอ เถิงเดือนสี่ได้ให้ไปเก็บดอกบุปผา
มาลาดวงหอมสู่คนเก็บไว้
อย่าได้ไลคองนี้เสียศรีสูญเปล่า
หาเอาตากแดดไว้ให้ทำแท้สู่คน แท้ดาย
อย่าได้ไลหนีเว้นแนวคองตั้งแต่เก่า
ไฟทั้งหลายสิแล่นเข้าเผาบ้านสิเสื่อมสูญ
ให้ฝูงซาวเอาแท้อย่าไลคองตั้งแต่ก่อน
มันสิหมองหม่นเศร้าเมืองบ้านสิทุกข์จน "
เดือนห้า (เมษายน) บุญตรุษสงกรานต์
" ฮีตหนึ่งนั้น พอเถิงเดือนห้าได้พวกไพร่ชาวเมือง
จงพากันสรงน้ำขัดสีพุทธรูป
ให้ทำทุกวัดแท้อย่าไลม้างห่างเสีย
" ฮีตหนึ่งนั้น พอเถิงเดือนห้าได้พวกไพร่ชาวเมือง
จงพากันสรงน้ำขัดสีพุทธรูป
ให้ทำทุกวัดแท้อย่าไลม้างห่างเสีย
ให้พากันทำแท้ๆ ไผๆ บ่ได้ว่า
ทุกทีปแผ่นหล้าให้ทำแท้สู่คน
จั่งสิสุขยิ่งล้นทำถึกคำสอน
ถือฮีตคองควรถือแต่หลังปฐมพุ้น "
ทุกทีปแผ่นหล้าให้ทำแท้สู่คน
จั่งสิสุขยิ่งล้นทำถึกคำสอน
ถือฮีตคองควรถือแต่หลังปฐมพุ้น "
เดือนหก (พฤษภาคม) บุญบั้งไฟและบุญวันวิสาขบูชา
" ฮีตหนึ่งนั้น พอเถิงเดือนหกแล้วให้นำเอาน้ำวารีสรงโสก
ฮดพระพุทธรูปเหนือใต้สู่ภาย
อย่าได้ละเบี่ยงบ้ายปัดป่ายหายหยุด
มันสิสูญเสียศรีต่ำไปเมือหน้า
จงพากันทำแท้แนวคองฮีตเก่า
เอาบุญไปเรื่อยๆ อย่าถอยหน้าอย่าเสีย "
" ฮีตหนึ่งนั้น พอเถิงเดือนหกแล้วให้นำเอาน้ำวารีสรงโสก
ฮดพระพุทธรูปเหนือใต้สู่ภาย
อย่าได้ละเบี่ยงบ้ายปัดป่ายหายหยุด
มันสิสูญเสียศรีต่ำไปเมือหน้า
จงพากันทำแท้แนวคองฮีตเก่า
เอาบุญไปเรื่อยๆ อย่าถอยหน้าอย่าเสีย "
เดือนเจ็ด (มิถุนายน) บุญซำฮะ
" ฮีตหนึ่งนั้น พอเมื่อเดือนเจ็ดแล้วจงพากันบูชาราช
ตลอดไปฮอดอ้ายอาฮักษ์ใหญ่มเหสัก
ทั้งหลักเมืองสู่หนบูซาเจ้า
พากันเอาใจตั้งทำตามฮีตเก่า
นิมนต์สังฆเจ้าซำฮะแท้สวดมนต์ฯ "
" ฮีตหนึ่งนั้น พอเมื่อเดือนเจ็ดแล้วจงพากันบูชาราช
ตลอดไปฮอดอ้ายอาฮักษ์ใหญ่มเหสัก
ทั้งหลักเมืองสู่หนบูซาเจ้า
พากันเอาใจตั้งทำตามฮีตเก่า
นิมนต์สังฆเจ้าซำฮะแท้สวดมนต์ฯ "
เดือนแปด (กรกฎาคม) บุญเข้าพรรษา
" ฮีตหนึ่งนั้น พอเถิงเดือนแปดได้ล้ำล่วงมาเถิง
ฝูงหมู่สังฆคุณเข้าวัสสาจำจ้อย
ทำตามฮอยของเจ้าโคดมทำก่อน
บ่ทะลอนเลิกม้างทำแท้สู่ภาย
แล้วจงพากันผ่ายหาของไปเททอด
ทำทานไปอย่าได้คร้านเอาไว้หมู่บุญ
สิเป็นของหนุนเจ้าไปเทิงอากาศ
สู่สวรรค์บ่ฮ้อนด้วยบุญนี้ส่งไปฯ "
" ฮีตหนึ่งนั้น พอเถิงเดือนแปดได้ล้ำล่วงมาเถิง
ฝูงหมู่สังฆคุณเข้าวัสสาจำจ้อย
ทำตามฮอยของเจ้าโคดมทำก่อน
บ่ทะลอนเลิกม้างทำแท้สู่ภาย
แล้วจงพากันผ่ายหาของไปเททอด
ทำทานไปอย่าได้คร้านเอาไว้หมู่บุญ
สิเป็นของหนุนเจ้าไปเทิงอากาศ
สู่สวรรค์บ่ฮ้อนด้วยบุญนี้ส่งไปฯ "
เดือนเก้า (สิงหาคม) บุญข้าวประดับดิน
" ฮีตหนึ่งนั้นพอเถิงเดือนเก้าแล้วเป็นกลางแห่งวัสสกาล
ฝูงประชาชาวเมืองก็เล่าเตรียมตัวพร้อมไว้
พากันทานยังข้าวประดับดินกินก่อน
ทายกทานให้เจ้าพระสงฆ์พร้อมอยู่ภาย
