วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน

พระพุทธศาสนากับการแก้ปัญหาและการพัฒนา
ความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน
ความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (sustainable development)
UN Commission on Environment and Development ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า การพัฒนาที่ยั่งยืน คือการพัฒนาที่สนองความต้องการของปัจจุบัน โดยไม่ทำให้ประชาชนรุ่นต่อไปในอนาคตต้องประนีประนอมยอมลดความสามารถของเขาในการที่จะสนองความต้องการของเขาเอง นั่นคือ เป็นการพัฒนาที่จะช่วยให้อนุชนในอนาคตลดความต้องการของตนลง (ทรัพยากรธรรมชาติไม่สามารถสนองความต้องการของอนุชนเหล่านี้ได้ จึงต้องประนีประนอมกับสภาพแวดล้อม โดยการลดความต้องการ) ส่วนในหนังสือ Global Ecology Handbook ได้ให้ความหมายที่เข้าใจง่ายว่า การพัฒนาที่ยั่งยืน คือนโยบายที่สนองความต้องการของประชาชนในปัจจุบัน โดยไม่ต้องทำลายทรัพยากรซึ่งจะเป็นที่ต้องการในอนาคต (พระธรรมปิฎก. 2541 : 65-66)
รังสรรค์ ประทุมวรรณ์ (2543 : 110-112) ได้กล่าวถึงการพัฒนาทางเลือก (Alternative Development) แนวทางหนึ่งซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาที่ได้รับการยอมรับจากนักคิด นักวิชาการ หรือนักพัฒนาหลายกลุ่มว่า เป็นแนวการพัฒนาที่น่าจะมีความเหมาะสมในการนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศ เรียกว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนในช่วงระยะแรก ๆ การพัฒนาแบบยั่งยืนมีจุดเน้นสำคัญอยู่ที่ประเด็นเรื่องของทรัพยากรธรรมชาติ คือมองว่ารูปแบบของการพัฒนาจะต้องเป็นไปในทิศทางที่ทำให้สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างต่อเนื่อง และไม่ทำลายหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งแวดล้อม เอ็ดวาร์ด บี บาร์เวียร์ ได้เสนอรูปแบบของการพัฒนาแบบยั่งยืนว่ามีจุดสำคัญอยู่ที่รูปแบบการพัฒนาจะต้องตอบสนองเป้าหมายของระบบ 3 ระบบคือ
1. ระบบชีวิวิทยา การพัฒนาจะต้องไม่ทำลายในเรื่องของความหลากหลายทางพันธุกรรม การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอยู่ในขอบเขตที่ธรรมชาติสามารถผลิตทดแทนได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการ และธรรมชาติสามารถจะฟื้นตัวกลับมาได้อีกครั้ง2. ระบบเศรษฐกิจ การพัฒนาจะต้องสามารถตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของสมาชิกในสังคมได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน3. ระบบสังคม การพัฒนาจะต้องคงไว้ซึ่งความหลากหลายทางวัฒนธรรม สร้างให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม และสมาชิกในสังคมมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมของตนเอง
จะเห็นได้ว่าการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นแนวทางหนึ่งที่จะพัฒนาตนเอง สังคม ประเทศชาติ และธรรมชาติให้อยู่ร่วมกันได้ ต่างพึ่งพิงอาศัยซึ่งกันและกัน เพราะต่างก็เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน เพราะฉะนั้นการพัฒนาไม่ได้มองเฉพาะการตอบสนองความต้องการของมนุษย์เพียงอย่างเดียว จะต้องพัฒนาตัวของมนุษย์ให้สามารถลดความต้องการของตนลง และบริโภคทรัพยากรธรรมชาติอย่างใช้สติปัญญา


