วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
แนวคิดในการใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นผลสืบมาจากการเกิดสภาวะความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ที่นับวันจะทวีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อคนเราเพิ่มมากขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่องค์การสหประชาชาติได้จัดการประชุมสมาชิกขึ้น  ในระหว่างวันที่ 3-14 มิถุนายน พ.ศ.2535  ว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา  ที่เมืองริโอเดจาเนโร  ประเทศบราซิล  การประชุมครั้งนั้นได้มีการลงนามรับรอง แผนการปฏิบัติ 21 (agenda)  ซึ่งถือว่าเป็นแผนแม่บทของโลกสำหรับการดำเนินงานที่จะให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านต่างๆขึ้น
            นับตั้งแต่นั้นมาคำว่า การพัฒนาที่ยั่งยืน (sustainable  development )ได้รับความสนใจและนำไปใช้ในการดกเนินการโครงการต่างๆมากขึ้น  การพัฒนาปัจจัยสำคัญประการแรกที่ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาก็คือ ทรัพยากรธรรมชาติ  ซึ่งนำมาใช้เป็นต้นทุนในกระบวนการผลิตเป็นปัจจัยแรก  ซึ่งถ้าหากการนำมาใช้นั้นไม่ถูกต้องเหมาะสมก็อาจให้ได้รับผลไม่คุ้มค่า  ส่งผลเสียหายจากของเสียหรือกากที่เป็นพิษทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน
1.1 การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นคำที่มีรากฐานมาจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ การเพิ่มผลผลิต และการใช้หรือจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างฉลาด รู้จักถนอมในการใช้ เพื่อให้มีไว้ใช้ เพื่อใช้มีอย่างยาวนานจนถึงคนรุ่นหลัง 
            1.2 การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน  หมายถึง การนำทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ เพื่อให้มีมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ดี โดยไม่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมนั้นด้วยประสิทธิภาพลง หรือกระทบกระเทือนต่อคนรุ่นหลั

แนวทางในการปฏิบัติที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
1.ประชาชนและภาครัฐต้องช่วยกันควบคุมและวางมาตรการในการจำกัดการปลดปล่อยของเสียที่สร้างขึ้นให้ออกสู่ธรรมชาติน้อยลง
2.ประชาชนและภาครัฐต้องรู้จักวิธีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและให้เกิดผลคุ้มค่า
3.ประชาชนทุกคนต้องเกิดจิตสำนึกร่วมกัน  โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคทรัพยากรธรรมชาติให้เหมาะสม  ได้แก่การลดการใช้ทรัพยากรให้น้อยลง  รู้จักการนำมาใช้ซ้ำ  รู้จักการซ่อมแซมให้มีสภาพดีและนำกลับมาใช้ใหม่ได้
4.ภาครัฐควรวางมาตรการการกระจายรายได้ออกไปสู่ภาคประชาชนในทุกกลุ่มทุกอาชีพ  เพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ  เพราะถ้าเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจแล้วจะส่งผลให้ประชาชนขาดความสนใจต่อปัญหาสิ่งแวดล้อม
5.ภาครัฐควรวางมาตรการในการควบคุมอัตราการเพิ่มของจำนวนประชากร  มิฉะนั้นแล้วประชากรที่เพิ่มขึ้นมีความต้องการใช้ทรัพยากรมากขึ้น  ก่อให้เกิดปัญหาด้านการใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
นโยบายและวิธีการจัดการด้านทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของรัฐบาลไทย
                       นโยบายเกี่ยวกับการฟื้นฟูป้องกันและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเริ่มปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534)  และต่อมาในแผนพัฒนาฯฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-2539) จึงได้เริ่มกล่าวถึงแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนไว้
รัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา (คณะรัฐมนตรีคณะที่ 4 ถึงคณะที่ 8 ระหว่างวันที่ 21 มิถุนายน 2476-16 ธันวาคม 2481) มีนโยบายให้จัดการสำรวจที่ดินว่างเปล่าที่ยังไม่มีเจ้าของ  มาจัดวางระเบียบการจับจองที่ดินให้เหมาะสมแก่การเพาะปลูก  และจัดวางแผนส่งเสริมชลประทาน
รัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์  ปราโมช (คณะรัฐมนตรีคณะที่ 35 ระหว่างวันที่ 21 กุมภาพันธ์  2518-14 มีนาคม 2518 และคณะที่ 37 ระหว่างวันที่ 20 เมษายน 2519-23 กันยายน 2519) มีนโยบายเร่งดำเนินโครงการชลประทานขนาดเล็ก  ส่งเสริมการประมงและปศุสัตว์จนสามารถเป็นสินค้าออก  และป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นสมบัติของส่วนรวม  รัฐจะอนุรักษ์และพัฒนาป่าไม้ให้คงสภาพและเกิดความสมบูรณ์เป็นแหล่งของต้นน้ำลำธาร
รัฐบาลพลเอกสุจินดา  คราประยูร (คณะรัฐมนตรีคณะที่ 48  ระหว่างวันที่ 7 เมษายน 2535-10 มิถุนายน 2535) มีนโยบายในการที่จะอนุรักษ์คุ้มครองและป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติทั้งดิน  ป่าไม้  และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆและให้ประชาชนในพื้นที่มีบทบาทในการอนุรักษ์ทรัพยากรฯให้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้จะกวดขันให้เจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลทรัพยากรฯอย่างเข้มงวดโดยใช้ภาพจากดาวเทียมในการควบคุม
รัฐบาลนายชวน  หลีกภัย (คณะรัฐมนตรีคณะที่ 50  ระหว่างวันที่ 23  กันยายน 3 กรกฎาคม 2538) มีนโยบายเร่งรัดการปฏิรูปที่ดินและการออกเอกสารสิทธิ์  เพื่อกระจายสิทธิ์การถือครองที่ดินให้แด่เกษตรกรผู้ยากไร้  เพิ่มมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกและการตัดไม้ทำลายป่า
รัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ  ชินวัตร  (คณะรัฐมนตรีคณะที่ 54-56  ระหว่างวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2545-กันยายน 2549)  มีนโยบายในการฟื้นฟูสภาพและคุณภาพการป้องกันการเสื่อมโทรมหรือการสูญสิ้นไปและการนำกลับมาใช้ใหม่ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ  เกิดความสมดุลในการพัฒนา
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกับรูปแบบและแนวทางการใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่มุ่งเน้นไปที่สาระเกี่ยวกับการฟื้นฟูป้องกันและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  มีดังนี้
1.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ.2530-2534) เป็นแผนพัฒนาฯที่เน้นพัฒนาประเทศให้ก้าวควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมที่สะสมมาจากแผนพัฒนาฯฉบับที่ผ่านมา  เน้นการใช้ทรัพยากรทุกชนิดอย่างมีคุณภาพ  และเน้นเศรษฐกิจ  การเมือง  สังคม ให้มีความเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
2.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-2539)  เป็นแผนพัฒนาฯที่มุ่งให้เกิดความสมดุลระหว่างการพัฒนาในเชิงปริมาณคุณภาพและความเป็นธรรมในสังคม  เน้นการกระจายรายได้และความรู้ไปสู่ภูมิภาค  เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  คุณภาพชีวิตและการรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
3.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544)  เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืนและแท้จริง  โดยกำหนดการพัฒนาคนเป็นวัตถุประสงค์หลัก  และในส่วนของการจัดการทรัพยากรฯและสิ่งแวดล้อม  มีการวางแผนจัดการเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูให้มีความสมบูรณ์และเกิดความสมดุลต่อระบบนิเวศวิทยาและให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ  เป็นธรรม เป็นประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนอย่างแท้จริง
4.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549)  เป็นแผนพัฒนาที่ได้อัญเชิญแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ  เพื่อให้ประเทศรอดพ้นวิกฤตเศรษฐกิจ  นำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลมีคุณภาพ
            ในแผนพัฒนาฯฉบับที่ 9 นี้มุ่งกระบวนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยเน้นการบริหารงานที่โปร่งใสและมีส่วนร่วมของท้องถิ่นและชุมชน  อนุรักษ์ฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ทรัพยากรฯอย่างยั่งยืน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น