การพัฒนาแบบยั่งยืน
การพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable Development) สภาโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา ได้ให้ความหมายของการพัฒนาแบบยั่งยืนว่า.การพัฒนาแบบยั่งยืนหมายถึงการพัฒนาที่สนองตอบต่อความต้องการของคนในรุ่นปัจจุบัน โดยไม่กระทบกระเทือนความสามารถของคนรุ่นต่อไป ในการที่จะสนองตอบความต้องการของตนเอง. (Sustainabledevelopment is development which meets the needs of the present generation without compromising theability of future generations to meet their own needs)
การพัฒนาแบบยั่งยืนตามความหมายดังกล่าว ประกอบด้วยแนวคิดอย่างน้อย 3 ประการคือ ประการแรก เป็นแนวคิดเกี่ยวกับความต้องการของมนุษย์ ประการที่สอง เป็นแนวคิดเกี่ยวกับขีดจำกัดและ ประการที่สาม เป็นแนวคิดเกี่ยวกับความยุติธรรมในสังคมแนวคิดประการแรก การพัฒนาแบบยั่งยืนคำนึงถึงแนวคิดเกี่ยวกับความต้องการของมนุษย์ซึ่งอาจเป็นความต้องการพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค การมีงานทำ และความต้องการที่จะมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีกว่าเดิม ความต้องการทั้ง 2 ประการนั้น ล้วนต้องอาศัยการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปคนรวยกับคนจนมีความต้องการที่แตกต่างกัน แต่ทั้งคนรวยและคนจนก็มีความต้องการพื้นฐานซึ่งเป็นความจำเป็นในการดำรงชีวิตเหมือนๆ กัน ไม่แตกต่างกัน คนที่ร่ำรวยกว่าย่อมต้องการดำรงชีวิตอยู่อย่างมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่สูง มีสิ่งอำนวยความสะดวกสบายมากมายนอกเหนือจากสิ่งที่จำเป็นต่อการครองชีพ คนจนก็เช่นเดียวกัน เมื่อได้รับการสนองตอบความต้องการขั้นพื้นฐานแล้วเขาก็มีสิทธิ์ที่จะพัฒนาตนเองหรือได้รับการพัฒนา ให้มีมาตรฐานการดำรงชีวิตที่สูงขึ้นกว่าขั้นความจำเป็นพื้นฐาน
แนวคิดประการที่สอง เกี่ยวกับขีดจำกัดของสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อม จะทำหน้าที่อย่างน้อย 2 ประการ คือ
(1) เป็นผู้ให้ทรัพยากรแก่กระบวนการพัฒนา
(2) เป็นที่รองรับของเสียจากกระบวนการพัฒนา ระบบสภาพแวดล้อมมีขีดจำกัดในการให้ทรัพยากร และมีขีดจำกัดในการรองรับของเสียในกระบวนการพัฒนา ย่อมจะต้องนำเอาทรัพยากร สิ่งแวดล้อมมาใช้ประโยชน์ และเมื่อมีการพัฒนา จะต้องมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางกายและชีวภาพเกิดขึ้นมากบ้างน้อยบ้าง แล้วแต่ระดับเทคโนโลยีที่ใช้ แล้วแต่อัตราและปริมาณการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แล้วแต่ความสามารถในการบริหารจัดการกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้น การพัฒนาแบบยั่งยืนจะต้องไม่กระทบต่อความสามารถของคนรุ่นต่อๆ ไป ที่จะมาจัดใช้ประโยชน์ จะต้องไม่เกินศักยภาพที่ระบบนิเวศนั้นจะทำให้งอกงามและฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ได้ ไม่เกินขอบขีดความสามารถ ที่ระบบนิเวศจะรองรับได้ จะต้องไม่เกินขีดสมดุลของธรรมชาติแนวคิดประการที่สาม เกี่ยวกับความยุติธรรมในสังคม เพราะการพัฒนาโดยทั่วไปเป็นการปรับปรุงเปลี่ยนให้สภาพเศรษฐกิจ สภาพสังคมดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น แนวทางการพัฒนาแบบยั่งยืนมีหลักการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในปริมาณเท่าที่ฟื้นฟูเกิดใหม่ได้ ความยั่งยืนนั้นไม่อาจมั่นคงอยู่ได้ หากปราศจากนโยบายการพัฒนาที่คำนึงถึงปัจจัยทางสังคม - วัฒนธรรมเข้ามาพิจารณาด้วย อาทิ โอกาสของการเข้าถึงและได้ใช้ทรัพยากรอย่างเท่าเทียมกัน การกระจายการลงทุนและผลประโยชน์ตอบแทนที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาอย่างเหมาะสม การพัฒนาแบบยั่งยืนจึงต้องคำนึงถึงหลักความยุติธรรมระหว่างชนรุ่นปัจจุบันกับชนรุ่นต่อ ๆ ไป (Intergenerational Equity) และหลักการความยุติธรรมระหว่างชนรุ่นเดียวกัน(Intragenerational Equity)ตามหลักการความยุติธรรมระหว่างชนรุ่นปัจจุบันกับชนรุ่นต่อไป ชนรุ่นปัจจุบันมีภาระหน้าที่ความรับผิดชอบต่อคนรุ่นต่อไปในการที่จะต้องมอบมรดกทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในปริมาณและคุณภาพที่ไม่ด้อยไปกว่ายุคปัจจุบัน การทำลายความสุขสมบูรณ์ของชนรุ่นหลังนับว่าเป็นสิ่งที่ไม่ยุติธรรมอย่างยิ่งส่วนหลักความยุติธรรมระหว่างคนรุ่นเดียวกันจะต้องมุ่งไปที่การแก้ไขปัญหาความยากจนและการสนองความต้องการของประชากรผู้ยากไร้ด้อยโอกาส เพื่อลดความไม่เท่าเทียมกัน การที่จะให้คนยากจนชื่นชมกับธรรมชาติ รักษาสภาพแวดล้อมทั้งๆที่ปากท้องยังหิวอยู่เป็นเรื่องที่ขัดต่อความรู้สึก ฝืนต่อความต้องการตามธรรมชาติของเขา เมื่อใดที่สามารถพัฒนาให้หลุดพ้นจากวงจรแห่งความชั่วร้าย (โง่ เจ็บจน) ได้ คนยากจนก็จะมีโอกาสใช้ทรัพยากรและสภาพแวดล้อมในลักษณะที่ยั่งยืนได้การพัฒนาแบบยั่งยืนสนับสนุนค่านิยมที่มีการส่งเสริมให้มีมาตรฐาน ในการบริโภคทรัพยากรที่ไม่ฟุ่มเฟือยที่อยู่ในขอบขีดความสามารถของระบบนิเวศที่จะรองรับได้ ตามคำกล่าวของมหาตมะคานธี ทีว่า .