การพัฒนาแบบยั่งยืน เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากในยุคสมัยนี้ เนื่องจากมีการเพียรพยายามศึกษาค้นคว้าให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน แต่ครั้งทำไป ๆ ปรากฏว่า การพัฒนาที่ผ่านมานั้น ไม่เป็นผลดีต่อมนุษยชาติ ยังเกิดผลเสียหาย มีมลภาวะ มีภัยธรรมชาติที่ย่ำยีชีวิตผู้คนไปมากมาย จึงมีผู้สนใจโดยหันมาเอาใจใส่ที่จะหาแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนขึ้น ในเรื่องนี้มีหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ และแก้ไขปัญหาได้ด้วย
พระธรรมปิฎกได้แสดงปาฐกถาธรรม เรื่อง การพัฒนาที่ยั่งยืน มีความสำคัญตอนหนึ่งว่าจากการที่การพัฒนาของโลกได้ทำให้ผู้คนประสบปัญหาสังคมและจิตใจมาตามลำดับ จนกระทั่งมาเจอปัญหาสภาพแวดล้อมเข้าจึงทนไม่ไหว ทำให้ต้องคิดเปลี่ยนแปลงวิธีการและกระบวนการพัฒนากันใหม่ แล้วก็เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนขึ้น ปัญหาสามเส้าคือ
1. ผลาญของดีให้หมดไป2. ระบายของเสียใส่ให้แก่โลก3. ประชากรยิ่งมากขึ้น ปัญหาทั้งด้านผลาญของดีและระบายของเสียก็ยิ่งแรงหนักขึ้น

ฉะนั้น เราควรศึกษาและมองหาแนวทางที่ถูกต้องจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เช่นหลักการพัฒนามนุษย์โดยใช้หลักของไตรสิกขา โดยพัฒนามนุษย์ให้ครบทั้งสามด้านคือ
1. ด้านพฤติกรรมและวิธีใช้ชีวิต (ศีล) ตลอดจนการทำมาหาเลี้ยงชีพ เป็นระดับที่ปรากฎตัวของการแก้ปัญหา2. ด้านจิตใจ (สมาธิ) เช่น พัฒนาคุณธรรม ความเข้มแข็งมั่นคงของจิตใจ และสภาพจิตใจที่ดีงาม รวมทั้งมีความสุข3. ด้านปัญญา (ปัญญา) หรือปรีชาญาณ คือความรู้ความเข้าใจต่าง ๆ รวมทั้งแนวความคิด ทัศนคติ และค่านิยม

จะเห็นได้ว่า หากเรามุ่งพัฒนาแต่ทางด้านวัตถุ ไม่มุ่งพัฒนาในตัวของมนุษย์แล้ว ถือว่าเป็นการพัฒนาแบบไม่ยั่งยืน ก่อให้เกิดปัญหาทั้งในระดับส่วนบุคคล มีความเครียด ความวิตกกังวล สุขภาพกายและจิตใจเสื่อม ในระดับสังคม มีการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน มีการเอารัดเอาเปรียบกัน มีอาชญากรรมทุกรูปแบบ ในระดับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็ถูกทำลายล้าง ทำให้เสียสมดุลธรรมชาติ เกิดมลภาวะทุกรูปแบบ ทั้งนี้เพราะมีการพัฒนาที่ผิดพลาด โดยเน้นการตอบสนองความต้องการของมนุษย์หรือตัณหา ความอยากที่ไม่สิ้นสุดนี้จึงคิดที่จะนำเอาธรรมชาติมาสนองความต้องการของมนุษย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงผิดทางเน้น มานะ โดยการข่มเหงเอาชนะคนอื่น ทำให้สังคมศาสตร์เป็นศาสตร์แห่งการเอารัดเอาเปรียบเพื่อนมนุษย์ และเน้น ทิฏฐิ ความเห็นผิดว่ามีความสุขที่ต้องมีรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัสให้มากที่สุด พิสดารไม่มีขอบเขต ทำให้มนุษยศาสตร์เป็นเพียงสิ่งปลอมสิ่งกล่อมประโลมใจ ไม่อาจแก้ปัญหาได้อย่างถึงที่สุด

ในการพัฒนาที่ผ่านมาถือหลักความเชื่อที่ว่าหลักความเชื่อในความเฉลียวฉลาดสามารถของมนุษยชาติ ที่ได้สรรสร้างภูมิปัญญา มีความก้าวหน้าจนสามารถแก้ปัญหาและเอาชนะธรรมชาติได้ตลอดมา ได้สร้างความรู้ เทคโนโลยี สร้างอารยธรรมไว้ยิ่งใหญ่ และหลากหลาย จนทำให้มนุษย์เป็นนายเหนือธรรมชาติ เป็นเจ้าของสรรพสิ่ง สามารถเอาทรัพยากรทุกอย่างมาสนองความต้องแก้ปัญหาของมนุษย์ได้ไม่รู้จบ