ทำจั่งซี้บ่ย้ายเถิงขวบปีมา
พระราชาในเมืองก็จงทำแนวนี้
ฮีตหากมีมาแล้ววางลงให้ถือต่อ
จำไว้เด้อพ่อเฒ่าหลานเว้ากล่าวจา "
" ฮีตหนึ่งนั้นพอเถิงเดือนเก้าแล้วเป็นกลางแห่งวัสสกาล
ฝูงประชาชาวเมืองก็เล่าเตรียมตัวพร้อมไว้
พากันทานยังข้าวประดับดินกินก่อน
ทายกทานให้เจ้าพระสงฆ์พร้อมอยู่ภาย
ทำจั่งซี้บ่ย้ายเถิงขวบปีมา
พระราชาในเมืองก็จงทำแนวนี้
ฮีตหากมีมาแล้ววางลงให้ถือต่อ
จำไว้เด้อพ่อเฒ่าหลานเว้ากล่าวจา "
เดือนสิบ (กันยายน) บุญข้าวสาก
" ฮีตหนึ่งนั้น พอเถิงเดือนสิบแล้วทายกทอดบัวบาน
เบิกพลีทำทานต่อมาสองซ้ำ
ข้าวสลากนำไปทานให้สังโฆกาทอด
พากันหวังยอดแก้วนิพพานพ้นที่สูง
ฝูงหมู่ลุงอาว์ป้าคณาเนืองน้อมส่ง
ศรัทธาลงทอดไว้ทานให้แผ่ไป
อุทิศให้ฝูงเปรตเปโต
พากันโมทนานำสู่คนจนเกลี้ยง "
" ฮีตหนึ่งนั้น พอเถิงเดือนสิบแล้วทายกทอดบัวบาน
เบิกพลีทำทานต่อมาสองซ้ำ
ข้าวสลากนำไปทานให้สังโฆกาทอด
พากันหวังยอดแก้วนิพพานพ้นที่สูง
ฝูงหมู่ลุงอาว์ป้าคณาเนืองน้อมส่ง
ศรัทธาลงทอดไว้ทานให้แผ่ไป
อุทิศให้ฝูงเปรตเปโต
พากันโมทนานำสู่คนจนเกลี้ยง "
เดือนสิบเอ็ด (ตุลาคม) บุญออกพรรษา
" ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเดือนสิบเอ็ดแล้วก็เป็นแนวทางป่อง
เป็นช่องทางของพระเจ้าเคยเข้าแล้วออกมา
เถิงวัสสาแล้วสามเดือนก็เลยออก
เฮียกว่าออกพรรษาปวารณากล่าวไว้เฮาได้เล่ามา "
" ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเดือนสิบเอ็ดแล้วก็เป็นแนวทางป่อง
เป็นช่องทางของพระเจ้าเคยเข้าแล้วออกมา
เถิงวัสสาแล้วสามเดือนก็เลยออก
เฮียกว่าออกพรรษาปวารณากล่าวไว้เฮาได้เล่ามา "
เดือนสิบ (พฤศจิกายน) บุญกฐิน
" ฮีตหนึ่งนั้น เดือนสิบสองมาแล้วลมวอยหนาวสั่น
เดือนนี้หนาวสะบั้นบ่อคือแท้แต่หลัง
ในเดือนนี้เพิ่นว่าให้ลงทอดพายเฮือ
ส่วงกันบูชา ฝูงนาโค นาคเนาว์ในพื้นฯ "
" ฮีตหนึ่งนั้น เดือนสิบสองมาแล้วลมวอยหนาวสั่น
เดือนนี้หนาวสะบั้นบ่อคือแท้แต่หลัง
ในเดือนนี้เพิ่นว่าให้ลงทอดพายเฮือ
ส่วงกันบูชา ฝูงนาโค นาคเนาว์ในพื้นฯ "
หลังจากวันเพ็ญเดือนสิบสองแล้วจะทอดกฐินอีกไม่ได้ จึงต้องทำบุญกองบัง (บังสกุลหรือทอดผ้าป่า) ปัจจุบันบุญผ้าป่าสามารถทอดได้ตลอดทั้งปี
หากจะแยกประเภทของบุญตามจุดมุ่งหมายแล้วอาจแยกได้ดังนี้
บุญที่เกี่ยวกับพระสงฆ์โดยตรง บุญลักษณะนี้จะมี 6 บุญ หรือ 6 เดือน คือ บุญเข้ากรรม บุญข้าวจี่ บุญเผวส บุญเข้าพรรษา บุญออกพรรษาและบุญกฐิน
บุญที่เกี่ยวกับการทำมาหากิน บุญลักษณะนี้จะเกี่ยวกับการขอพรหรือบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ดลบันดาลความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติให้ เช่น ฟ้าฝน ข้าวปลาอาหาร เป็นต้น จะมีอยู่ 2 บุญ คือ บุญคูณลาน และบุญบั้งไฟ