โลกเรานี้มีทรัพยากรเพียงพอสำหรับสนองความต้องการของมนุษย์ แต่มีไม่เพียงเรื่อง .ยิ่งมากยิ่งดี. (the economics of more and more) จะต้องกลายเป็นเศรษฐศาสตร์ของความพอดี(the economics of enough) ซึ่งตรงกับหลักธรรมของพระพุทธศาสนาในเรื่องมัตตัญญุตา คือ ความเป็นผู้รู้จักประมาณ คือ ความพอเหมาะพอดีการพัฒนาแบบยั่งยืนจะต้องคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็นใหญ่หรือมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (people centered development) การพัฒนาที่มีครอบครัวเป็นรากฐาน (family - baseddevelopment) เพราะประชาชนส่วนใหญ่ควรจะได้รับผลการพัฒนาอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม การพัฒนาจึงจะยั่งยืน โดยที่ครอบครัวและชุมชนเป็นรากฐานที่สำคัญของสังคม จึงควรพัฒนาครอบครัวและชุมชนให้มั่นคง เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนลำพังการพัฒนาโดยรัฐบาลฝ่ายเดียว โดยที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วมด้วยจะไม่ทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยที่ประชาชนเป็นผู้รับผลประโยชน์ของการพัฒนา รู้ปัญหาและความต้องการของตนดีการพัฒนาที่ยั่งยืนจึงต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน (people participation) และส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชนในการพัฒนา ภาคเอกชนประกอบด้วยองค์กรเอกชน (non-government organization หรือ(NGO) องค์กรธุรกิจ (business organization) และองค์กรประชาชน (people organization) ดังนั้นภาครัฐบาล องค์กรเอกชน และองค์กรธุรกิจ ควรจะร่วมกันส่งเสริมองค์กรประชาชนให้สามารถดำเนินงานอย่างเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพการพัฒนาแบบยั่งยืนจะต้องเป็นการพัฒนาที่สมดุล โดยมีการพัฒนาที่สมดุลและผสมผสานในด้านต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องพัฒนาที่เน้นหนักไปในด้านเศรษฐกิจจนเกินไป เพราะลำพังการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงด้านเดียว ไม่อาจจะบรรลุถึงการพัฒนาแบบยั่งยืนได้ไม่อาจจะรักษาคุณภาพของสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนได้ จำเป็นต้องมีการพัฒนาด้านอื่นควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะการพัฒนาด้านสังคมและการพัฒนาด้านวัฒนธรรมและจิตใจมีผู้กล่าวว่า สาเหตุที่สำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม คือพฤติกรรมของมนุษย์ (humanbehavior) เช่น การเห็นแก่ความสะดวกสบาย ความเห็นแก่ตัว ความเห็นแก่ได้ การขาดความรับผิดชอบการขาดจิตที่สำนึกต่อส่วนรวม จึงมีคำกล่าวว่า .ตัวเราเองเป็นศัตรูที่ร้ายแรงที่สุดของเรา. (We are ownworst enemy) เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน จึงต้องมีการเร่งรัดการพัฒนาด้านวัฒนธรรมและจิตใจ เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างความเจริญก้าวหน้าด้านเศรษฐกิจและด้านจิตใจ เกิดความมั่งคั่งทางจิตใจ (spiritualwealth) ให้สมดุลกับความมั่งคั่งทางวัตถุ (material wealth)มิติวัฒนธรรมในการพัฒนา
ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของสหประชาชาติ ครั้งที่ 41 ในวันที่ 8 ธันวาคม 2529 ที่ประชุมได้มีมติให้ประกาศว่า ระหว่างปี พ.ศ. 2531 ถึง พ.ศ. 2540 เป็นทศวรรษโลกเพื่อการพัฒนาทางวัฒนธรรม (World Decade for Cultural Development 1989 - 1997) ทศวรรษนี้อยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ขององค์การสหประชาชาติและองค์การยูเนสโก ทศวรรษโลกเพื่อการพัฒนาทางวัฒนธรรมได้กำหนดวัตถุประสงค์สำคัญ 4 ประการ ดังนี้
(1) ยอมรับมิติวัฒนธรรมในการพัฒนา (Acknowledgement of cultural dimension in development)
(2) ยืนยันและส่งเสริมเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม (Affirmation and enrichment of cultural identities)
(3) ขยายขอบเขตการมีส่วนร่วมในชีวิตทางด้านวัฒนธรรม (Broadening participation in culture)
(4) ส่งเสริมความร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศ (Promotion of international cultural cooperation)สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ ได้จัดให้มีการสัมมนาเรื่อง .บทบาทของวัฒน-
ธรรมในการพัฒนาสังคม. ในวันที่ 7 ธันวาคม 2535 ณ ห้องประชุมสวนสยาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
ร่วมมือและผนึกกำลังกันในการส่งเสริมบทบาทของวัฒนธรรมในการพัฒนาสังคม ผู้เข้าร่วมสัมมนา
ประกอบด้วย ผู้แทนของหน่วยราชการและองค์การเอกชนที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนของสถานศึกษาระดับต่าง ๆ
ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ผู้แทนของสมาคมวัฒนธรรมระหว่างประเทศนครเซี่ยงไฮ้ สมาคม