ฉะนั้นการศึกษาจึงควรมุ่งพัฒนา ให้คนมีความรู้ความสามารถยิ่ง ๆ ขึ้น เพื่อปัญหาที่ยากขึ้น แก้ปัญหาได้มากเท่าไร ก็มีความสุขมากขึ้นเท่านั้น

หลักความเชื่อในลักษณะนี้ เป็นหลักความเชื่อที่เกิดจาก ตัณหา มานะ และทิฏฐิ เป็นหลักความเชื่อในที่ส่งต่อการพัฒนาแบบไม่ยั่งยืน ซึ่งตรงข้ามกับแนวคิดทางพระพุทธศาสนาที่มุ่งเน้นหลักความเชื่อที่ว่าหลักความเชื่อความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ ท้ายที่สุดมนุษย์ถึงจะเก่งอย่างไร มนุษย์ก็ไม่อาจพิชิตธรรมชาติได้ เพราะมนุษย์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของธรรมชาติ เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์อวดเก่งมาก ๆ เอาเปรียบธรรมชาติมากเกินไป ธรรมชาติก็จะตอบโต้ลงโทษมนุษย์อย่างรุนแรงทุกครั้ง เช่น ภัยธรรมชาติ โรคภัยไข้เจ็บ เป็นต้น ฉะนั้นมนุษย์ถึงจะเก่งกว่าสัตว์อื่นใด ก็ไม่ควรประมาท ทางที่ดีที่สุด มนุษย์ควรปรับตัวให้ดำรงอยู่ผสมผสานกลมกลืนกับธรรมชาติ คงดุลยภาพไว้ให้ยั่งยืน เพื่อมนุษย์ สรรพสัตว์ สรรพสิ่งทั้งหลายจะได้มีสันติยั่งยืนจะเห็นได้ว่า หากเรามุ่งพัฒนาแต่ทางด้านวัตถุ ไม่มุ่งพัฒนาในตัวของมนุษย์แล้ว ถือว่าเป็นการพัฒนาแบบไม่ยั่งยืน ก่อให้เกิดปัญหาทั้งในระดับส่วนบุคคล มีความเครียด ความวิตกกังวล สุขภาพกายและจิตใจเสื่อม ในระดับสังคม มีการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน มีการเอารัดเอาเปรียบกัน มีอาชญากรรมทุกรูปแบบ ในระดับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็ถูกทำลายล้าง ทำให้เสียสมดุลธรรมชาติ เกิดมลภาวะทุกรูปแบบ ทั้งนี้เพราะมีการพัฒนาที่ผิดพลาด โดยเน้นการตอบสนองความต้องการของมนุษย์หรือตัณหา ความอยากที่ไม่สิ้นสุดนี้จึงคิดที่จะนำเอาธรรมชาติมาสนองความต้องการของมนุษย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงผิดทางเน้น มานะ โดยการข่มเหงเอาชนะคนอื่น ทำให้สังคมศาสตร์เป็นศาสตร์แห่งการเอารัดเอาเปรียบเพื่อนมนุษย์ และเน้น ทิฏฐิ ความเห็นผิดว่ามีความสุขที่ต้องมีรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัสให้มากที่สุด พิสดารไม่มีขอบเขต ทำให้มนุษยศาสตร์เป็นเพียงสิ่งปลอมสิ่งกล่อมประโลมใจ ไม่อาจแก้ปัญหาได้อย่างถึงที่สุด