บุญเกี่ยวกับขวัญกำลังใจในการดำรงชีพ บุญลักษณะนี้เกิดขึ้นภายใต้ความเชื่อที่ว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะอำนวยความสุข สวัสดิ์ภาพให้มี 2 บุญคือ บุญสงกรานต์และบุญซำฮะ
บุญที่เกี่ยวกับความกตัญญู บุญลักษณะนี้จะเน้นที่การทำบุญอุทิศเป็นสำคัญมี 2 บุญคือ บุญข้าวประดับดินและบุญข้าวสาก
โดยสรุป ฮีตสิบสองเป็นพิธีกรรมตามปฎิทินในรอบปี ที่มีการถือปฏิบัติกันเป็นประจำ จะเห็นได้ว่าศูนย์กลางแห่งศรัทธาคือ “วัด” กับการทำบุญบำรุงพุทธศาสนาตลอดทั้งปี กิจวัตรของการทำนาก็เป็นหัวใจสำคัญของฮีตสิบสองเช่นกัน กฎธรรมชาติคือ “ฤดูกาล” ส่วน “ผีปู่ตาย่ายาย” และผีอื่นๆในธรรมชาติ รวมถึงเทวดาอารักษ์โดยเฉพาะ “แถน” หรือผีฟ้า ก็เป็นสิ่งเหนือธรรมชาติที่ชาวบ้านเคารพนับถือ การแสดงออกในพีธีกรรมต่างๆ ในรอบปี เป็นสัญลักษณ์ที่สะท้อนความเชื่อและความยืดถือ
ความสำคัญของขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อและศาสนาท้องถิ่น
ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อและศาสนาท้องถิ่นมีความสำคัญต่อคนในท้องถิ่น ดังนี้
ชาวอีสานมีขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อและศาสนาท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เป็นของตนเอง
ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อและศาสนาท้องถิ่นเป็นศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ แสดงถึงความเป็นมาอันเกิดจากความเจริญของสังคมมาช้านาน ขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นจะเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา การรักษา ขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่น เป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนา
ความเชื่อ เป็นสิ่งที่ยอมรับนับถือมาในอดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นแนวทางการปฏิบัติตน ของคนในท้องถิ่น ความเชื่อจะทำให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เป็นสิ่งควบคุมการประพฤติปฏิบัติของคนในสังคม ทำให้คนอยู่ร่วมกันในสังคมได้ เพราะประพฤติปฏิบัติตามกฎ ข้อตกลงหรือระเบียบที่สังคมนั้นๆ ได้วางไว้
เป็นเครื่องมือผสมผสานความเชื่อต่างๆ เข้าด้วยกัน เช่น ประเพณีแต่งงาน ได้แก่ การบาศรีสูตรขวัญคู่บ่าวสาวซึ่งสะท้อนให้เห็นความเชื่อเกี่ยวกับขวัญและมีพราหมณ์เป็นเจ้าพิธี รวมทั้งมีการทำบุญเลี้ยงพระและนิมนต์พระสงฆ์มาสวดมนต์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ คนเราเมื่อประสบปัญหาอุปสรรคต่างๆ ก็มักจะเกิดความเครียดและเกิดความกังวล การทำพิธีกรรมหรือ “พิธี” เป็นการแก้ไขเรื่องร้ายให้กลายเป็นดีทำให้จิตใจสบายขึ้น ผ่อนคลายความตึงเครียดและสร้างความมั่นคงเข้มแข็งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น