มิตรภาพวิเทศสัมพันธ์มณฑลกวางตุ้ง สมาคมมิตรภาพวิเทศสัมพันธ์มณฑลเสฉวน ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนสื่อ
มวลชน จำนวนทั้งหมด 300 คนวิทยากรและผู้เข้าร่วมสัมมนาได้แสดงข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ มีสาระสำคัญดังนี้
(1) วัฒนธรรม หมายถึง ความเจริญงอกงาม ซึ่งเป็นผลจากระบบความสัมพันธ์ระหว่าง
มนุษย์ต่อมนุษย์ มนุษย์กับสังคม และมนุษย์กับธรรมชาติ จำแนกออกเป็น 3 ด้าน คือ จิตใจ สังคม วัตถุ
มีการสะสมและสืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จากสังคมหนึ่งไปสู่อีกสังคมหนึ่ง
(2) วัฒนธรรม แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ วัฒนธรรมทางวัตถุ เป็นเรื่องเกี่ยวกับความ
สุขกาย เพื่อให้อยู่ดีกินดี มีความสะดวกในการครองชีพ และ วัฒนธรรมทางจิตใจ หมายถึงสิ่งที่ทำให้
ปัญญาและจิตใจมีความเจริญงอกงาม เช่น ศาสนา จริยธรรม ศิลปะ ระเบียบ ประเพณี ซึ่งส่งเสริมความรู้
สึกทางจิตใจให้งอกงามและให้ความสบายใจ สุขใจ วัฒนธรรมทั้งสองประเภทนี้จะต้องสมดุลกัน คือจะ
ต้องทำให้คนมีความสุขทั้งทางกายและจิตใจ
(3) หากวัฒนธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ระหว่างวัฒนธรรมทางวัตถุและวัฒนธรรมทางจิตใจ
ไม่สมดุลกัน สังคมนั้น ชาตินั้นก็จะไม่สงบสุข เช่น ถ้าความเจริญทางวัตถุมากเกินไป แต่ทางจิตใจไม่
เจริญไปด้วยในที่สุดก็จะอยู่ในภาวะที่เรียกว่า .หายนธรรม. หากจิตใจเจริญ แต่วัตถุไม่เจริญเท่าที่ควรบ้าน
เมืองนั้น สังคมนั้นก็จะล้าหลังชาติอื่นๆ ไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร
(4) ในปัจจุบัน วัฒนธรรมทางวัตถุได้เจริญล้ำหน้าไปกว่าวัฒนธรรมทางจิตใจมาก ทำให้
มนุษย์ลุ่มหลงและตกเป็นทาสของวัตถุ มีความเห็นแก่ตัวและเห็นแก่ได้มากขึ้น เห็นแก่ผู้อื่นและประโยชน์
ส่วนรวมน้อยลง จึงจำเป็นต้องร่วมมือกันและผนึกกำลังกันทุกฝ่าย ในการพัฒนาวัฒนธรรมทางจิตใจให้
เจริญทัดเทียมกันกับวัฒนธรรมทางวัตถุ
(5) ทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดต่อการพัฒนาประเทศคือ ภูมิปัญญา ซึ่งสั่งสมมาจากอดีต
แบ่งออกเป็น
(5.1) ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
(5.2) ภูมิปัญญาชาติ
(5.3) ภูมิปัญญาศาสนา
(6) ทศวรรษโลกเพื่อการพัฒนา ได้รับรองความสำคัญของมิติทางวัฒนธรรมในการพัฒนา
ในการพัฒนาของประเทศต่างๆ โดยใช้มิติทางวัฒนธรรม จะก่อให้เกิดผลดีในด้านการศึกษา สิ่งแวดล้อม
สาธารณสุข เกษตรกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(7) วัฒนธรรม หมายถึง วิถีแห่งชีวิต (way of life) ศาสนาหมายถึง ระบบการสร้างวิถีชีวิตที่ดี (way of good life) การศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาชีวิต (way of life development)วัฒนธรรม ศาสนา และการศึกษาถือเป็นแกน เป็นแก่น และเป็นฐานของสังคม เป็นเสมือนเส้นด้าย 3 เส้น ที่จะต้องเกลียวเข้าด้วยกันให้เป็นเชือกเส้นเดียวกัน
(8) ในการปลูกฝังวัฒนธรรม ควรจะสร้างคุณธรรมดังต่อไปนี้ให้เกิดขึ้น ได้แก่
(8.1) ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
(8.2) ความเป็นพี่น้อง และวงศาคณาญาติ
(8.3) ความรู้รักสามัคคี
(8.4) การประนีประนอม
(8.5) การมีชีวิตอยู่ด้วยสติและปัญญา
(8.6) การเอื้ออาทรต่อกัน
(9) คนไทยมีค่านิยมบริโภค ไม่มีค่านิยมในการผลิต มีรสนิยมที่สูงแต่รายได้ต่ำ มีนิสัยฟุ้งเฟ้อ สุรุ่ยสุร่าย ไม่ค่อยประหยัด จึงทำให้มีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ ต้องเป็นหนี้สิน ควรแก้ไขโดยใช้หลัก
ธรรมเรื่อง ทิฏฐธัมมิกัตถะประโยชน์ ซึ่งเป็นประโยชน์ในทางด้านวัตถุ ได้แก่อุฏฐานสัมปทา คือ ขยันหมั่นเพียรในการหาทรัพย์ อารักขสัมปทา คือ รักษาทรัพย์ที่หามาได้กัลยาณมิตตา คือ เลี้ยงชีพอย่างเหมาะสม ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่ฝืดเคือง
(10) พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานและเป็นแกนนำของวัฒนธรรม ในปัจจุบันมีคนไทยที่
เป็นชาวพุทธจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ไม่ประพฤติปฏิบัติตามหลัก
ธรรมของพระพุทธศาสนา จึงควรส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับพระพุทธ
ศาสนา มีหลักธรรมเป็นที่พึ่งและยึดเหนี่ยวทางจิตใจ มีความประพฤติด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง ตาม
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดังนี้ :-
.ประเทศชาติกำลังพัฒนาในทุกด้านและต้องการความสามัคคี ความสงบเรียบร้อย ผลทั้ง
ปวงดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ด้วยประชาชนมีหลักของใจอันมั่นคง มีศรัทธาและปัญญาอันถูกต้อง และปฏิบัติ
ตนอยู่ในทางที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม กรณียกิจอันสำคัญคือการส่งเสริมให้ประชาชนมีพระรัตนตรัย
และธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นหลักของใจ และความประพฤติด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง.
การพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ
1. แผนพัฒนาเศรษฐกิจของไทยฉบับแรกมีชื่อว่า แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1
(พ.ศ. 2504-2519) ตั้งแต่แผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 2 ได้ขยายครอบคลุมถึงการพัฒนาสังคม มีชื่อว่า แผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในระเวลาของแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 -
2544)
2. ระยะเวลาของแผนพัฒนา ฯ ทั้ง 8 แผน มีดังนี้
แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504-2509)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2510-2514)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2515-2519)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544)
3. แผนพัฒนาฯ 3 แผนแรก จาก พ.ศ. 2504 - 2519 ไม่ได้กล่าวถึงนโยบายสิ่งแวดล้อม
เลย ในระยะเวลานั้นทรัพยากรธรรมชาติได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ เพื่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่าง
ไม่มีขีดจำกัด ในแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520 - 2524) นักวางแผนเริ่มมองเห็นว่า การขูดรีด
ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนา กำลังนำความทรุดโทรมมาสู่ระบบนิเวศของไทยอย่างร้ายแรง ในยุคนั้น
จึงเริ่มมีการกล่าวถึงการฟื้นฟูและการคุ้มครองธรรมชาติ แต่ในภาคปฏิบัติก็ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น จนกระทั่งถึง
แผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525 - 2529) ได้มีการเสนอการทำแผนแบบผสมผสาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
ของแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 4
4. การวางนโยบายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของไทยเริ่มมีรูปร่างอย่าง
เป็นระบบ ในแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530 - 2534) ซึ่งมีการเสนอปัญหาอย่างละเอียดและกว้างขวาง
ในขณะเดียวกันก็มีการเตือนว่า ความลดน้อยถดถอยและความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ กำลัง
สร้างขีดจำกัดให้แก่การพัฒนาประเทศในอนาคต
5. แผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535 - 2539) ได้กล่าวถึงปัญหาความเสื่อมโทรมของ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้ว่า การที่เศรษฐกิจของไทยเติบโตขึ้นในระยะที่ผ่านมาในอัตราสูง
มากทำให้มีการระดมทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะที่ดิน ป่าไม้ แหล่งน้ำ ประมง และแร่ มาใช้ในอัตราที่
สูง อันเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติดังกล่าว ยิ่งไปกว่านั้นการขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติที่ผ่านมา ก็เป็นสาเหตุสำคัญซ้ำเติมให้ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว ดัง
จะเห็นได้จากพื้นที่ป่าของประเทศซึ่งลดลงจาก 109.5 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 34 ของพื้นที่ทั้งหมดของ
ประเทศ ในปี 2521 เหลือน้อยกว่า 90 ล้านไร่ หรือน้อยกว่าร้อยละ 28 ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศในปี
2532นอกจากนี้ การขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมและการ
ท่องเที่ยว รวมตลอดถึงการขยายตัวของประชากรในเมือง ได้ก่อให้เกิดปัญหามลพิษในด้านต่างๆ เช่น น้ำ
เน่า อากาศเสีย เสียงรบกวน กากของเสีย และสารอันตราย ซึ่งเพิ่มปริมาณมากขึ้น อีกทั้งคุณภาพน้ำในแม่น้ำ
สายหลัก เช่น แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีน รวมถึงคุณภาพของน้ำทะเลชายฝั่งในบริเวณแหล่งท่องเที่ยว
ซึ่งเสื่อมโทรมและมีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ และ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนและชุมชน ซึ่งจะเป็นข้อจำกัดต่อการ
พัฒนาเศรษฐกิจต่อไปในอนาคต
6. แผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 7 ซึ่งนักวางแผนถือว่าเป็นแผนพัฒนาที่มีความสมดุลและให้
ความสำคัญแก่การพัฒนาแบบยั่งยืน ได้กำหนดวัตถุประสงค์หลักไว้ 3 ประการ ดังนี้
(1) รักษาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อให้การเจริญ
เติบโตเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ
(2) การกระจายรายได้และกระจายการพัฒนาไปสู่ภูมิภาคและชนบทให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
(3) เร่งรัดพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
7. ในแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 7 ได้กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้ดังนี้
7.1 เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติมีศักยภาพที่จะเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อการพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างสมดุลและยั่งยืน รวมทั้งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของประชาชนในชนบทได้ต่อไป
7.2 ลดปริมาณมลพิษทางน้ำ อากาศ และเสียง กากของเสีย สารพิษ ให้อยู่ในมาตรฐานที่ไม่
เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของคนและชุมชนในเมืองและเขตชนบท
8. นโยบายการพัฒนาสิ่งแวดล้อมตามแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 7 ได้เน้นการกำหนดคุณภาพ
สิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล และกวดขันให้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ในการควบคุมภาวะมลพิษให้ควบ
คู่ไปกับการจัดระบบการบริหารและการจัดการกับภาวะมลพิษ โดยให้ความสำคัญลำดับสูงสุดต่อการป้อง
กันและแก้ไขภาวะมลพิษทางอากาศที่จะเกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมและกากของเสียที่เป็นพิษโดยมีแนว
ทางการพัฒนาเฉพาะด้าน ซึ่งได้แก่มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ กากของเสีย และสารเป็นพิษ
นอกจากนี้ ยังได้กำหนดแนวทางการบริหารและการจัดการด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่จะมีส่วนสนับสนุนแนวทางการพัฒนาเฉพาะด้าน ดังนี้คือ
8.1 ดำเนินการให้องค์กรร่วม 3 ฝ่าย คือ ชุมชน สถานประกอบการและภาครัฐคอยกำกับดูแล ป้องกันรักษาสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
8.2 กำหนดให้จัดทำแผนป้องกันและรักษาสิ่งแวดล้อมเอาไว้ในแผนการลงทุนสำหรับโครงการบริการพื้นฐานต่าง ๆ และให้การศึกษาแก่เยาวชน ให้มีจิตสำนึกต่อการป้องกันและรักษาสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดเป็นหลักสูตรในการศึกษาต่อไป
8.3 ใช้มาตรการด้านภาษี สนับสนุนธุรกิจอุตสาหกรรมให้ลงทุนป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนธุรกิจที่ดำเนินการพัฒนาอุปกรณ์หรือวัตถุดิบ ที่ช่วยในการปรับหรือแก้ไขภาวะมลพิษ รวมทั้งกำหนดให้มีการเก็บภาษีการทำลายสิ่งแวดล้อมจากธุรกิจที่ไม่ได้ติดตั้งและใช้เครื่องมือกำจัดมลพิษตามกฎหมาย
8.4 สนับสนุนให้สถาบันการเงินพิจารณาแนวทางการจัดตั้ง .กองทุนคุ้มครองสิ่งแวดล้อม.