ในการพัฒนาที่ผ่านมาถือหลักความเชื่อที่ว่าหลักความเชื่อในความเฉลียวฉลาดสามารถของมนุษยชาติ ที่ได้สรรสร้างภูมิปัญญา มีความก้าวหน้าจนสามารถแก้ปัญหาและเอาชนะธรรมชาติได้ตลอดมา ได้สร้างความรู้ เทคโนโลยี สร้างอารยธรรมไว้ยิ่งใหญ่ และหลากหลาย จนทำให้มนุษย์เป็นนายเหนือธรรมชาติ เป็นเจ้าของสรรพสิ่ง สามารถเอาทรัพยากรทุกอย่างมาสนองความต้องแก้ปัญหาของมนุษย์ได้ไม่รู้จบ

ฉะนั้นการศึกษาจึงควรมุ่งพัฒนา ให้คนมีความรู้ความสามารถยิ่ง ๆ ขึ้น เพื่อปัญหาที่ยากขึ้น แก้ปัญหาได้มากเท่าไร ก็มีความสุขมากขึ้นเท่านั้น

หลักความเชื่อในลักษณะนี้ เป็นหลักความเชื่อที่เกิดจาก ตัณหา มานะ และทิฏฐิ เป็นหลักความเชื่อในที่ส่งต่อการพัฒนาแบบไม่ยั่งยืน ซึ่งตรงข้ามกับแนวคิดทางพระพุทธศาสนาที่มุ่งเน้นหลักความเชื่อที่ว่าหลักความเชื่อความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ ท้ายที่สุดมนุษย์ถึงจะเก่งอย่างไร มนุษย์ก็ไม่อาจพิชิตธรรมชาติได้ เพราะมนุษย์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของธรรมชาติ เมื่อใดก็ตามที่มนุษย์อวดเก่งมาก ๆ เอาเปรียบธรรมชาติมากเกินไป ธรรมชาติก็จะตอบโต้ลงโทษมนุษย์อย่างรุนแรงทุกครั้ง เช่น ภัยธรรมชาติ โรคภัยไข้เจ็บ เป็นต้น ฉะนั้นมนุษย์ถึงจะเก่งกว่าสัตว์อื่นใด ก็ไม่ควรประมาท ทางที่ดีที่สุด มนุษย์ควรปรับตัวให้ดำรงอยู่ผสมผสานกลมกลืนกับธรรมชาติ คงดุลยภาพไว้ให้ยั่งยืน เพื่อมนุษย์ สรรพสัตว์ สรรพสิ่งทั้งหลายจะได้มีสันติยั่งยืน
                พระเทพโสภณ (2544 : 92-103) ได้กล่าวถึงสิ่งที่เป็นสาเหตุสำคัญของวิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมประการหนึ่งคือ การที่มนุษย์แสวงหาการเป็นนายเหนือธรรมชาติ สังคมอุตสาหกรรมได้รับการพัฒนาไปตามแนวทางมิจฉาทิฏฐิว่า มนุษย์ต้องอยู่เหนือธรรมชาติ และทำให้ธรรมชาติสยบเป็นทาสรับใช้ความพึงพอใจสนองความทะยานอยากของมนุษย์ มิจฉาทิฏฐิเช่นนี้เป็นเบ้าหลอมให้มนุษย์มีทัศนคติท่าทีรุนแรงต่อธรรมชาติ ในจุดนี้พระพุทธศาสนาสามารถมีบทบาทช่วยเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ทางด้านนิเวศวิทยาได้ พระพุทธศาสนาสามารถเสนอคำสอนมากมายที่ช่วยสนับสนุนการอยู่ร่วมกันแบบกลมกลืนและอย่างสันติระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติทั้งมวล ตรงจุดนี้เองที่พระพุทธศาสนาอยู่ในสถานะที่แข็งแกร่งที่จะขยายทัศนะของมนุษย์ต่อธรรมชาติทั้งมวลให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า พระพุทธศาสนาได้สอนสาวกให้มีทัศนะต่อเพื่อนร่วมโลก ต่อธรรมชาติ และความสัมพันธ์ระหว่างกันที่เป็นเชิงนิเวศวิทยา มุมมองเชิงพุทธที่หยั่งเห็นสิ่งทั้งปวงอาศัยกันและกันเกิดขึ้น นั่นคือหลักอิทัปปัจจยตาเป็นสิ่งที่สนับสนุนให้มีการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