8.5 ใช้มาตรการทางด้านการเงินและการคลัง ในการจูงใจให้โรงงานอุตสาหกรรมใหม่เคลื่อนย้ายไปยังพื้นที่ที่กำหนด
8.6 สนับสนุนองค์กรของรัฐและประชาชนในระดับท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร บูรณะ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทางด้านศิลปกรรม
8.9 นโยบายการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ในแผนพัฒนา ฯ ฉบับที่ 7 ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติโดยส่วนรวมและเฉพาะด้าน โดยจะส่งเสริมให้ประชาชน ธุรกิจเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน ตลอดจนองค์กรของรัฐ ทั้งในส่วนกลางและระดับท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการ
บริหาร บูรณะ และจัดการทรัพยากรธรรมชาติ จัดการศึกษาให้แก่เยาวชน ให้มีจิตสำนึกต่อการอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติ เอาลงในหลักสูตรการศึกษาต่อไป และได้มีการกำหนดแนวทางการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติเฉพาะด้าน คือ ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรแหล่งน้ำ ทรัพยากรที่ดิน ทรัพยากรแร่
ทรัพยากรชายฝั่งทะเลและปะการัง รวมทั้งทรัพยากรประมง
9. ในส่วนของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ซึ่งจะสิ้นสุดของแผนในปี พ.ศ. 2544 นั้น ได้เน้น
คน เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา โดยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะการศึกษาได้เน้นที่จะ
ให้การศึกษาภาคบังคับถึง ป. 9 ให้บรรลุวัตถุประสงค์ให้ได้ ในขณะเดียวกันก็ควบคุมการพัฒนาทางด้าน
เศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพให้ได้ พร้อมทั้งปรับปรุงรักษาความสมดุลของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ มีการรณรงค์การปลูกป่า มีโครงการปลูกป่าเกิดขึ้น ก่อนประเทศชาติโดยส่วนรวมจะกลายเป็นทะเลทราย พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2532 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราโชวาททรงห่วงใยถึงสิ่ง แวดล้อมของประเทศและของโลก มีข้อความที่สำคัญบางประการ ดังนี้
มีฝรั่งบอกว่ากรุงเทพ ฯ จะถูกน้ำท่วม เพราะสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง เนื่องจากมีสารคาร์บอนขึ้นไปในอากาศมาก ทำให้เห็นเป็นตู้กระจก โลกนี้จะร้อนขึ้น เมื่อโลกนี้ร้อนขึ้น น้ำแข็งจะละลายทะเล น้ำทะเลจะพองขึ้น เพราะสิ่งของที่ร้อนขึ้น ย่อมมีการพองมากขึ้น เมื่อพองขึ้น จะทำให้ท้องที่ที่ต่ำเช่น กรุงเทพ ฯ ถูกน้ำทะเลท่วม.สิ่งที่ทำให้มีคาร์บอนในอากาศมากนั้น มาจากการเผาเชื้อเพลิง เช่น ถ่านหิน น้ำมันขึ้นไปในอากาศ และการเผาป่า ทำลายป่า วิธีแก้ไขก็ต้องเผาน้อยลง และปลูกต้นไม้มากขึ้น.เดี๋ยวนี้กำลังมีน้ำเน่า เพราะฉะนั้นจะต้องป้องกันไม่ให้มีน้ำเน่า โครงการน้ำเน่าเป็นโครงการที่ต้องปฏิบัติจัดการโดยเร็วมิฉะนั้นเราจะนอนอยู่ในน้ำเน่า น้ำดีจะไม่มีใช้ แม้จะไปซื้อน้ำมาจากต่างประเทศมาก็กลายเป็นน้ำเน่าไปหมด เพราะเอามาใช้โดยไม่ระมัดระวัง ถ้าเรามีน้ำ เราเอามาใช้อย่างระมัดระวังข้อหนึ่ง และควบคุมน้ำเสียที่เสียไปอย่างดีอีกข้อหนึ่ง ก็อยู่ได้ เพราะว่า ภูมิประเทศของประเทศไทยอำนวยให้เหมาะแก่การอยู่กิน ประเทศไทยนี้เป็นประเทศที่เหมาะมากในการตั้งถิ่นฐาน แต่ต้องรักษาไว้ไม่ทำให้ประเทศไทยส่วนที่เป็นนา กลายเป็นทะเลทราย ก็ป้องกันได้การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน และจะต้องได้รับความสนในทั้งในระดับนโยบาย ระดับการวางแผน และระดับปฏิบัติ.
พระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจา ฯ พระบรมราชินีนาถ เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ ในวันที่ 12 สิงหาคม 2535 สมเด็จพระนางเจ้า ฯพระบรมราชินีนาถ ได้ทรงมีพระราชดำรัสต่อคณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้า ฯ ถวายพระพร เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม มีข้อความบางประการดังนี้
.เพราะเหตุใดเราจึงควรรักษาป่าไว้ ไม่ใช่เพียงเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าเท่านั้น แต่
เหตุผลที่สำคัญที่สุด คือ เราควรจะรู้คุณของแผ่นดิน เราเรียกแผ่นดินนี้ว่า แผ่นดินแม่ ก็เพราะแผ่นดินนี้เป็นที่
เกิดและเลี้ยงดูคนไทยมากว่า 700 ปี ควรที่เราจะบำรุงรักษาแผ่นดินให้คงความอุดมสมบูรณ์ไว้ถ้าเรามัวแต่
ตักตวงผลประโยชน์จากแผ่นดิน เช่น เอาแต่ตัดไม้ขายจนป่าสูญสิ้นไป ใช้ยาฆ่าแมลงและฆ่าวัชพืชจนดิน
เสียหมด หรือทิ้งของเสียสิ่งปฏิกูลลงไปในแม่น้ำลำคลองโดยไม่ห่วงใยแผ่นดินเลย หากเรากระทำทารุณ
กรรมต่อแผ่นดินโดยไร้ความสำนึกถึงบุญคุณเช่นนี้ สักวันหนึ่งแผ่นดินแม่ก็คงตายจากเราไป โดยไม่มีวัน
หวนกลับคืนมาคงเหลือไว้แต่พื้นดินที่แห้งแล้ง สิ้นสภาพจากการเป็นดินที่จะทำการเพาะปลูกได้เมื่อลมพัดก็
มีแต่ฝุ่นฟุ้งตลบ เหมือนแผ่นดินที่ไร้วิญญาณ ไร้ความหมายใดๆ ต่อชีวิตบนพื้นโลก
.ขณะนี้ เรายังมีเวลาและโอกาสที่จะฟื้นฟูรักษาแผ่นดิน ป่าไม้ ไอน้ำก็จะกลั่นตัวเป็นหยาดฝน ตกลงมาให้เราได้มีน้ำจืดไว้ดื่มใช้ รากของต้นไม้ยังช่วยซับน้ำไว้ใต้ดิน แม้กระทั่งซึมซับลงไปเป็นน้ำบาดาล ท่านทราบหรือไม่ว่าผิวดินในป่านั้น มีซากใบไม้และกิ่งไม้ทับถมกันเป็นชั้นหน้าดิน ที่หนาถึงครึ่งเมตร มีความสามารถอุ้มน้ำได้มากกว่าผิวดินธรรมดา 5 ถึง 7 เท่า ถ้าฝนตกหนักไม่เกิน 280 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง ดินในป่าจะดูดซับน้ำไว้ได้หมด แต่ถ้าฝนตกบนผิวดินธรรมดา เพียง 60 ถึง 80 มิลลิเมตร เท่านั้น น้ำก็จะไหลบ่าแล้ว ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอุทกภัยขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า ธรรมชาติกลับคืนมาเหมือนเดิม มีแม่น้ำลำธาร มีน้ำจืด ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดต่อชีวิตมนุษย์และการพัฒนาประเทศชาติ เราต้องช่วยกันรักษาป่า เพื่อเราจะได้มีอนาคตและความหวังร่วมกัน ข้าพเจ้าอาจจะได้ทำหน้าที่เพื่อประชาชนมาแล้วหลายอย่าง แต่ถ้าข้าพเจ้าไม่สามารถทำให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่าของการรักษาป่าว่า ได้ช่วยพิทักษ์น้ำและดินไว้เพียงใด
ก็เหมือนกับข้าพเจ้าทำหน้าที่ยังไม่สมบูรณ์ ดังนั้น การที่คนไทยปลูกป่าเพื่อเป็นเกียรติแก่ข้าพเจ้าจึงเป็นสิ่งที่
ข้าพเจ้าปลื้มใจมาก.
สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานเปิดการ
ประชุมวิชาการนานาชาติ Princess Congress ครั้งที่ 2 ในหัวข้อเรื่อง .สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี ต่อสิ่งท้าทายมนุษยชาติ ในศตวรรษที่ 21. ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2535 ณ โรงแรมแชง-กรีลา
ได้พระราชทานพระราชดำรัสถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมว่า เป็นเรื่องละเอียดอ่อนและสลับซับซ้อน องค์ประกอบ
ต่างๆ ของสิ่งแวดล้อมทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ต่างมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง การรวมกันอยู่ได้อย่างสม
ดุลเกื้อกูลซึ่งกันและกันขององค์ประกอบต่างๆ ของสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้มนุษย์ได้รับประโยชน์จากสิ่ง
แวดล้อมอย่างเต็มที่
พระราชดำรัสตอนหนึ่งมีความสำคัญว่า
.คนไทยเราโชคดี ที่มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระราชหฤทัยเปี่ยมล้นด้วยความ
เมตตาต่อมวลพสกนิกรถ้วนหน้า และทรงมีพระปรีชาในเรื่องการพัฒนาชนบทและแหล่งน้ำ เสด็จพระราช
ดำเนินดูแลทุกข์สุขของราษฎรอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า 40 ปี.
.ข้าพเจ้า ฯ มีโอกาสตามเสด็จไปถวายงานด้วย จึงมีโอกาสได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของ
สิ่งแวดล้อม เช่นความอุดมสมบูรณ์ของป่าลดน้อยลง สัตว์ป่าบางชนิดใกล้สูญพันธุ์ แหล่งน้ำลำธารตื้นเขิน
ความแห้งแล้งในบางท้องถิ่นเริ่มเห็นเด่นชัดโดยเฉพาะในภาคอีสาน หากปล่อยไว้อาจจะเป็นทะเลทรายได้.
.ดังนั้น โครงการป่ารักน้ำจึงเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ภาคอีสาน เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525
ที่ตำบลถ้ำติ้ว อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร สภาพแห้งแล้งในอดีตได้คืนเขียวชอุ่มอีกครั้งหนึ่ง ด้วยความ
ร่วมมือของประชาชน.
.ในปัจจุบันผู้คนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างมีความเข้าใจและมีความสุขสงบ ทั้งนี้เพราะ
ความร่วมมือร่วมใจของราษฎรทุกคน ที่เห็นความสำคัญของป่าไม้.
.การทำลายสภาพแวดล้อมที่กล่าวมาแล้ว เกิดจากความยากจน ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เมื่อมี
การขจัดความยากจนของราษฎร และสอนให้รู้ประโยชน์คุณค่าของป่าไม้ ก็สามารถบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น
ได้ผืนโลกที่เราอาศัยอยู่นี้ มีทรัพยากรล้ำค่าจำกัด เช่น น้ำ แต่จำนวนประชากรนั้นเพิ่มขึ้นทุกปี หากใช้ทรัพยากรธรรมชาติกันอย่างไม่ระมัดระวัง ก็จะก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมขึ้นต่างๆ เช่น เกิดมล
ภาวะของอากาศ ของน้ำ ของดิน เป็นต้น
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติติดตามที่กรมป่าไม้ได้กําหนดเป็นหลักการไว้ ดังนี้
1. การใช้ให้นานที่สุด การใช้ทรัพยากรทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นสิ่งของเครื่องใช้ใด ๆ จะต้องถนอม
รักษาเพื่อให้ได้ใช้สิ่งของเหล่านั้นให้นานที่สุด ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้รวดเร็ว
เกินไป
2. การใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด การใช้สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์ให้ได้มากที่สุด และมีผู้
ได้รับประโยชน์จำนวนมาก จะช่วยลดปริมาณความต้องการในการแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติลงได้
3. การนำกลับมาใช้ใหม่ ของใช้หลายอย่างที่ได้นำมาใช้จนเก่าหรือหมดสภาพการใช้ไปแล้ว ถ้า
ได้นำไปปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงสภาพให้เป็นวัตถุดิบ เพื่อทำเป็นสินค้ากลับมาใช้ใหม่ จะช่วยทำให้ลด
การแสวงหาทรัพยากรและลดการทำลายสิ่งแวดล้อมลงได้
4. การทดแทน ทรัพยากรบางชนิดหายาก หรือมีอยู่จำนวนน้อย การแสวงหาวัสดุอื่น ที่มีอยู่มาก
หรือมีค่าน้อยกว่ามาใช้ทดแทน ก็จะช่วยลดการสูญเสียทรัพยากรที่หายากลงได้ และยังช่วยทำให้วัสดุหรือ
ทรัพยากรที่ไม่มีค่า กลับมีค่าเพิ่มขึ้นด้วย
5. การบูรณะซ่อมแซม สิ่งของเครื่องใช้หลายชนิด ถ้าได้รับการบูรณะซ่อมแซมในส่วนที่ขัดข้อง
สึกหรอให้กลับสู่ในสภาพที่ใช้งานได้ จะช่วยยืดอายุการใช้และลดอัตราการทำลายสิ่งแวดล้อมโดยส่วนรวม
ลงได้
6. การฟื้นฟูความเสื่อมโทรม ทรัพยากรธรรมชาติที่สามารถเกิดขึ้นใหม่ได้และอยู่ในสภาพเสื่อม
โทรมควรได้มีการเร่งฟื้นฟู เพื่อให้มีทรัพยากรธรรมชาติไว้ใช้ และเพื่อรักษาความสมดุลของธรรมชาติด้วย
7. การลดอันตรายจากสารพิษ สารพิษหลายชนิดเมื่อนำไปทิ้งจะก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์และ
ระบบนิเวศน์ ดังนั้นก่อนทิ้งสารพิษหรือของเสียเหล่านั้น ควรทำให้สารพิษหรือของเสียอยู่ในสภาพที่ก่อให้
เกิดอันตรายต่อระบบนิเวศน์ให้น้อยที่สุด
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ เป็นมาตรการสำคัญที่จะทำให้มนุษย์ได้มีปัจจัยพื้น
ฐานในการดำรงชีวิต ต่อไปทั้งในปัจจุบัน และอนาคต แต่การอนุรักษ์ดังกล่าวจะต้องใช้เงินลงทุนจำนวน