ตามคำสอนในพระพุทธศาสนา สรรพสิ่งอยู่ได้โดยอาศัยกันและกันเท่านั้น จะอยู่แบบอิสระลำพังไม่ได้ นี่คือหัวใจของกฎของธรรมชาติที่เรียกว่า ธรรมนิยามซึ่งครอบคลุมถึงความสัมพันธ์กันและความอิงอาศัยกันของสิ่งทั้งปวง ที่รู้จักกันดีว่าเป็น กฎปฏิจจสมุปปบาท

ชาวพุทธที่มองเห็นโลกในฐานะเป็นสิ่งที่อิงอาศัยกันและกันแล้วจะพัฒนาความรู้สึกรับผิดชอบ กตัญญู และกรุณาต่อธรรมชาติ เพื่อปลูกฝังให้มนุษย์มีการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติทั้งมวลแบบกลมกลืนและแบบสันติ จำจะต้องพัฒนาคุณธรรมขึ้นไว้ในใจ 3 ประการคือ

1. ปัญญา ความรู้ตามความเป็นจริงว่า ทุกอย่างในโลกนี้อาศัยกันและกันเกิดขึ้น
2. สุทธิ ความบริสุทธิ์ซึ่งเป็นสภาวะที่ใจปราศจากความโลภ ที่เป็นตัวก่อให้เกิดมลภาวะทางด้านสิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากเกินไป
3. ความกรุณา ความเห็นอกเห็นใจที่มีต่อเหล่าสัตว์และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
ชาวพุทธให้ความเคารพและความกรุณาต่อธรรมชาติทั้งมวล เพราะพวกเขามองทุกสิ่งทุกอย่างในฐานะที่สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ไม่มีอะไรจะคงอยู่ได้แบบโดดเดี่ยว ตามหลักพุทธธรรมแล้ว ใจและกายขึ้นอยู่กับกันและกัน ทั้งสองต้องได้รับการพัฒนาไปด้วยกัน หากจะทำให้เกิดการพัฒนาแบบยั่งยืน แล้ว จะต้องรวมเอาทุกอย่าง นั่นคือพัฒนาสิ่งทั้งปวงทั้งทางด้านร่างกาย ด้านสังคม ด้านจิตใจ และด้านปัญญา (ภาวนา 4) อันเป็นทุกมุมชีวิตของคนเรา ซึ่งมีดังต่อไปนี้
1. การพัฒนาร่างกาย (กายภาวนา) เป็นการพัฒนาร่างกายและสิ่งแวดล้อมทางวัตถุหรือทางกายภาพ สำเร็จได้ด้วยการปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่เกี่ยวเนื่องกับกายภาพ เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม

2. การพัฒนาสังคม (สีลภาวนา) เป็นการพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีและมีมิตรภาพกับคนอื่น เพื่อว่าจะก่อตั้งสังคมที่น่าปรารถนามีสภาพแวดล้อมที่ดีในโลก ซึ่งทำให้สำเร็จได้โดยการรักษาศีล และปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธองค์เกี่ยวกับความยุติธรรมในสังคม

3. การพัฒนาจิต (จิตตภาวนา) เป็นการพัฒนาคุณภาพของจิตที่ดี เช่น ให้มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา สติและสมาธิ การปฏิบัติสมถกัมมัฏฐาน (อุบายทำให้ใจสงบ) จะสามารถทำให้คนมีคุณภาพจิตใจเช่นว่านั้น และจะชำระใจให้หลุดพ้นจากนิวรณ์ 5 (ความพอใจในกาม ความพยาบาท ความหดหู่ ความฟุ้งซ่าน ความลังเลใจ)