มาก และจะต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชนอย่างกว้างขวางในการป้องกัน และฟื้นฟูสภาพแวดแล้อม
ที่เสื่อมโทรมไปแล้ว มิฉะนั้นแล้วมนุษย์เองก็จะขาดปัจจัยในการดำรงชีวิต เกิดโรคภัยไข้เจ็บ และเกิดภัย
ธรรมชาติขึ้นในที่สุด
ในขณะที่เรากำลังชื่นชมยินดีกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมกันอยู่นี้ ขณะเดียวกัน คุณภาพ
ชีวิตกลับมีแนวโน้มที่เสื่อมทรามลง และเอกลักษณ์แห่งความเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมสืบต่อกันมาอันยาว
นานก็กำลังจะเลือนหายไปอย่างไม่รู้ตัว ซึ่งการพัฒนาในแนวทางอย่างนี้ ท่านพุทธทาส ได้เคยกล่าวไว้
เมื่อหลายปีก่อนว่าเป็น การพัฒนาแบบหมาหางด้วน ความเสื่อมทรามของคุณภาพชีวิต และความเปลี่ยน
แปลงของวิถีชีวิตในวัฒนธรรมไทยนั้น ล้วนเกิดขึ้นมาจากสาเหตุเดียวกันคือ
1. ความเสื่อมโทรมของคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้เสื่อมทรามลงจน
เห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น ความร้อนและความแห้งแล้งของอากาศที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในทุกปี
อากาศเสียหรือที่เรียกว่ามลพิษของอากาศได้แผ่กระจายไปทั่วกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะในบริเวณที่มีการ
จราจรติดขัดมีรถอยู่เป็นจำนวนมาก การขาดแคลนน้ำดื่ม น้ำใช้และน้ำในการเกษตร ที่มีภาวะการขาด
แคลนเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาหลายปี และจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น การเพิ่มขึ้นของปริมาณขยะและสิ่ง
ปฏิกูลตามบ้านเรือน ชุมชน ดังจะเห็นได้จากในเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ได้เกิดปัญหาขยะล้น
จนเกิดความสกปรก สิ่งกลิ่นเหม็น และเป็นที่น่ารังเกียจอยู่ทั่วไปความเสื่อมโทรมของคุณภาพสิ่งแวดล้อมดังกล่าวก็ล้วนเกิดขึ้นจากการมีสารพิษที่เกิดขึ้นจากกระบวนผลิตทางอุตสาหกรรม ได้แก่ ควันและน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม จากกระบวนการผลิตทางการเกษตร ได้แก่ การใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงในการเกษตร และจากพัฒนาทางเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบข้างเคียงต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ควันเสียจากรถยนต์ การแพร่กระจายของน้ำมันในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในแหล่งน้ำ ฯลฯ
2. ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางสังคม อันได้
แก่ลักษณะนิสัยในการบริโภคและการใช้ทรัพยากร ที่มีแนวโน้มการใช้ที่เพิ่มขึ้นและฟุ่มเฟือยมากขึ้น การ
เปลี่ยนแปลงระบบการผลิตทั้งการเกษตรและอุตสาหกรรม ที่มุ่งการผลิตในเชิงพานิชมากกว่าการผลิตเพื่อ
การมีกินมีใช้ในครัวเรือน หรือภายในประเทศ การพัฒนาระบบการคมนาคมและการสื่อสารที่สะดวกและ
รวดเร็ว ทำให้การดำรงชีวิตต้องพึ่งพิงอยู่กับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมและสื่อสารมากยิ่งขึ้น
ความเปลี่ยนแปลงของสังคมและวัฒนธรรมดังกล่าว ก็ล้วนเกิดขึ้นจากการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม
จากประเทศตะวันตก เช่น ยุโรปและอเมริกา อันเป็นผลให้เกิดค่านิยมและวัฒนธรรมใหม่ ๆ ขึ้น ระบบ
เศรษฐกิจและมาตรฐานของสังคมที่อ้างอิงอยู่กับเศรษฐกิจ และมาตรฐานของสังคมที่มีชาวตะวันตกเป็นผู้
กำหนด ตลอดจนระบบการศึกษาที่เรียกว่า การศึกษาสมัยใหม่ ก็ล้วนเร่งหรือบ่อนทำลายเอกลักษณ์ของ
วัฒนธรรมไทยทั้งสิ้น
นอกจากความเสื่อมทรามของคุณภาพชีวิต และความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ได้เกิดขึ้นจากมูลเหตุ
ต่าง ๆ แล้วนั้น การเพิ่มขึ้นของประชากรกในทุกภูมิภาคของโลก ยิ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพของสิ่ง
แวดล้อม สังคมและวัฒนธรรมไทยโดยตรง และทั้งยังได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชากร
เองอีกด้วยถึงแม้จะได้มีการกล่าวไว้ในนโยบายทางเศรษฐกิจสังคม และนโยบายของรัฐบาล ในการบริหาร
ประเทศเสมอมาว่า จะมุ่งพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและบำรุงรักษาวัฒนธรรมไทยไปด้วยก็ตามที แต่ระบบ
เศรษฐกิจที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันและที่จะเป็นไปในอนาคต จะไม่สามารถทำให้สิ่งแวดล้อมดำรงอยู่อย่างมี
คุณภาพเพียงพอแก่การดำรงชีวิตที่มีคุณภาพ การยอมรับนับถือหรือชื่นชมกับสังคมและวัฒนธรรมแบบสมัย
ใหม่ ก็จะไม่สามารถทำให้การดำรงเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทยเอาไว้ได้ เช่นกันจะเห็นได้ว่า การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตามแนวทางที่เป็นอยู่จะก่อให้เกิดความเสื่อมทรามแก่คุณภาพชีวิต อันเนื่องมาจากการพัฒนาที่ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมแก่คุณภาพของสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตในสังคมได้ในอนาคตดังนั้นจึงได้มีแนวคิดและการปฏิบัติที่เรียกว่า .การพัฒนาที่ยั่งยืน เกิดขึ้นซึ่งหมายถึงการพัฒนาที่จะ
ส่งผลต่อมนุษย์และมวลมนุษย์ได้อย่างถาวรมั่นคงโดยมีหลักการ ดังนี้
1. มนุษย์ยังจะต้องอาศัยปัจจัยในการดำรงชีวิตจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ใน
โลกนี้เท่านั้น
2. การดำรงชีวิตของมนุษย์ด้วยกัน การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นจะต้องเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
3. การพัฒนาคุณภาคสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติจะเป็นพลังสำคัญในการพัฒนา สิ่งแวด
ล้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรมจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วน
4. การพัฒนาคุณภาพประชากรและการใช้ทรัพยากร จะเพิ่มขึ้นได้ในปริมาณที่จำกัดเท่านั้น นั่นคือ
วิถีทางดำรงชีวิตจะต้องได้รับการปรับปรุงอยู่บนพื้นฐานของหลักการในข้อ 1 , 2 และ 3
นโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืน
การพัฒนาที่จะก่อให้เกิดผลที่ยั่งยืนยาวนาน จะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมแก่คุณภาพของ
สิ่งแวดล้อมและต้องกระทำอย่างจริงจัง การพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
ที่เสื่อมโทรม มีดังนี้
1. การควบคุมการเพิ่มประชากร การเพิ่มประชากรทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างกว้างขวาง ต้อง
มีการผลิตอาหารเพิ่มขึ้น ต้องการที่อยู่อาศัย ต้องการน้ำดื่มน้ำใช้เพิ่มขึ้น ฯลฯ ความต้องการที่เพิ่มขึ้นเหล่า
นี้ได้ก่อให้เกิดการร่อยหรอขาดแคลนทรัพยากร เกิดสารพิษในสิ่งแวดล้อม และทำให้ธรรมชาติหรือสิ่งแวด
ล้อมขาดความสมดุลในที่สุด การหยุดยั้งการเติบโตหรือการหยุดยั้งการเพิ่มประชากรมนุษย์ จะช่วยลด
ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและลดปริมาณการใช้ทรัพยากรธรรมชาติลง
2. การพื้นฟูสภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่ในสภาพเสื่อมโทรม เช่น
ป่าไม้ แหล่งน้ำ การพังทลายของหน้าดินจะต้องได้รับการป้องกันมิให้เกิดสภาพเสื่อมโทรมขึ้นต่อไป และ
จะต้องฟื้นฟูพัฒนาปลูกป่า ขุดลอกหาแหล่งน้ำ การใช้ที่ดินเพื่อกิจการต่าง ๆ ต้องเหมาะสมกับสภาพพื้นที่
เป็นต้น
3. การป้องกันกำจัดสารพิษ สารพิษที่แพร่กระจายในอากาศ แหล่งน้ำและที่อยู่ในวงจรอาหารจะ
ต้องกำจัดออกไป โดยการป้องกัน ควบคุมการใช้สารพิษเหล่านั้นทั้งในการเกษตร อุตสาหกรรม และใน
บ้านเรือน มีแหล่งรวบรวม จัดการ และขจัดสารพิษเหล่านั้นมิให้แพร่กระจายออกไป
4. การวางแผนการใช้ที่ดินและน้ำ ที่ดินที่มีอยู่ทั่วประเทศทั้งในชนบทและในเมืองจะต้องมีการ
จัดสรรการใช้ให้เหมาะสมกับสมรรถนะของดิน ไม่ว่าจะเพื่อประโยชน์ทางเกษตรกรรมหรืออุตสาหกรรม
การใช้เป็นชุมชนที่อยู่อาศัย และการใช้เพื่อการสาธารณูปโภค จะต้องเป็นไปอย่างสอดคล้องเหมาะสม
และให้ประโยชน์สูงสุด น้ำที่ใช้ทั้งเพื่อการเกษตร อุตสาหกรรม และอุปโภค จะต้องมีการวางแผนการใช้
ให้เกิดความเป็นธรรม พอเหมาะแก่ฤดูกาล และเหมาะกับวัตถุประสงค์ของการใช้ ทั้งป้องกันมิให้มีการ
แพร่กระจายสารพิษ หรือป้องกันน้ำเสียมิให้แพร่กระจายไปสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ
5. การประหยัดการใช้ทรัพยากร การใช้ทรัพยากรทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นน้ำ ไฟฟ้า หรือพลังงาน
อื่น ๆ การกิน และการใช้เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันทุกชนิด จะต้องเป็นไปอย่างประหยัด และใช้
ประโยชน์ให้ได้นานคุ้มค่ามากที่สุด
6. การพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสม เทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ทั้งในภาคเกษตร อุตสาหกรรม
การสื่อสาร คมนาคมและในครัวเรือน จะต้องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพ
สิ่งแวดล้อม ทั้งจะต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไข และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมได้
ด้วย
7. ค่านิยมและวัฒนธรรมที่เหมาะสม ค่านิยมและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต และการใช้ปัจจัยในการดำรงชีวิต จะต้องเป็นไปอย่างพอเหมาะกับกำลังการผลิตที่เกิดขึ้นในระบบนิเวศน์ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ ที่ก่อให้เกิด ค่านิยมฟุ่มเฟือย ควรถือว่าเป็นการมุ่งทาลายการดำรงอยู่ของมนุษยชาติ
โดยส่วนรวม
8. การควบคุมอาวุธสงคราม อาวุธที่ใช้ทำสงครามและเพื่อประโยชน์ในการทำลายล้างกันจะต้อง
ถูกควบคุมจำกัดการสร้าง การใช้ และการซื้อขายกัน เพื่อป้องกันการข่มขู่รุกราน การได้เปรียบในการใช้
ทรัพยากร และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการใช้อาวุธสงครามเหล่านั้น
9. การให้การศึกษา การให้การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศน์
สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี หรือวิชาการด้านอื่น ๆ จะต้องผสมผสานกันอย่างถูกต้องและเป็นไปเพื่อการ
ดำรงชีวิตที่มีคุณภาพก่อให้เกิดสติปัญญา ก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในชีวิตและธรรมชาติโดยรอบตัว
อย่างถ่องแท้ และก่อให้เกิดทักษะที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตที่แท้จริง !
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น