4. การพัฒนาปัญญา (ปัญญาภาวนา) เป็นการพัฒนาปัญญาหรือความรู้สรรพสิ่งตามที่เป็นจริง ที่จะได้มาด้วยการปฏิบัติ
การพัฒนาร่างกายและสังคมเป็นสิ่งจำเป็นต่อการได้มาซึ่งสันติภาพภายนอก คือ การอยู่ร่วมกันแบบสันติภาพร่วมกับเพื่อนร่วมโลกอื่น ๆ และร่วมกับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ส่วนการพัฒนาจิตและปัญญาเป็นสิ่งจำเป็นต่อการได้สันติภาพภายใน หรือความสงบใจ การพัฒนาทั้ง 4 ประการนี้ต้องดำเนินไปด้วยกัน เพื่อที่ว่าเราจะได้การพัฒนาอย่างสมดุลในชีวิต การเน้นการปฏิบัติเพียงข้อใดข้อหนึ่ง ไม่สนใจข้ออื่น อาจจะทำให้ตกไปสู่ที่สุดโต่ง 3 อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ที่หมกมุ่นกับการพัฒนาร่างกายและสังคม ละเลยการพัฒนาทางจิตและปัญญา จะตกอยู่ในฝ่ายกามสุขัลลิกานุโยค (หมกมุ่นอยู่กับความสุขทางกาย) ในขณะที่ผู้หมกมุ่นต่อการพัฒนาจิตและปัญญา ละเลยการพัฒนาร่างกายและสังคม จะตกอยู่ในฝ่ายอัตตถิลมถานุโยค (การทรมานตน) แต่ทางสายกลาง (มัชฌิมปฏิปทา) ประกอบด้วยการพัฒนาชีวิตทั้ง 4 ด้านอย่างสมดุล

การพัฒนาสุดโต่งทั้งสองด้านนี้ เป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน ซึ่งพระธรรมปิฎก (2541 : 172-173) ได้กล่าวถึงการพัฒนาสุดโต่งนี้ว่า การพัฒนาแบบอัตตถิลมถานุโยค เป็นการพัฒนาที่ไม่สำเร็จด้วยการบังคับ และไม่บังคับให้ทุกคนจะต้องมีชีวิตอยู่และแสวงหาความสุขแบบเดียวกับ แต่สำเร็จด้วยการฝึกฝนพัฒนาบุคคลซึ่งเป็นไปโดยลำดับตามระดับ และกล่าวถึงการพัฒนาแบบกามสุขัลลิกานุโยคว่า การพัฒนาแบบนี้ไม่ใช่ไม่มีการประนีประนอมเลยทีเดียว แต่ถือว่าการประนีประนอมเป็นระบบการดำเนินชีวิตขั้นเริ่มต้นของการพัฒนา

สำหรับมนุษย์ที่ยังต้องการกามสุขหรือต้องการความสุขจากวัตถุอย่างเต็มที่ ยังไม่รู้จักความสุขที่เหนือกว่านั้นขึ้นไป จึงต้องตั้งกติกาของสังคมขึ้นมาเป็นกรอบ เพื่อให้เขารู้จักยับยั้งไม่สามารถที่จะสนองความต้องการของตนเองอย่างไม่มีขอบเขตจนถึงกับเบียดเบียนซึ่งกันและกัน สำหรับชีวิตระดับนี้ก็จะมีกติกาสังคม เช่น กฎหมาย ศีลธรรม เป็นต้น ไว้ควบคุม การปฏิบัติตามทางสายกลาง ถือว่าเป็นแนวปฏิบัติที่พอดี หรือมีชีวิตที่พอเหมาะพอดี

จะเห็นได้ว่า พระพุทธศาสนาสอนให้รู้ว่า มนุษย์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ต้องเข้าใจและอยู่ร่วมกับธรรมชาติด้วยดี จึงไม่เบียดเบียนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสอนให้มนุษย์รู้ว่าสรรพสัตว์ต่างเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น เราจึงไม่มีสิทธิไปเบียดเบียนใคร ทำได้แต่การแผ่เมตตา และช่วยด้วยสังคหวัตถุ 4 คือ การแบ่งปัน การพูดจากันด้วยดี การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และการให้ความเท่าเทียมกัน ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน และในที่สุดสอนให้รู้ว่าอิสระที่แท้จริง คือมีปัญญาหลุดพ้นจากกิเลสตัณหาจึงถือว่าเป็นความสุขที่แท้จริงได้ ดังนั้น หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาทั้งหมดจึงเป็นไปเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนแท้จริง อำนวยประโยชน์และสันติสุขทั้งแก่ตนเอง สังคม ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น